ล่าสุด
เรื่อง
03 กุมภาพันธ์ 2023
เปรมศักดิ์ แสงจันทร์ ผู้ขับเคลื่อนสุขภาวะของเยาวชนกลุ่มเปราะบางผ่านการสร้างพื้นที่ปลอดภัย
เรียนรู้เพิ่มเติม
เรื่อง
26 มกราคม 2023
ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้การต้อนรับผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย และคณะ
เรียนรู้เพิ่มเติม
เรื่อง
17 มกราคม 2023
ฑิตยา บุณยรัตพันธุ์ นักเรียนแพทย์ผู้สร้างสรรค์สุขภาวะทางเพศด้วยการสร้างค่านิยมใหม่
เรียนรู้เพิ่มเติม
ล่าสุด
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนใน ประเทศไทย
การทำงานของหน่วยงานทั้ง 21 แห่งของสหประชาชาติในประเทศไทยครอบคลุมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งหมดในฐานะประเทศผู้มีรายได้ปานกลางระดับสูงจากการประเมินโดยองค์การสหประชาชาติ ทีมสหประชาชาติประจำประเทศจะสนับสนุนกิจกรรมที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนดังต่อไปนี้ ข้อ 1.3 การขยายขอบเขตการคุ้มครองทางสังคม ข้อ 3.4 การแก้ปัญหาเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อ ข้อ 4.1 การช่วยให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษา โดยมุ่งเน้นไปที่เยาวชนอพยพ ข้อ 5.5 การสนับสนุนเพื่อให้สตรีมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมืองมากขึ้น ข้อ 8.3 การสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและนวัตกรรมโดยเยาวชน ข้อ 10.2 การเปิดรับคนชายขอบ โดยเฉพาะชุมชน LGBTI ข้อ 10.7 การดูแลการโยกย้ายถิ่นฐาน ข้อ 13.2 ยุทธศาสตร์เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ข้อ 16.1 การสนับสนุนความสามัคคีในสังคมเพื่อยุติความรุนแรงในภาคใต้ของประเทศไทย ข้อ 16.9 การผลักดันและสนับสนุนการยุติปัญหาคนไร้สัญชาติ ข้อ 17.7 การเป็นพันธมิตรกับภาคเอกชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และข้อ 17.9 การแบ่งปันประสบการณ์ของประเทศไทยและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดผ่านการแลกเปลี่ยนใต้ – ใต้
เรื่อง
23 มิถุนายน 2022
‘ขยะกองเท่าภูเขา เราแก้ไขได้’ ส่องแนวคิดเมืองอัจฉริยะ พิชิตขยะ 900 ตัน/วันของแหลมฉะบัง
แม้ประชากรและความเป็นเมืองจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว กระทั่งเกิดวิกฤตโควิด-19 ปริมาณขยะพลาสติกที่มีมากอยู่แล้วก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น แต่เทศบาลแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี กลับไม่มีขยะตกค้างเพราะระบบจัดการขยะมูลฝอยแบบ ‘เมืองอัจฉริยะพิชิตขยะ (Waste Wise Cities)’ ช่วยให้สามารถฝังกลบขยะได้มากถึง 910 ตันต่อวัน
แหลมฉบังเป็น 1 ใน 6 พื้นที่นำร่องของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ร่วมกำหนดกลยุทธ์การจัดการขยะและทรัพยากรใหม่ ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านของประเทศไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน โดยแนวคิดเมืองอัจฉริยะฯ มีเป้าหมายสำคัญคือลดปัญหาขยะพลาสติกรั่วไหลลงสู่แหล่งน้ำซึ่งทุกปีจะมีมากถึง 8 ล้านตันทั่วโลก และเป็นหนึ่งในภัยคุกคามหลักของทะเลและมหาสมุทร
ถ้ากองขยะหนักเท่ากับตึกเอ็มไพร์สเตท 10 อาคาร จะเป็นอย่างไร
จังหวัดชลบุรีเป็นศูนย์กลางโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor - EEC) ที่เชื่อมพื้นที่ภาคตะวันออกของไทยให้เป็นจุดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจของเอเชีย การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดเกิดขึ้นพร้อมกับการใช้ทรัพยากรมหาศาล แต่ปลายทางของขยะอุตสาหกรรมรวมทั้งขยะครัวเรือนที่มีมากอยู่แล้วเหล่านี้ไปจบลงที่ไหน
คำตอบก็คือศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยที่มีทั้งแบบฝังกลบและแบบครบวงจรซึ่งที่จังหวัดชลบุรีมีทั้งหมด 4 แห่ง แต่ที่ใหญ่ที่สุดคือศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยแบบฝังกลบเทศบาลแหลมฉบัง พื้นที่กว่า 238 ไร่ มีทั้งบ่อฝังกลบขยะและบ่อบำบัดน้ำเสียตามรายงานของเทศบาลแหลมฉบัง
นอกจากนั้น รายงานเทศบาลนครแหลมฉบังฉบับเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 ระบุว่าศูนย์กำจัดขยะฯ รับขยะทั้งจากในและนอกเทศบาล รวมแล้วเฉลี่ยต้องฝังกลบถึงวันละกว่า 910 ตัน ปริมาณขยะมูลฝอยดังกล่าวเพิ่มขึ้นมากกว่า 200 ตันต่อวันจากปริมาณที่เคยจัดเก็บเมื่อปี พ.ศ. 2563 จึ่งจำเป็นต้องฝังกลบให้ได้อย่างน้อยวันละ 650 ตัน รวมทั้งหมดแล้วศูนย์นี้ประกอบด้วยขยะกว่า 3 ล้านตัน เท่ากับน้ำหนักของตึกเอ็มไพร์สเตท (Empire State) ที่นิวยอร์กของสหรัฐฯ รวมกันถึง 10 อาคารเลยทีเดียว
เผา ฝังกลบ บำบัด หรือการรีไซเคิล แบบไหนดีที่สุด
ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเชื่อมโยงอยู่กับระบบนิเวศน์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะภาคตะวันออกของไทยที่มีพื้นที่ติดอ่าวไทยเป็นแนวยาว การศึกษาการบริหารจัดการขยะจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อลดความเสี่ยงของปัญหาขยะล้นเมือง รวมทั้งการรั่วไหลของขยะพลาสติกลงสู่แหล่งน้ำซึ่งอาจส่งผลเสียต่อระบบนิเวศน์เป็นวงกว้างจนเกิดผลกระทบต่อการดำรงชีพของมนุษย์
จากการสำรวจของ UN-Habitat ขยะมูลฝอยกว่าร้อยละ 50 ที่ศูนย์กำจัดขยะแห่งนี้เป็นขยะชีวภาพอย่างเศษอาหาร แต่ในขณะเดียวกันก็พบขยะพลาสติกปริมาณมาก โดยเฉพาะขยะพลาสติกชนิดอ่อนที่มีสัดส่วนถึงร้อยละ 16 ประกอบด้วยบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกที่มาจากสถานที่ต่าง ๆ ทั่วเมือง แต่มีเพียงร้อยละ 8 ที่มาจากครัวเรือน
การลงพื้นที่จริงที่ศูนย์กำจัดขยะฯ ทำให้เห็นว่ามีขยะหลากหลายชนิดที่ยากจะย่อยสลาย แม้จะถูกรถขุดและรถแทรกเตอร์ที่ทำงานอย่างขะมักเขม้นฝังกลบไปแล้วก็ตาม ทั้งกระเป๋าถือ กล่องพัสดุ อุปกรณ์ทานอาหารจากบริการเดลิเวอรี่ และขยะพลาสติกทั้งชนิดอ่อนและแข็งซึ่งโดยมากเป็นบรรจุภัณฑ์ของของกินของใช้อีกจำนวนมาก
ในจำนวนขยะมหาศาลเหล่านี้ มีเพียงร้อยละ 26 เท่านั้นที่สามารถรีไซเคิลได้ ทำให้ศูนย์กำจัดขยะฯ จำเป็นต้องฝังกลบทั้งหมด ซึ่งเป็นเรื่องน่ากังวลเพราะปริมาณขยะมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้การศึกษาการบริหารจัดการขยะน่าจะเป็นทางออกเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับศูนย์จำกัดขยะที่มีอยู่แล้ว
โครงการ SEA Circular จากการสนับสนุนของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UN Environment Programme - UNEP) และโครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN-Habitat) ผลักดันการศึกษาการบริหารจัดการขยะที่ได้มาตรฐาน อิงหลักวิทยาศาสตร์ อย่างโครงการเมืองอัจฉริยะฯ ที่เน้นการประเมินประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชุนด้วยตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) ตัวบ่งชี้ที่ 11.6.1 มีการประยุกต์ใช้แล้วใน 6 เมืองเศรษฐกิจใหญ่ในภูมิภาคนี้ รวมทั้งจังหวัดชลบุรีของไทย
การประเมินประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอย มี 7 ขั้นตอน ดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญจากองค์การสหประชาชาติ ตั้งแต่การศึกษาองค์ประกอบขยะมูลฝอยที่มาจากครัวเรือนและแหล่งอื่น ไปจนถึงการคำนวณสัดส่วนขยะ เช่นขยะเศษอาหาร ขยะรีไซเคิล และขยะพลาสติกที่รั่วไหล ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่จะได้ คือ ปริมาณ ประเภท แหล่งที่มาของขยะ ซึ่งจะช่วยภาครัฐและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในการกำหนดนโยบายการจัดการขยะ อย่างที่จังหวัดชลบุรีกำลังทำอยู่เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)
ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยที่แหลมฉบังเป็นหนึ่งในศูนย์กำจัดขยะของไทยที่กำลังรับมือกับปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อจังหวัดชลบุรีมีประชากรเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจโตขึ้น ปริมาณขยะก็จะมากขึ้น ปัญหามลพิษขยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมเร่งด่วน ภารกิจหลักของทีมงานสหประชาชาติในไทยคือการยกระดับความเป็นอยู่ของผู้คนและรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้การเติบโตของเศรษฐกิจเป็นไปอย่างยั่งยืน เป็นเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular Green Economy - BCG) ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับความมุ่งหมายของกรอบความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนวาระปี พ.ศ. 2565-2569 (UN Sustainable Development Cooperation Framework – UNSDCF) ที่รัฐบาลไทยได้ลงนามกับสหประชาชาติเมื่อต้นปีที่ผ่านมา นอกจากนั้น คุณกีต้า ซับบระวาล (Gita Sabharwal) ผู้แทนสหประชาชาติประจำประเทศไทยได้อธิบายว่า การบริหารจัดการขยะชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพเป็นวาระสำคัญ เพราะการจัดการขยะมูลฝอยไม่ใช่เรื่องเล็ก และเราไม่สามารถพึ่งพาที่ทิ้งขยะและศูนย์กำจัดขยะได้ตลอดไป การสนับสนุนการศึกษาการบริหารจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
“อย่าลืมว่า ขยะกองเท่าภูเขา เราแก้ไขได้”
เรื่อง นงธัช อมรวิวัฒน์
เรียบเรียง วัชรียา ยอดประทุม, พรรณิสา นิรัตติวงศกรณ์, ดร.ลักษณารีย์ มณีโชติ
Tags: #FromTheField #BCGeconomy #PlasticPollution #ForPeopleForPlanet #OnlyOneEarth
1 of 5

เรื่อง
15 ตุลาคม 2022
เรื่องกินเรื่องใหญ่ เมื่อโลกร้อนจะทำให้อาหารขาดแคลนและราคาแพงยิ่งกว่านี้ เราจึงต้องปฏิรูประบบผลิต บริโภค และกำจัดอาหาร!
ระบบอาหารเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนทุกคนในทุกประเทศ อย่างไรก็ตาม วันนี้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อระบบอาหาร (Food System) ในทุกด้าน ตั้งแต่การเพาะปลูกพืชพรรณและเลี้ยงปศุสัตว์ มาสู่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารประเภทต่าง ๆ ให้ผู้บริโภคอย่างเราได้ซื้อหามารับประทาน ไปจนถึงการจัดการของเสียที่เกิดขึ้น
สิ่งที่โลกของเรากำลังเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นระบบนิเวศที่ผันผวน ฝนไม่ตกตามฤดูกาล อุณหภูมิเพิ่มสูง ดินเสื่อมสภาพ น้ำจืดขาดแคลน การระบาดของวัชพืช โรค และแมลงศัตรูพืช พืชหลายชนิดอ่อนแอลงหรือแม้กระทั่งปลูกแล้วไม่เติบโต ผู้คนจะเพาะปลูกและผลิตอาหารที่มีสารอาหารที่เพียงพอได้ยากลำบากขึ้นเรื่อย ๆ ผลผลิตทางการเกษตรอาจลดลง ไม่ก็ล้มเหลวไปเลย ทำให้อาหารที่เก็บไว้เสียหายและขนส่งไม่ได้ และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมอาหารจะมีราคาแพงขึ้น ทั้งหมดนี้จะส่งผลต่อความมั่นคงด้านอาหาร เมื่อถึงจุดนั้นแล้ว ผู้ที่มีความเปราะบางที่ใช้ชีวิตท่ามกลางความหิวโหยก็จะยิ่งได้รับผลกระทบมากขึ้นไปอีก
ทุกวันนี้ระบบอาหารของเราตกอยู่ในความเสี่ยงบนโลกที่ร้อนขึ้น 2 องศาเซลเซียส ผู้คนมากกว่า 189 ล้านคน จะต้องเข้านอนด้วยความหิวโหย แต่หากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นถึง 4 องศาเซลเซียสแล้วล่ะก็ จำนวนผู้ที่ต้องเผชิญกับความทุกข์ยากนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 1.8 พันล้านคน
วิกฤตอาหารโลก โดยเฉพาะเมื่อเรากำลังจะมีประชากรมากถึง 8 พันล้านคน คำถามคือเราจะผลิตอาหารให้เพียงพอได้อย่างไรโดยไม่ทำร้ายโลกเราไปมากกว่านี้ และช่วยค้ำจุนสังคมกับสิ่งแวดล้อมไปด้วย แต่หากขาดความร่วมมือ สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นคือความไม่มั่นคงด้านอาหารและความหิวโหยในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน
วันอาหารโลก (World Food Day) 16 ตุลาคมทุกปี จัดขึ้นส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และความร่วมมือเพื่อการเข้าถึงอาหารและโภชนาการที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นวาระสำคัญของธีมในปีนี้ “เพียงพอสำหรับทุกคนโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” นั่นหมายถึงการช่วยเหลือกลุ่มผู้เปราะบางให้พร้อมมือกับวิกฤตสภาพอากาศด้วย
ระบบอาหารที่ยั่งยืนสร้างได้แต่จะต้องพัฒนาทุก ๆ ส่วนของห่วงโซ่อาหารพร้อมกัน ตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบ การเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ การแปรรูป ขนส่ง จัดจำหน่าย การบริโภคและจัดการของเสียที่เป็นขยะอาหารและบรรจุภัณฑ์ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก
วัฏจักรของปัญหา
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อระบบอาหาร ซึ่งในขณะเดียวกันระบบอาหารที่ไม่ยั่งยืนก็เป็นหนึ่งในตัวการสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศด้วย
ปัจจุบัน 2 ใน 3 ของก๊าซเรือนกระจกในระบบอาหารเกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ 50 ปีที่ผ่านมา มนุษย์ผลิตเนื้อสัตว์มากกว่าเดิม 6 เท่าตัว ผืนป่ามากมายกลายเป็นพื้นที่เลี้ยงสัตว์และปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวโพด ซึ่งเป็นอาหารหลักของสัตว์ ไม่เพียงป่าที่เดิมเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกทำลายไป แต่ปฏิกิริยาเคมีจากการใช้กรดไนตริกเพื่อจัดการมูลสัตว์ (ทุก ๆ วัน สัตว์แต่ละตัวปล่อยของเสียในปริมาณมาก) ยังทำให้เกิดก๊าซไนตรัสออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีค่าศักยภาพในการทำให้โลกร้อนกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 265 เท่า ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีก๊าซเรือนกระจกอีกชนิดอย่างก๊าซมีเทนที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเคี้ยวเอื้องของวัวอีกด้วย ความจริงก็คืออุตสาหกรรมปศุสัตว์ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่ายานพาหนะทุกประเภทในโลกรวมกันเสียอีก
อีกปัญหาใหญ่ในปัจจุบันคือ การสูญเสียอาหาร (Food Loss) ในขณะที่การผลิตอาหารปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากมาย แต่อาหารที่ผลิตขึ้นบางส่วนไม่มีผู้บริโภค บางส่วนกลายเป็นขยะอาหาร (Food Waste) ซึ่งสัดส่วนไม่น้อยถูกคัดออกไประหว่างทางแค่เพียงเพราะรูปลักษณ์ของมันไม่น่าถูกใจ ทั้งที่มีคุณค่าทางโภชนาการคล้ายกัน ส่วนปัญหาขยะอาหารมาจากการบริโภคอย่างไม่รู้คุณค่า ในแต่ละปีมีอาหารมากกว่า 900 ล้านตันที่ถูกทิ้งขว้าง กองขยะอาหารที่เน่าสลายนั้นสร้างแก๊สมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่รุนแรงกว่าก๊าซคาร์บอนถึง 20 เท่า
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมในห่วงโซ่อุปทานของระบบอาหาร อื่นๆ ก็มีมากไม่แพ้กัน เช่น ยานพาหนะบรรทุกขนส่งอาหารที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิล ระบบขนส่งอาหารทางไกลที่ใช้การแช่แข็ง ไปจนถึงตู้แช่เย็นในซุปเปอร์มาร์เก็ต
ธรรมชาติที่นำมาซึ่งผลิตผล
แหล่งอาหารของเราเชื่อมโยงกับสภาพอากาศ เช่น พืชและสัตว์ต้องการน้ำ แสงแดด ดิน และอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต ดังนั้นเมื่อเกิดสภาพอากาศสุดขั้ว ความเสี่ยงที่จะเกิดความหิวโหยจากการขาดแคลนอาหารจึงเพิ่มขึ้น
ความแปรปรวนของสภาพอากาศ เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของวิกฤตการณ์อาหารขั้นรุนแรง และเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับภาวะทุพโภชนาการ (malnutrition) ที่น่าตกใจในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งสถานการณ์การขาดแคลนอาหารมีแนวโน้มที่เลวร้ายลงเรื่อย ๆ ในพื้นที่ผู้คนทำเกษตรหาเลี้ยงชีพ รวมถึงในประเทศที่มีระบบเกษตรไวต่อปริมาณน้ำฝนและความแปรปรวนของอุณหภูมิ
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ความถี่และความรุนแรงของสภาพอากาศสุดขั้ว ตลอดจนการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ และการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ทำให้สถานการณ์ขาดแคลนอาหารยิ่งเลวร้ายลง จำนวนผู้หิวโหยทั่วโลกเพิ่มขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายทศวรรษ โดยคนเหล่านั้นส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศที่เสี่ยงภัยและมีสภาพสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมอย่างมาก
ปัญหานี้ไม่ได้กระทบเฉพาะอาหาร แต่น้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภคก็เป็นอีกหนึ่งวิกฤติ เห็นได้จากทะเลทรายซาฮาราทางตอนใต้ที่กำลังแล้งหนัก อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้น้ำในทะเลสาบถึงร้อยละ 90หายไป หญิงแอฟริกันพื้นเมืองจึงต้องเพิ่มระยะทางในการเดินไปตักน้ำมาหุงหาอาหารอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ความเสื่อมโทรมที่เกิดจากมนุษย์ส่งผลกระทบต่อร้อยละ 34 ของพื้นที่เกษตรกรรม และในทศวรรษหน้า ผลผลิตทางการเกษตรของโลกจะลดลงถึงร้อยละ 30 จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ขณะเดียวกันก็มีการคาดการณ์ว่าประชากรโลกจะมีจำนวนเกิน 9 พันล้านคนภายในปี 2050 ซึ่งนั่นหมายถึงการผลิตอาหารที่เพิ่มขึ้นต้องหล่อเลี้ยงทุกคนให้ได้
ภารกิจสร้างระบบอาหารยั่งยืน
แม้โลกเราจะมีความก้าวหน้าไปมาก แต่ก็ยังมีคนจำนวนมากเช่นกันที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ผู้คนนับล้านไม่สามารถซื้ออาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารและการขาดแคลนอาหาร ขณะที่คนยากจนทั่วโลกกว่าร้อยละ 80 ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทและพึ่งพาการเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิต จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากภัยพิบัติ รวมทั้งภัยที่มนุษย์สร้างขึ้น การกีดกันจากสถานะทางเพศและชาติพันธุ์ยิ่งทำให้เข้าไม่ถึงความรู้ ความช่วยเหลือ เงินทุน และนวัตกรรมต่าง ๆ นี่เป็นสาเหตุที่องค์การสหประชาชาติเร่งช่วยเหลือกลุ่มผู้เปราะบางสามารถรู้รับ ปรับตัว ฟื้นคืนจากวิกฤต และกลับมาดำรงชีวิตได้ เมื่อระบบการผลิตอาหารดีขึ้น โภชนาการดีขึ้น สภาพแวดล้อมดีขึ้น ชีวิตก็จะดีขึ้น และจะสามารถปฏิรูประบบอาหารเพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้
ฮีโร่เพื่อความอิ่มท้องของทุกคน
การเพิ่มขึ้นของเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนนับล้าน และภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ เช่น ภัยแล้งหรือน้ำท่วม ก็จะทำให้เกิดความหิวโหยและขาดแคลนอาหาร
ยกตัวอย่างเหตุการณ์พายุเฮอริเคนเอตาพัดถล่มประเทศกัวเตมาลาในปีค.ศ. 2020 เขตเทศบาลซานกริสโตบัลได้รับผลกระทบหนักที่สุด ฝนที่ตกอย่างต่อเนื่องทำให้ทั้งหมู่บ้านและฟาร์มจมอยู่ใต้น้ำ ถนนถูกตัดขาด บ้านเรือน ที่ดิน และเสบียงอาหารถูกทำลายไปจนหมด และนั่นเป็นช่วงที่โครงการอาหารโลกแห่งสหประชาชาติ (World Food Programme - WFP) เดินทางเข้าไปในพื้นที่ โดยใช้ทรัพยากรภายในระบุตำแหน่งอาหารและระดมทีมเพื่อเข้าถึงชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากพายุที่เปราะบางที่สุด
โดย Miguel Barreto ผู้อำนวยการภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียนกล่าวว่า พายุเฮอริเคนเอตามาถึงในช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุด ทำให้ชีวิตผู้คนหลายล้านคนที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่ไม่แน่นอนอย่างยาวนานหลายปียิ่งย่ำแย่เมื่อประกอบกับวิกฤตเศรษฐกิจและสังคมจาก COVID-19 ที่เกิดขึ้น
WFP ถือเป็นหน่วยงานด้านมนุษยธรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งต่อสู้กับความหิวโหย ซึ่งภารกิจเกือบครึ่งหนึ่งในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเน้นไปที่การช่วยเหลือผู้คนในการตอบสนอง ฟื้นฟู และเตรียมพร้อมสำหรับภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ ปัจจุบัน WFP จัดหาและส่งมอบอาหารให้แก่ประชากรโลกเฉลี่ย 90 ล้านคนต่อปี โดย 58 ล้านคนในจำนวนนี้คือเด็กและเยาวชน
สำหรับ World Food Day กำหนดขึ้นโดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agricultural Organization - FAO) ประสานความร่วมมือกับ 150 ประเทศทั่วโลก สร้างความรู้ ความเข้าใจ รวมทั้งเร่งขจัดความหิวโหย ความอดอยาก และภาวะทุพโภชนา ให้หมดไป ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อที่ 2
เรื่อง มิ่งขวัญ รัตนคช
เรียบเรียง รวีกานต์ อมรัชกุล
Tags: #WorldFoodDay #EndHunger #FoodWaste #FoodSecurity #Conversation
ข้อมูลอ้างอิง
1 เมื่ออุณหภูมิโลกสูงขึ้นถึง 2°C ผู้คนอีก 189 ล้านจะต้องเข้านอนอย่างหิวโหย https://www.wfp.org/campaign/climate-and-hunger?fbclid=IwAR0EE1XxnqYC9287OE18bt1tE6lhb9oEEbDTEPe6ShjL7GojAXUVc6iI_-Y
2 World Food Day https://www.fao.org/world-food-day/about/en
3 The state of food security and nutrition in the world 2021 สถานะของความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการของโลกในปี 2021 https://www.fao.org/3/cb4474en/online/cb4474en.html#chapter-1-introduction
4 14 Facts Linking Climate, Disasters & Hunger https://www.wfpusa.org/articles/14-facts-climate-disasters-hunger/
5 How climate extreme are driving hunger https://www.wfpusa.org/articles/code-red-climate-warning-reality-for-many/
6 This Is How Climate Change Causes Hunger in 6 Steps https://www.wfpusa.org/articles/this-is-how-climate-change-causes-hunger-in-6-steps/
1 of 5

เรื่อง
29 กรกฎาคม 2022
มนุษยชาติก้าวหน้ามาไกลและเรายังต้องไปต่อ เพื่อสร้างโลกอันเท่าเทียมที่กำลังจะเป็นบ้านของคน 8 พันล้าน
มนุษย์ใช้เวลาหลายแสนปีกว่าจะเพิ่มจำนวนประชากรขึ้นเป็น 1 พันล้านคน แต่เชื่อไหมว่า เพิ่งจะเมื่อราว ๆ 200 ปีที่ผ่านมานี่เอง ที่ประชากรโลกเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเกือบ 8 เท่า เมื่อปี 2011 โลกมีประชากรถึง 7 พันล้านคน มาจนถึงปีนี้ เราจะเดินทางมาถึงหมุดหมายใหม่อีกครั้ง ในวันที่ 15 พฤศจิกายน โลกของเราจะมีประชากรเกิน 8 พันล้านชีวิต
หมุดหมายนี้ได้รับทั้งความสนใจและการโต้แย้ง กล่าวคือในขณะที่บางคนทึ่งกับความก้าวหน้าทางสุขภาพที่ทำให้มนุษย์มีอายุยืนยาว ทำให้อัตราการเสียชีวิตของแม่และเด็กลดลงอย่างต่อเนื่อง เรามีนวัตกรรมที่ย่นย่อระยะทาง เชื่อมคนทั้งโลกเข้าหากัน ทำให้เราเข้าใจและโอบรับความเป็นมนุษย์อันหลากหลายของกันมากขึ้น รวมถึงการที่วัคซีนถูกพัฒนาสำเร็จในเวลาอันรวดเร็วเป็นประวัติการณ์ แต่บางคนกลับสร้างความตระหนกด้วยข่าวลือเกินจริง แพร่ความเข้าใจผิดว่าโลกของเรา “มีคนมากเกินไป”
เราต้องมองให้ไกลกว่าตัวเลขประชากร เพราะการขับเคลื่อนโลกสู่อนาคตที่ดี ปัญหาไม่ได้อยู่ที่คนมากหรือน้อย แต่อยู่ที่การเข้าถึงโอกาสและความเท่าเทียมของผู้คนต่างหาก ข้อมูลจากรายงานประชากรโลกปี 2022 บอกว่าเรา ความกังวลและความท้าทายที่เคยถูกพูดถึงเมื่อ 11 ปีที่แล้ว ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความรุนแรงทางเพศ การเลือกปฏิบัติ ยังคงมีอยู่หรือแย่ลง นอกจากนี้ยังมีวิกฤติที่เคยถูกละเลยและวันนี้ได้ปรากฏชัดแก่สายตาแล้ว อย่างข้อมูลน่าตกใจว่าครึ่งหนึ่งของการตั้งครรภ์ทุกวันนี้ เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ
ทั้งหมดคือวาระเร่งด่วน ที่ทุกคนจำเป็นต้องหันมามอง และทุกวันนี้ ทีมงานสหประชาชาติใน ประเทศไทย นำโดย กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (United Nations Population Fund - UNFPA) กำลังสนับสนุนความพยายามระดับชาติที่จะบรรลุความยืดหยุ่นทางประชากร ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญสู่การพัฒนาระยะยาว โดยใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มาพร้อมการเปลี่ยนแปลงทางประชากรในการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบันและอนาคต บนพื้นฐานแนวคิดว่า “คนคือผู้ไขกุญแจสู่ทางออก ไม่ใช่ปัญหา”
เพื่อเฉลิมฉลองเดือนแห่ง “วันประชากรโลก” เราชวนคุณอ่านเรื่องราวความก้าวหน้าของมนุษย์ แม้จะก้าวหน้ามาไกลและเรายังต้องไปต่อ ปีนี้มนุษยชาติกำลังจะมีจำนวนเกิน 8 พันล้านคน ภารกิจของเราในการสร้างโลกและสังคมที่ให้คุณค่าในสิทธิ ทางเลือกและตัวตนของพลเมือง ซึ่งเราเป็นประจักษ์พยานครั้งแล้วครั้งเล่าว่า จะนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองและความสงบสุขที่ทุกคนปรารถนาและสมควรได้รับจริง ๆ
เมื่อโครงสร้างประชากรโลกเปลี่ยนแปลง
เทคโนโลยีทางการแพทย์นั้นน่าทึ่ง ระหว่างปี 2000 ถึง 2019 อายุขัยเฉลี่ยของคนทั่วโลกเพิ่มขึ้นจาก 66.8 ปี เป็น 73.4 ปี ความก้าวหน้าทางสาธารณสุขยังทำให้ปัจจุบัน จำนวนคนอายุยืนยาวถึง 100 ปี มีมากอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์
อย่างไรก็ตามในขณะที่คนอายุยืนขึ้น อัตราการเกิดกลับน้อยลง ย้อนกลับไปช่วงปี 1970 ผู้หญิงหนึ่งคนจะมีลูกเฉลี่ย 4.5 คน แต่มาในปี 2015 ภาวะเจริญพันธุ์โดยรวมของโลกลดลง ผู้หญิงหนึ่งคนมีลูกน้อยกว่า 2.1 คนโดยเฉลี่ย สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนไปเมื่อเข้ามาอาศัยในเขตชุมชนเมือง
โครงสร้างประชากรโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้สำคัญอย่างยิ่งทั้งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การจ้างงาน การกระจายรายได้ การคุ้มครองทางสังคม ตลอดจนการเข้าถึงบริการสาธารณสุข การศึกษา ที่อยู่อาศัย น้ำ อาหาร และพลังงาน ตลอดจนการเข้าถึงระบบอนามัยการเจริญพันธุ์ซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนและเป็นหัวใจสำคัญของการมีสุขภาพดีสำหรับผู้หญิง รวมทั้งระบบบำนาญที่เพียงพอสำหรับผู้สูงอายุ และการคำนึงถึงกลุ่มชายขอบของสังคม
สร้างความเสมอภาคทางเพศในสังคมสูงวัย
เมื่อเราเข้าสู่ปี 2050 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประชากร 1 ใน 4 คน จะมีอายุมากกว่า 60 ปี ในกลุ่มประชากรสูงวัยเหล่านั้น ส่วนมากคือผู้หญิง และแม้สิทธิสตรีจะพัฒนามาไกล แต่ทุกวันนี้เรายังคงอยู่ในโลกของความไม่เท่าเทียมทางเพศที่กว้างใหญ่ และภายใต้บริบทของสังคมสูงอายุ ช่องว่างที่เกิดจากเพศสภาพนั้นจะยิ่งถ่างและซับซ้อนขึ้น
เพื่อให้ผู้หญิงก้าวสู่วัยชราได้อย่างมั่นคง พวกเธอต้องมีการพัฒนาตลอดช่วงวัย (A Life-Cycle Approach) ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ผู้หญิงควรเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ เรื่อยมาจนวันรุ่นและวัยผู้ใหญ่ พวกเธอควรเข้าถึงการวางแผนครอบครัวที่อยู่บนพื้นฐานสิทธิ เพื่อที่พวกเธอจะสามารถวางแผนชีวิตได้ตลอดทุกช่วงวัย สามารถตัดสินใจได้ว่าอยากมีลูกหรือไม่ มีกับใคร และจะมีตอนอายุเท่าไหร่ ตลอดจนสามารถคลอดลูกได้อย่างปลอดภัย ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพระยะยาวไปจนแก่เฒ่าของพวกเธอเอง
ผู้หญิงยังต้องได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ รวมถึงทักษะความรู้ที่เป็นรากฐานของชีวิต ทุกวันนี้โอกาสเติบโตในสายงานไอทีของผู้หญิงและผู้ชายยังห่างกันถึง 4 เท่า ทั้งยังมีช่องว่างในการใช้อินเทอร์เน็ตระหว่างเพศที่สูงถึงร้อยละ 12.5 ทั่วโลก ดังนั้นเพื่อลดอุปสรรคในการเข้าสู่สายงานด้านเทคโนโลยี เด็กยุคใหม่ทุกคนควรได้รับโอกาสในการฝึกฝนทักษะที่จำเป็น อย่างการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ไปใช้ในการเชื่อมโยงและแก้ปัญหา (Science Technology Engineering and Mathematics Education หรือ STEM)
นอกจากนี้ ในรายงานสถานะประชากรโลกล่าสุดที่เปิดตัวในปี 2022 SEEING THE UNSEEN ยังได้เปิดเผยอีกหนึ่งวิกฤติของผู้หญิง นั่นคือการตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งมากกว่า 3 ใน 5 สิ้นสุดที่การทำแท้ง และการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยก็เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต และการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของผู้หญิงหลายล้านคนต่อปี
หลายปีที่ผ่านมาหลายภาคส่วนในประเทศไทยและ UNFPA ได้ร่วมกันผลักดันการเยียวยาวิกฤตินี้ ด้วยการมีกรอบกฎหมายและนโยบายตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ความสำเร็จในนโยบายนี้นำไปสู่บริการที่ครอบคลุมมากขึ้นในการจัดหายาคุมกำเนิดแบบสมัยใหม่ฟรี เช่น LAC ถุงยางอนามัย และยาคุมกำเนิดสำหรับวัยรุ่น นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายสำหรับการทำแท้งอย่างปลอดภัยสำหรับผู้หญิงและเด็กหญิงวัยรุ่นทุกคน
เตรียมความพร้อมสู่สังคมที่คนเกิดน้อยลง
คนเกิดน้อยลง คนสูงวัยมากขึ้น ส่งผลให้คนวัยทำงานลดจำนวนลงเรื่อยๆ อย่างในประเทศไทย มีการประมาณการว่า จากปัจจุบันที่มีประชากร 5 คนทำงานเลี้ยงผู้สูงอายุ 1 คน ภายในปี 2040 จะเหลือประชากรไม่ถึง 2 คน ทำงานเพื่อเลี้ยงผู้สูงอายุ 1 คน
ปัจจุบันจำนวนประเทศที่เผชิญกับการสูงวัยของประชากรมีมากขึ้นเรื่อยๆ และตอนนี้เกือบร้อยละ 60 ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในประเทศที่มีภาวะเจริญพันธุ์ต่ำกว่าเกณฑ์ โดยผู้หญิงแต่ละคนให้กำเนิดลูกน้อยกว่า 2.1 คนอย่างที่เกริ่นไปข้างต้น ส่วนแบ่งของประชากรโลกที่อายุ 60 ปีขึ้นไป คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12.3 ในปัจจุบัน เป็นร้อยละ 22 ในปี 2050 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่เราเห็นสถิติจำนวนประชากรที่สุดขั้วขนาดนี้
หนึ่งในหนทางที่จะเอาชนะความท้าทายนี้ คือการลงทุนเพื่อพัฒนาคนรุ่นต่อไป โดยสร้างหลักประกันการเรียนรู้ และความพร้อมที่จะเติบโตขึ้นเป็นพลังในการขับเคลื่อนศรษฐกิจและสังคม เด็กรุ่นใหม่ต้องได้รับการบ่มเพาะทักษะสำหรับโลกในศตวรรษที่ 21 ที่การเปลี่ยนแปลงและการโดนดิสรัปต์เกิดขึ้นได้ทุกนาที
ประเทศไทยมีเยาวชนอายุระหว่าง 10-24 ปี ราว 12 ล้านคน ที่กำลังจะกลายเป็นผู้นำสังคมในอนาคต อย่างไรก็ตามทุกวันนี้ร้อยละ 15 ของเยาวชนอายุ 15-24 ปี ไม่ได้อยู่ทั้งในระบบการศึกษา การฝึกอบรมหรือการจ้างงานใดๆ เราต้องเพิ่มงบประมาณและการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบอาชีวศึกษาด้วยเครื่องมือและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนขาดโอกาสเหล่านี้เข้าถึงการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับตลาดแรงงานในอนาคต
กุญแจคือความยืดหยุ่นทางประชากร
เมื่อมองไปข้างหน้า การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรโลก การเข้าสู่สังคมสูงอายุ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และอีกสารพัดวิกฤติมากมาย ทำให้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าความท้าทายที่เด็กๆ รุ่นใหม่ต้องเผชิญนั้นซับซ้อนและยิ่งใหญ่กว่าที่คนรุ่นก่อนพบเจอมาก
อย่างไรก็ตาม “คนคือผู้ไขกุญแจสู่ทางออก ไม่ใช่ปัญหา” UNFPA จึงเริ่มโครงการความยืดหยุ่นทางประชากร ซึ่งมุ่งมั่นที่จะไม่นับเฉพาะแค่จำนวนคน แต่ให้น้ำหนักและความสำคัญกับโอกาสที่จะนำพาทุกคนไปสู่ความก้าวหน้า เพื่อช่วยให้ประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทยเข้าใจและคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงทางประชากรได้ดีขึ้น สามารถบรรเทาผลกระทบด้านลบ ลดความเสี่ยงและตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบันและอนาคต
ภารกิจของ UNFPA คือการทำให้แน่ใจว่าประเทศต่างๆ มีทักษะ เครื่องมือ ที่จะช่วยให้รัฐบาลประเมินความต้องการของประชากรที่เปลี่ยนแปลง ตลอดจนใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงนั้น และมีการพัฒนานโยบายต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการอ้างอิงจากข้อมูล หลักฐาน และสิทธิมนุษยชน เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างยุติธรรม นำไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่ออกดอกผลแก่ทุกคน
เช่น ขยายทางเลือกและโอกาสให้คนหนุ่มสาว ให้ผู้หญิงและผู้ชายผสานการทำงานเข้ากับการสร้างครอบครัว ปรับปรุงระบบดูแลและจัดการเด็กๆ เพื่อให้พ่อแม่รุ่นใหม่สามารถมีลูกได้ตามที่ปรารถนา เพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในที่ทำงาน สร้างการมีส่วนร่วมของคนพลัดถิ่น สนับสนุนให้ผู้สูงวัยมีสุขภาพดีและแอคทีฟอยู่เสมอ
เดือนแห่งวันประชากรโลก ปีที่มนุษยชาติมีมากกว่า 8 พันล้านคนบนโลก ในโลกอุดมคติ คงหมายถึง 8 พันล้านโอกาสของการใช้ชีวิตอย่างสง่างาม ไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ซึ่งสิทธิและทางเลือกของผู้คนจะเสริมพลังสู่สังคมที่สมบูรณ์แข็งแรงกว่าเดิม แต่ไม่ใช่ทุกคนจะได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกัน ทุกวันนี้คนจำนวนมากยังคงถูกเลือกปฏิบัติ ถูกล่วงละเมิด และถูกกระทำด้วยความรุนแรง เราจะไม่สามารถช่วยให้โลกดีขึ้นได้เลย หากยังเพิกเฉยต่อพวกเขา
เรื่อง มิ่งขวัญ รัตนคช, ภาพ วศิน ปฐมหยก
Tags: #RightsChoices4All #8BillionStrong #WorldPopulationDay #วันประชากรโลก
1 of 5

เรื่อง
12 มีนาคม 2022
10 วิธีแก้วิกฤตโลกร้อนด้วยตัวเรา
เพื่อรักษาสภาพภูมิอากาศให้ยังคงเอื้อต่อการดำรงชีวิต การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิจะต้องลดลงเป็นศูนย์ภายในปี 2050 แน่นอนว่าภาครัฐและภาคธุรกิจจะต้องดำเนินการอย่างชัดเจน รวดเร็ว และรอบด้าน แต่การเปลี่ยนผ่านสู่โลกคาร์บอนต่ำก็ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบเศรษฐกิจที่ซับซ้อน
ActNow เป็นโครงการรณรงค์ของสหประชาชาติว่าด้วยการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศและความยั่งยืนในระดับบุคคล เราทุกคน
สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อน ดูแลโลกของเรา และกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ด้วยการทำกิจกรรมที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยลง
บันทึกสิ่งที่คุณทำเพื่อแก้ปัญหาสภาพอากาศ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามระดับโลกผ่านแอปพลิเคชันนี้
พลังงานและการขนส่งคือหัวใจ
อาหารก็สำคัญ
เป็นกระบอกเสียง!
ㅤㅤ
ㅤㅤ
ไฟฟ้าและความร้อนส่วนใหญ่ที่เราใช้ยังคงต้องอาศัยพลังงานจากถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ เครื่องบินและรถยนต์ส่วนใหญ่ก็ยังใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล คุณสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้โดยใช้พลังงานที่บ้านให้น้อยลง เปลี่ยนไปใช้พลังงานลมหรือพลังงานแสงอาทิตย์ หลีกเลี่ยงการเดินทางด้วยเที่ยวบินระยะไกล และขับรถให้น้อยลง
• ติดตามการประชุมระดับผู้นำด้านพลังงาน
• ติดตามการประชุมแห่งสหประชาชาติด้านการคมนาคมที่ยั่งยืนระดับโลก (UN Global Sustainable Transport Conference)
ㅤㅤㅤ
การผลิต การแปรรูป การขนส่ง การบริโภค และการกำจัดอาหารล้วนนำไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจก คุณสามารถลดผลกระทบต่อสภาพอากาศได้ด้วยการซื้ออาหารในท้องถิ่นและตามฤดูกาล รับประทานอาหารจากพืชให้มากขึ้น ใช้วัตถุดิบอาหารที่คุณมีให้หมด และและทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารที่เหลือ
• ร่วมลดผลกระทบได้วันนี้
• อ่านเกี่ยวกับการประชุมสุดยอดผู้นำระบบอาหารโลก (UN Food Systems Summit)
ㅤㅤㅤ
การดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมจากทุกภาคส่วนของสังคมคือปัจจัยหลักในการเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็วสู่อนาคตที่มีความยืดหยุ่นต่อสภาพอากาศ จงเปล่งเสียงของคุณ เรียกร้องต่อผู้นำระดับโลก กระตุ้นให้ผู้คนในเมือง ในภูมิภาค และในมหาวิทยาลัยของคุณ ตลอดจนธุรกิจต่าง ๆ ลงมือดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อให้การปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์
• ร่วมขับเคลื่อนไปกับปฏิบัติการแข่งขันเพื่อคาร์บอนเป็นศูนย์ (Race to Zero)
• ติดตามพันธมิตรลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero Coalition)
ร่วมแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศด้วย 10 วิธีต่อไปนี้!
ร่วมคิด ร่วมทำ สู่ความยั่งยืนเพื่อโลกของเรา—วิถีชีวิตของเราส่งผลกระทบอย่างมากต่อโลก การตัดสินใจของเราจึงมีความสำคัญ ราว 2 ใน 3 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกมาจากภาคครัวเรือนหรือระดับบุคคล และภาคพลังงาน อาหาร และการขนส่งซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในชีวิตของเราต่างก็มีส่วนปล่อยมลพิษประมาณร้อยละ 20 ด้วยเหตุนี้ เราทุกคนจึงสามารถสร้างความแตกต่างได้ ตั้งแต่ไฟฟ้าที่เราใช้ อาหารที่เรารับประทาน ไปจนถึงวิธีการที่เราเดินทาง ลองเริ่มต้นด้วย 10 วิธีดังต่อไปนี้ หรือดาวน์โหลดแอปเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมบันทึกการมีส่วนร่วมของคุณได้เลย
ประหยัดพลังงานที่บ้าน
การผลิตไฟฟ้าและความร้อนส่วนใหญ่ใช้พลังงานจากถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ เราสามารถใช้พลังงานให้น้อยลงได้โดยการปรับระดับการทำความร้อนและความเย็นให้ต่ำลง เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED และเครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน ซักผ้าด้วยน้ำเย็น หรือตากผ้าแทนการใช้เครื่องอบผ้า
เดิน ปั่นจักรยาน หรือใช้ระบบขนส่งสาธารณะ
ถนนทั่วโลกแน่นขนัดไปด้วยยานพาหนะซึ่งส่วนใหญ่ใช้น้ำมันดีเซลหรือเบนซินเป็นเชื้อเพลิง การเดินหรือขี่จักรยานแทนการขับรถจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งยังช่วยเสริมสร้างสุขภาพและความแข็งแรงอีกด้วย หากคุณต้องเดินทางไกล ลองเปลี่ยนมาโดยสารรถไฟหรือรถประจำทาง และติดรถไปกับผู้อื่นเมื่อทำได้
รับประทานผักให้มากขึ้น
แค่รับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด พืชตระกูลถั่ว และเมล็ดพืชมากขึ้น และลดเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมให้น้อยลง คุณก็สามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมาก โดยทั่วไปกระบวนการผลิตอาหารที่มาจากพืชจะสร้างก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า อีกทั้งยังใช้พลังงาน ที่ดิน และน้ำน้อยกว่า
เลือกวิธีเดินทาง
เครื่องบินใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างมหาศาล และปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมาก การนั่งเครื่องบินให้น้อยลงจึงเป็นหนึ่งในวิธีที่เร็วที่สุดในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หากทำได้ ให้คุณนัดพบกันในทางออนไลน์ ขึ้นรถไฟ หรือยกเลิกการเดินทางระยะไกลนั้นไปเลย
รับประทานอาหารให้หมด
ทุกครั้งที่คุณทิ้งอาหาร คุณกำลังทิ้งทรัพยากรและพลังงานที่ใช้ในการเพาะปลูก/เลี้ยง ผลิต บรรจุ และขนส่งอาหารนั้น ๆ และอาหารที่บูดเน่าอยู่ในบ่อขยะก็จะปล่อยก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่รุนแรงมาก ดังนั้น รับประทานอาหารที่คุณซื้อมาให้หมดและส่วนที่เหลือให้หมักทำปุ๋ย
ลด ใช้ซ้ำ ซ่อมแซม และรีไซเคิล
อุปกรณ์ไฟฟ้า เสื้อผ้า และสินค้าอื่น ๆ ที่เราซื้อล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ณ จุดใดจุดหนึ่งของการผลิต ตั้งแต่การหาวัตถุดิบ ไปจนถึงการผลิต และการขนส่งสินค้าสู่ตลาด คุณสามารถช่วยรักษาสภาพอากาศของเราด้วยการซื้อของให้น้อยลง ซื้อของมือสอง ซ่อมหากซ่อมได้ และรีไซเคิล
เปลี่ยนแหล่งพลังงานในบ้าน
สอบถามบริษัทสาธารณูปโภคของคุณว่าพลังงานที่คุณใช้ในบ้านนั้นผลิตมาจากน้ำมัน ถ่านหิน หรือก๊าซหรือไม่ ถ้าเป็นไปได้ ให้ลองเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น ลมหรือพลังงานแสงอาทิตย์ หรือติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาเพื่อผลิตพลังงานให้บ้านของคุณ
เปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า
หากคุณวางแผนที่จะซื้อรถยนต์ ลองเลือกดูรถยนต์ไฟฟ้าซึ่งตอนนี้มีหลายรุ่นและราคาถูกลง แม้ว่าไฟฟ้าที่ใช้จะยังผลิตมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลอยู่ แต่รถยนต์ไฟฟ้าก็ช่วยลดมลพิษทางอากาศและปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่ารถยนต์ที่ใช้แก๊สหรือดีเซลอย่างมีนัยสำคัญ
เลือกผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ทุกการใช้จ่ายของเราส่งผลกระทบต่อโลกทั้งสิ้น คุณมีอำนาจว่าจะเลือกสนับสนุนสินค้าและบริการใดเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ให้คุณซื้ออาหารตามฤดูกาลที่ผลิตในท้องถิ่น เลือกผลิตภัณฑ์จากบริษัทที่ใช้ทรัพยากรอย่างมีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและของเสีย
เป็นกระบอกเสียง
เปล่งเสียงของคุณและชักชวนผู้อื่นให้ร่วมลงมือด้วยกัน นี่เป็นหนึ่งในวิธีที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่สุดในการสร้างการเปลี่ยนแปลง ชักชวนเพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน เพื่อน และครอบครัวของคุณ บอกให้ธุรกิจต่าง ๆ รู้ว่าคุณต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงที่กล้าหาญและชัดเจน ตลอดจนเรียกร้องให้ผู้นำท้องถิ่นและระดับโลกดำเนินการในทันที
โดยท่านสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิถีชีวิตคาร์บอนต่ำจากรายงานช่องว่างการปล่อยมลพิษของ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme) ปี 2020 ได้ที่นี่
ภาพ: Niccolo Canova
1 of 5

เรื่อง
15 มกราคม 2022
ไทยกับสหประชาชาติกระชับความร่วมมือเพื่อเร่งขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน
กรุงเทพฯ - ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย ลงนามกระชับความร่วมมือกับประเทศไทย เพื่อเร่งขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs) ของไทย ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและโมเดลเศรษฐกิจ BCG ภายใต้กรอบความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (United Nations Sustainable Development Cooperation Framework - UNSDCF) ระหว่างรัฐบาลไทยกับสหประชาชาติ วาระปี ๒๕๖๕ – ๒๕๖๙
เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๕ นายธานี ทองภักดี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับนางกีต้า ซับบระวาล ผู้ประสานงานสหประชาชาติ (United Nations Resident Coordinator - UNRC) ประจำประเทศไทย พร้อมด้วยทีมงานสหประชาชาติ (United Nations Country Team - UNCT) ประจำประเทศไทย รวม ๒๑ หน่วยงาน ลงนามกรอบความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนฯ ณ ห้องบัวแก้ว กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีนายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และผู้บริหารกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เข้าร่วม
ในกระบวนการจัดทำกรอบความร่วมมือฯ กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และทีมงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมหารือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อให้กรอบความร่วมมือฯ สามารถตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทย ซึ่งมีประชาชนเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของแนวทางการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสนับสนุนการผลิกโฉมประเทศไทยสู่การเป็นสังคมแห่งเศรษฐกิจที่ครอบคลุม สีเขียว ยั่งยืน และคาร์บอนต่ำผ่านโมเดลเศรษฐกิจ BCG อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งตอบสนองต่อความท้าทายต่าง ๆ ในปัจจุบัน และรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในอนาคต โดยกรอบความร่วมมือฯ จะสนับสนุนการพัฒนาประเทศตามหมุดหมายของ (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ ของไทย
กรอบความร่วมมือฯ นับเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่จะช่วยเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างไทยกับสหประชาชาติที่มีความใกล้ชิดมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในโอกาสครบรอบ ๗๕ ปี การเป็นสมาชิกสหประชาชาติของไทย และในโอกาสที่ไทยดำรงตำแหน่งรองประธานคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (Economic and Social Council – ECOSOC) วาระเดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๒๐๒๑ - กรกฎาคม ค.ศ. ๒๐๒๒ และประธาน Coordination Segment ในกรอบ ECOSOC ในปีนี้
1 of 5

เรื่อง
03 กุมภาพันธ์ 2023
เปรมศักดิ์ แสงจันทร์ ผู้ขับเคลื่อนสุขภาวะของเยาวชนกลุ่มเปราะบางผ่านการสร้างพื้นที่ปลอดภัย
SDGs Youth Panel
เปรม-เปรมศักดิ์ แสงจันทร์ กำลังศึกษาอยู่ในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และยังเป็นหนึ่งในแกนนำเยาวชนของมูลนิธิเครือข่ายเยาวชน Little Birds หรือที่มีชื่อเล่นว่า ‘บ้านลูกนก’ พื้นที่ปลอดภัย เพื่อโอบอุ้มค้ำจุนเยาวชนกลุ่มเปราะบางที่ขาดโอกาสรวมถึงที่พึ่งพิง โดยเฉพาะเยาวชนผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี ที่ส่วนใหญ่ติดเชื้อนี้ผ่านแม่มาตั้งแต่แรกเกิด
แม้ทุกวันนี้ เราจะทราบกันดีแล้วว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่กินยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอ จะสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติ ทั้งยังมีชีวิตยืนยาวได้อย่างคนทั่วไป ซึ่งในมุมมองของเยาวชนและวัยรุ่นโดยปกติ ก็เผชิญความท้าทายในการเติบโตเป็นผู้ใหญ่อยู่แล้ว แต่ลองคิดดูว่าวัยรุ่นที่มีเชื้อเอชไอวีจะใช้ชีวิตยากลำบากกว่าแค่ไหน หากพวกเขาส่วนใหญ่ยังถูกตีตราจากสังคม Little Birds จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นบ้านที่อุ้มชูและสนับสนุนการใช้ชีวิตแก่น้อง ๆ
นอกจากจะเป็นที่ปรึกษา รับฟัง และให้คำแนะนำการใช้ชีวิตแก่สมาชิกในมูลนิธิ เปรมยังเล็งเห็นความสำคัญของความรู้ความเข้าใจด้านการเงิน เพราะเยาวชนส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้ต้องทำงานและยืนด้วยสองขาของตัวเองตั้งแต่อายุน้อย เปรมจึงก่อตั้งโปรเจกต์ให้คำปรึกษาด้านการเงินกับเพื่อน พี่ น้องในมูลนิธิขึ้น เพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้วิธีบริหารจัดการเงินอย่างถูกต้อง
เมื่อปีที่ผ่านมา เปรมได้รับการคัดเลือกโดย 21 หน่วยงานสหประชาชาติในประเทศไทยเข้าเป็นหนึ่งในสมาชิกของคณะที่ปรึกษาเยาวชนแห่งสหประชาชาติ (Youth Panel for Sustainable Development Goals : SDGs Youth Panel) ที่ร่วมกันระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยในมุมมองคนรุ่นใหม่ ส่งต่อไปยังผู้นำประเทศ นอกจากนี้เขายังเป็นสมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาเยาวชน (Young People Advisory Board : YPAB) ร่วมกับนักขับเคลื่อนรุ่นใหม่อีกกว่า 60 คน ขององค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ (UNICEF) เพื่อส่งต่อความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนไปสู่การวางแผนพัฒนาด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะเสียงของน้อง ๆ กลุ่มเปราะบางและผู้ขาดโอกาส
“การเรียนคณะนิติศาสตร์ ทำให้ผมเข้าใจว่ากฎหมายต้องถูกปรับเปลี่ยนอยู่เสมอให้เท่าทันบริบทและค่านิยมของสังคม เช่นเดียวกับการพัฒนาประเทศ ก่อนหน้านี้เราอาจถูกสอนกันมาว่าต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่ แต่ตอนนี้บริบทของสังคมเปลี่ยนไปแล้ว การพัฒนาจะมีประสิทธิภาพและยั่งยืนเมื่อคนทุกวัยหันหน้ามาคุยกัน และผมดีใจที่เห็นสิ่งนี้กำลังเติบโตขึ้นในประเทศของเรา”
โลกในสองมุมมอง
เปรมเริ่มเล่าว่า “ผมไม่ได้เติบโตมากับความมั่งมี หรือสุขสบายอย่างหลายๆ คน การมีวัยเด็กในสถานสงเคราะห์และต่อมาได้รับโอกาสเข้าศึกษาในโรงเรียนนานาชาติทำให้ผมได้เห็นโลกในสองมุมมอง คือมุมของคนที่ไม่ได้มีมาก และมุมของคนที่มีพร้อมกว่าในสังคม ซึ่งทั้งสองมุมมองแตกต่างกันมาก เรียกว่าสุดขั้วเลยก็ได้ ชีวิตในโรงเรียนที่มีเพื่อนและครูหลากหลายเชื้อชาติยังหล่อหลอมวิธีคิดและทัศนคติแบบสากลให้ผมด้วย”
เปรมมองว่าระบบการเรียนในโรงเรียนนานาชาติ ที่คุณครูไม่ใช่แค่สอนจากหน้าห้องเพียงอย่างเดียว แต่เน้นพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รีบหาคำตอบให้อย่างเต็มใจเมื่อนักเรียนมีคำถามหรือข้อสงสัย รวมถึงทำงานร่วมกับนักเรียนอย่างสนุกสนาน คือบรรยากาศที่กระตุ้นให้เด็ก ๆ กล้าที่จะถกเถียงแลกเปลี่ยนทัศนคติกันอย่างเปิดใจ และนำไปสู่ทักษะคิดวิเคราะห์ที่จะติดตัวเด็กไปจนถึงเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่
“ช่วงที่ผมอยู่ชั้นมัธยมปลาย เรื่องความเป็นประชาธิปไตยถูกพูดถึงมากขึ้น มีการประท้วง การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองที่กว้างขวางกว่าแต่ก่อน และประสบการณ์ของผมต่อโลกในสองมุมมอง ทำให้ผมเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นว่าความเป็นอยู่ของผู้คนล้วนเกี่ยวข้องกับนโยบายประเทศ ผมสนใจเรื่องการเมืองมาตั้งแต่นั้น ยิ่งได้ถกเถียงกับครูที่โรงเรียน ยิ่งรู้สึกอินมาก ผมเลยเลือกเรียนคณะนิติศาสตร์”
อย่างไรก็ตาม มีเยาวชนอีกหลายคนที่ไม่สามารถปรับตัวหรือมีโอกาสที่ดีอย่างเปรม “เมื่อเรียนจบก็ต้องออกจากสถานสงเคราะห์ ซึ่งเยาวชนหลายคนไม่รู้จักการเข้าสังคม เพราะตลอดชีวิตของเขาเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากเด็กทั่วไปมาก ไม่มีผู้ปกครอง ไม่มีพ่อแม่ หรืออาจจะมีญาติที่ไม่ได้ไปมาหาสู่กันนัก บางคนไปทำงานข้างนอก แต่ก็ไม่สามารถรับมือเรื่องการเงินได้ อย่างช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา เพื่อนของผมหลายคนก็ตกงาน เป็นหนี้เป็นสิน เพราะเขายังต้องจ่ายค่าที่พัก ยังต้องกินต้องใช้”
มูลนิธิเครือข่ายเยาวชน Little Birds จึงเกิดขึ้น เมื่อหลายปีก่อน จากการรวมตัวกันของพี่ๆ น้องๆ จากสถานสงเคราะห์ ที่มองเห็นความยากลำบากของการเริ่มต้นชีวิตในสังคม โดยบ้านลูกนกแห่งนี้จะเป็นพื้นที่ปลอดภัยซึ่งช่วยเหลือเรื่องที่พักพิง อาหารการกิน เครื่องนุ่งห่ม แก่เยาวชนหลายกลุ่ม รวมถึงน้องๆ ที่ติดเชื้อเอชไอวีตั้งแต่แรกเกิด และน้องๆ ที่อาจกำลังประสบปัญหา เช่น ท้องไม่พร้อม มูลนิธิก็จะช่วยให้การสนับสนุนและดูแลกันไปก่อน ในระหว่างที่ทุกคนกำลังค่อยๆ ยืนหยัดในสังคมอย่างมีคุณภาพ
“ผมเป็นวัยรุ่นคนหนึ่งที่ได้รับโอกาสทางด้านการศึกษาและได้เรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่เด็ก อีกทั้งยังได้รู้จักมูลนิธิ Little Birds ตั้งแต่ก่อตั้งแรก ๆ ดังนั้นเมื่อสองสามปีก่อน ตอนเข้ามหาวิทยาลัย พี่ๆ จึงเห็นว่าผมน่าจะเป็นแกนนำเยาวชนช่วยเหลือน้องๆ ได้ เลยชักชวนมาเป็นทีมแกนนำที่ทำงานด้วยกัน เราอาจไม่มีระบบการทำงานที่ซับซ้อนแบบมูลนิธิใหญ่อื่น ๆ แต่แน่นแฟ้นแบบครอบครัว”
บ้านลูกนกที่ค้ำจุน
เปรมเล่าว่าเยาวชนหลายคนในเครือข่าย Little Birds ได้รับเชื้อจากแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวีตั้งแต่เกิด พวกเขามีความเปราะบางกว่าเยาวชนที่ขาดโอกาสทั่วไป เพราะนอกจากปัญหาตามประสาวัยรุ่นอย่างการค้นหาตัวเอง การเรียน ความรัก ไปจนถึงเรื่องยาเสพติด หรือท้องวัยเรียนแล้ว พวกเขายังต้องกินยาต้านไวรัสที่ช่วยฟื้นฟูภูมิคุ้มกันของร่างกายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจำเป็นต้องกินอย่างสม่ำเสมอทุกวันไปตลอดชีวิต
“แค่กินยาต้านไวรัสทุกวันอาจฟังดูไม่ยาก แต่ทำไมยังเจอปัญหาว่าน้องหลายคนขาดการกินยา ทั้งที่เขาก็รู้ว่ามันดีกับตัวเอง เมื่อเราได้ทำความเข้าใจก็พบว่าน้องบางคน ตอนแรกใช้สิทธิบัตรทอง แต่ต่อมาย้ายมาใช้สิทธิประกันสังคม ช่วงรอยต่อนี้ทำให้เขาไม่สามารถไปรับยาได้ พอกลับไปรับยาอีกที ก็ถูกเจ้าหน้าที่ดุแรง ๆ เขาเลยไม่ยอมเข้าไปรับยาอีก เพราะกลัวโดนต่อว่าอีก หรือบางคนไม่อยากกินยา เพราะรู้สึกว่ามันเป็นการตอกย้ำว่าเขามีเชื้อเอชไอวีอยู่ในตัว น้องทุกคนมีเหตุผลของตัวเอง และนี่คือสิ่งที่ Little Birds กำลังพยายามคลี่คลายไปทีละขั้น”
แม้สถานสงเคราะห์จะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแล แต่ก็ไม่อาจเทียบได้กับการมีครอบครัวคอยให้การโอบอุ้ม เครือข่าย Little Birds จึงทำหน้าที่เป็นต้นไม้ใหญ่ที่มอบที่พักพิงให้กับน้อง ๆ แทน เพื่อแนะนำถึงวิธีเข้าสังคม การรับมือกับ
สถานการณ์ต่างๆ เช่น การจัด workshop ให้กำลังใจ สร้างคุณค่าในตัวสมาชิกให้เขา โดยการทำให้เขานึกถึงสิ่งที่เขาเก่ง ที่เขาทำได้ดีในที่ผ่านมาหรือที่เป็นตัวเขา นอกจากนั้นยังให้เพื่อน ๆ พูดถึงข้อดีของเขา กิจกรรมดังกล่าว ก็จะทำให้เขาเห็นคุณค่าและรักตัวเองมากขึ้น อีกทั้งยังจะช่วยลดปัญหาของการตีตราตนเอง (self-stigma) ของน้อง ๆ สมาชิก
การทำงานร่วมกับรุ่นพี่นักขับเคลื่อนหลายคนที่มีประสบการณ์และความรู้ ทำให้เปรมและแกนนำเยาวชนคนอื่นๆ ได้เรียนรู้ที่จะให้คำปรึกษาอย่างไม่ตัดสินและบีบบังคับ “เราจะไม่เอาประสบการณ์ของตัวเองไปชี้ว่าน้องต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ เราเพียงบอกเขาว่ามันมีทางอะไรบ้าง แต่ละเส้นทางมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ไม่ว่าเขาจะตัดสินใจเลือกเส้นทางไหน เราจะอยู่ด้วยตลอดการเดินทาง”
เปรมมองว่า ความเข้าใจทางการเงินเป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญที่จะทำให้เยาวชนเติบโตออกไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ แม้ที่ผ่านมาเครือข่าย Little Birds มอบเงินช่วยเหลือน้องบางคน แต่นั่นไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ยั่งยืน เปรมจึงก่อตั้งโปรเจกต์ให้คำปรึกษาด้านการเงินกับเพื่อน พี่ น้องในมูลนิธิ เพื่อให้ทุกคนรู้วิธีบริหารจัดการเงินอย่างถูกต้อง ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนและความมั่นคงทางด้านการเงินในระยะยาว
เครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกัน
เมื่อปีที่ผ่านมา เปรมได้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาเยาวชน (Young People Advisory Board) หรือ YPAB ร่วมกับคนรุ่นใหม่กว่าอีก 60 คน ที่ล้วนทำงานผลักดันประเด็นทางสังคมอย่างหลากหลาย เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย ให้แน่ใจว่าความคิดเห็นของเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะเสียงของน้องๆ กลุ่มเปราะบางและผู้ขาดโอกาส จะถูกรับฟังและนำไปใช้วางแผนการพัฒนาโดยยูนิเซฟและเครือข่ายพันธมิตร
“จากเดิมผมเห็นโลกของเด็กที่มีพร้อมและเด็กที่ขาดโอกาสในกรุงเทพฯ การเข้ามาเป็น YPAB ทำให้มุมมองของผมเปิดกว้างมากขึ้น ว่าจริง ๆ แล้วยังมีเด็กและเยาวชนกลุ่มเปราะบางในพื้นที่อื่นๆ อีกมากมาย อย่างเพื่อนคนหนึ่งใน YPAB เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยในพื้นที่ทุรกันดาร ห่างไกลความเจริญ เยาวชนกลุ่มนี้ก็มีปัญหาและความท้าทายในบริบทของตัวเองที่ต่างออกไป เช่น ปัญหาการเข้าถึงระบบการศึกษาอย่างเท่าเทียม”
นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่น ๆ ที่ถูกหยิบยกขึ้นมาตามความสนใจและภูมิหลังการทำงานของเยาวชนสมาชิก YPAB แต่ละคน อย่างหัวข้อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการใช้ชีวิตของคนเจเนอเรชั่นถัดไป หัวข้อรอยต่อของชีวิตวัยรุ่นในช่วงเปลี่ยนผ่านจากโรงเรียนไปสู่ระดับมหาวิทยาลัย และหัวข้อสุขภาพและสุขภาวะ ซึ่งเป็นหัวข้อหลักในการทำงานของเปรม
“ผมได้มุมมองใหม่ ๆ กลับมาเยอะมากเช่นกัน จากการระดมความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่มหัวข้อสุขภาพและสุขภาวะ อย่างประเด็นสุขภาพจิตที่เพื่อนนักเรียนแพทย์ทุกคนให้ความสำคัญอย่างมาก เขาเล่าว่าทุกวันนี้ที่คณะแพทย์ศาสตร์มีจิตแพทย์และนักจิตบำบัดมาประจำการให้คำปรึกษาด้วย หากนักศึกษาเกิดความเครียด ไม่ว่าจะจากการเรียนหรือชีวิตส่วนตัว ก็สามารถเข้าไปพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญได้เลย ค่านิยมว่าการไปพบจิตแพทย์เป็นเรื่องน่าอายต้องหมดไป และการเข้ารับการบำบัดก็ควรถูกทำให้เข้าถึงได้ง่ายจากทุกคน
จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในโครงการ YPAB ทำให้เปรมได้รับแรงบันดาลใจที่จะใช้วิธีเหล่านี้ในกลุ่ม Little Birds โดยเปรมเล่าอย่างกระตือรือร้นว่า “โอ้โฮ ผมทึ่งมาก อย่างที่เล่าถึงเยาวชนหลายคนซึ่งเป็นผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี การใช้ชีวิตแต่ละวันของพวกเขามีความเครียดสูงมาก เพราะทั้งต้องกินยารักษาตัวและยังต้องต่อสู้กับการถูกสังคมตีตรา
เป็นอีกประเด็นที่ผมจะนำกลับไปทำงานต่อกับพี่ๆ น้องๆ ใน Little Birds ว่าเราจะพัฒนาการดูแลรักษาจิตใจเยาวชนในมูลนิธิได้ยังไงบ้าง”
ปรับเปลี่ยนให้เท่าทันยุคสมัย
นอกจากนี้ เปรมยังได้ร่วมงานประชุมวันเอดส์โลก ในฐานะสมาชิก YPAB ที่ขับเคลื่อนประเด็นด้านสุขภาพและสุขภาวะ รวมถึงทำงานคลุกคลีกับเยาวชนผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี โดยในงานครั้งนั้น เปรมมองว่าเป็นโอกาสดีที่จะได้สื่อสารความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทัศนคติของเยาวชนจริง ๆ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากมายมารับฟังภายในงาน
“ผู้ใหญ่ถามว่า เราจะลดการติดเชื้อเอชไอวีในเยาวชนและคนรุ่นใหม่ลงได้ยังไง ผมมองว่าอย่างแรกคือต้องเข้าใจพฤติกรรมของวัยรุ่นจริงๆ เสียก่อน ตัวอย่างที่เห็นภาพชัดเจนที่สุดคือเรื่องถุงยางอนามัย จริงอยู่ที่ทุกวันนี้มีถุงยางอนามัยแจกฟรีตามสถานพยาบาล แต่ถุงยางอนามัยเหล่านั้นทั้งหนา ทั้งฝืดไม่ค่อยมีสารหล่อลื่น แถมยังตั้งอยู่ในจุดที่เข้าถึงลำบาก อย่าลืมว่าวัยรุ่นส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าโรงพยาบาลกันบ่อย ๆ ตั้งแต่มีนโยบายนี้มา เคยทำผลสำรวจอย่างจริงจังไหมว่ามีวัยรุ่นกลุ่มเป้าหมายกี่คนที่กล้าเดินเข้าไปหยิบถุงยางอนามัยตามจุดแจก”
เปรมอธิบายว่าวัยรุ่นส่วนใหญ่ซื้อถุงยางอนามัยตามร้านสะดวก และแต่ละคนก็มีผลิตภัณฑ์ที่ชอบแตกต่างกัน ดังนั้นหากภาครัฐสามารถควบคุมราคาถุงยางอนามัยที่ขายตามร้านสะดวกซื้อให้จับต้องได้ น่าจะเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ตอบโจทย์และมีประสิทธิภาพมากกว่า
“การเรียนคณะนิติศาสตร์ ทำให้ผมเข้าใจว่ากฎหมายจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ผ่านสามปัจจัย คือยุคสมัย สภาพสังคม และผู้ออกกฎหมาย อธิบายง่าย ๆ คือเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป รูปแบบสังคมก็เปลี่ยนแปลง หากกฎหมายยังอยู่กับที่มันก็จะตกยุคล้าสมัยไป เช่น กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับเพศในสมัยก่อน มีมาตราที่ว่าด้วยประเด็นการถูกข่มขื่นว่า ‘ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราหญิงซึ่งมิใช่ภรรยาของตนถือว่ามีความผิดฐานข่มขืน’ เท่ากับว่าสามีข่มขืนภรรยาตัวเองได้อย่างนั้นหรือ
“อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ความเข้มข้นของสังคมชายเป็นใหญ่เจือจางลงไปมากแล้ว ผู้ออกกฎหมายจึงต้องปรับเปลี่ยนกฎหมายให้เท่าทันบริบทและค่านิยมของสังคม โดยเปลี่ยนมาตราดังกล่าวเป็น ‘ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นถือว่ามีความผิด’ เพราะปัจจุบันคือยุคสมัยแห่งความเท่าเทียม ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะเป็นเพศไหน ก็ไม่มีสิทธิไปข่มขืนบุคคลใดทั้งนั้น”
ในเดือนกุมภาพันธ์นี้จะเป็นเดือนสุดท้ายก่อนที่เปรมจะพ้นวาระจากการเป็นสมาชิก YPAB ซึ่งตลอดปีที่ผ่านมาเขาได้เห็นความสำคัญของการทำงานบนพื้นฐานของความเข้าใจกันระหว่างคนหลายเจเนอเรชั่น “เพราะเราถูกสอนกันมาว่าต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่เท่านั้น เมื่อสังคมกำลังปรับไปในทิศทางที่คนทุกวัยต้องหันหน้ามาคุยกัน การที่ผู้ใหญ่ต้องมารับฟังเสียงของเด็ก ก็อาจทำให้เป็นเรื่องที่ขัดใจผู้ใหญ่บางคน” เปรมพูดยิ้ม ๆ พร้อมกล่าวทิ้งท้ายว่า
“ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศ เรื่องช่วงวัย กฎหมาย หรือการร่วมมือกันระหว่างเยาวชนและผู้ใหญ่ ผมมองว่าทั้งหมดเชื่อมโยงกันในแง่ของการปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามยุคสมัย บริบทของสังคมและผู้คน เพื่อพัฒนาสังคมให้มีความยั่งยืนมากขึ้น ผมดีใจที่ทุกวันนี้หลายหน่วยงานในประเทศไทยให้ความสำคัญกับการรับฟังเสียงของเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีพลัง รวมถึงการเข้าถึงสวัสดิการทางสังคมต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะการเริ่มยอมรับและพยายามที่จะเลิกการตีตราหรือการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งในสังคมของเรา”
เรื่อง มิ่งขวัญ รัตนคช, เรียบเรียง รวีกานต์ อมรัชกุล, ภาพ นิรุตติ จารุไพศาลกิจ
Tags: #SDGsYouthPanel #GlobalGoals #Youth2030
1 of 5

เรื่อง
27 มกราคม 2023
ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้การต้อนรับผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย และคณะ
ชมภาพข่าวเพิ่มที่นี่
วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2566 เวลา 09.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุมสำนักงานประธานสภาผู้แทนราษฎร ชั้น 10 อาคารรัฐสภา นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้การต้อนรับ Ms. Gita Sabharwal ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย และคณะ ในโอกาสเดินทางมาเข้าร่วมประชุมกับคณะ กมธ.การเงิน การคลัง สถาบันการเงินและตลาดการเงิน เพื่อพิจารณาประเด็น การทำงานของสหประชาชาติเกี่ยวกับภาษีคาร์บอน และตลาดคาร์บอนเครดิต ณ ห้องประชุม CB 406 อาคารรัฐสภา โดยได้ขออนุญาตเข้าเยี่ยมคารวะ นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร อย่างไม่เป็นทางการก่อนที่คณะจะไปเข้าร่วมการประชุมกับคณะกรรมาธิการ
นายชวน หลีกภัย ได้กล่าวต้อนรับคณะสู่รัฐสภาไทย และขอบคุณที่คณะฯ ได้มาเข้าร่วมประชุมกับคระ กมธ. เพื่อให้ข้อมูลต่างๆที่จะเป็นประโยชน์ โดยเฉพาะประเด็นปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบกับการดำรงชีวิตของประชาชนทั่วโลกเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ โดยส่วนตัวนายชวน หลีกภัย ได้ให้ความสำคัญเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมสนับสนุนการปลูกต้นไม้ยืนต้นมาเป็นเวลานานหลายสิบปี ขณะนี้ต้นไม้ใหญ่ที่ปลูกไว้ในที่ต่างๆได้เจริญเติบโตให้ร่มเงาร่มรื่น อย่างเช่นที่จังหวัดตรังมีต้นไม้ใหญ่เป็นจำนวนมาก ช่วยผลิตอากาศบริสุทธิ์ เคยมีหน่วยงานได้ทำการตรวจวัดคุณภาพอากาศมีรายงานว่า จังหวัดตรังเป็นจังหวัดที่มีคุณภาพอากาศดีในลำดับต้นๆ ของประเทศ สำหรับหัวข้อที่คณะฯ จะได้เข้าร่วมประชุมกับกรรมาธิการการเงิน การคลังฯ สภาผู้แทนราษฎรในวันนี้เกี่ยวกับภาษีคาร์บอน และ ตลาดคาร์บอนเครดิต ซึ่งเกี่ยวกับการปลูกต้นไม้ มีความน่าสนใจและเป็นประโยชน์มาก แต่ด้วยเวลาจำกัด และในช่วงเช้าวันนี้นายชวน หลีกภัย มีภารกิจในการทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมในห้องกระทู้ถามแยกเฉพาะ และการประชุมสภาผู้แทนราษฎร จึงไม่มีโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนกับคณะได้ในช่วงเวลานี้ โดยจะได้ติดตามข้อมูลจากรายงานการประชุมของคณะกรรมาธิการการเงินการคลัง สถาบันการเงิน และตลาดเงิน ซึ่งมี ดร.พิสิษฐ์ ลี้อาธรรม รองประธานคณะกรรมาธิการฯ ซึ่งมาเป็นตัวแทนคณะกรรมาธิการฯ ร่วมต้อนรับคณะผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทยในโอกาสนี้ด้วย ขอให้คณะฯประสบความสำเร็จในการร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการฯ ในวันนี้
การหารือของทั้งสองฝ่ายเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจร่วมกันของหน่วยงานสหประชาชาติเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองที่จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานร่วมกันในประเทศไทย โดยมีคณะผู้แทนจากทีมงานสหประชาชาติในประเทศไทยที่เข้าร่วม ได้แก่ นายสุธีร์ ชาร์มา (Mr. Sudhir Sharma) และ นางซิลเวีย เกียดา (Ms. Silvia Giada) ผู้แทนจากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme : UNEP), นายเยนส์ หราดชินสกี้ (Mr. Jens Radschinski) หัวหน้าศูนย์ความร่วมมือระดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติในกรุงเทพมหานคร (UNFCCC RCC Bangkok), ดร.พิริยะ อุไรวงศ์ (Dr Piriya Uraiwong) ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ United Nations Development Programme : UNDP), นางศุกร์ศิริ แจ่มสุข (Ms. Sooksiri Chamsuk) รองผู้แทนประจำภูมิภาค องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ United Nations Industrial Development Organization : UNIDO), นางริกะ โยโรสุ (Ms. Rika Yorozu) หัวหน้าสำนักงานบริหาร องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ - ยูเนสโก กรุงเทพ ฯ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization : UNESCO), และ ดร.ธมน เล็กปรีชากุล (Dr Thamana Lekprichakul) ผู้แทนสำนักงานผู้ประสานงานสหประชาชาติในประเทศไทย (United Nations Resident Coordinator Office in Thailand : UN RCO Thailand)
อ่านต้นฉบับบนเว็บไซต์รัฐสภา
ชมภาพข่าวเพิ่มที่ลิ้งค์ในภาพ
1 of 5
เรื่อง
17 มกราคม 2023
ฑิตยา บุณยรัตพันธุ์ นักเรียนแพทย์ผู้สร้างสรรค์สุขภาวะทางเพศด้วยการสร้างค่านิยมใหม่
SDGs Youth Panel
เมื่อพูดถึงความรุนแรงทางเพศ หลายคนอาจรู้สึกว่ามันช่างไกลตัว... แต่ที่จริงปัญหานี้เป็นภัยเงียบที่อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด การทำร้ายผู้อื่นไม่ได้มีแค่ทางร่างกาย เพราะการด่าทอ ทำร้ายจิตใจกันด้วยคำพูดทั้งต่อหน้าและบนโลกออนไลน์ ล้วนสร้างบาดแผลให้ผู้ถูกกระทำเหมือนกัน
ความรุนแรงทางเพศเป็นเพียงปัญหาหนึ่ง ในอีกหลายประเด็นทางเพศที่คนจำนวนไม่น้อยรู้สึกอาย หรือหวาดกลัวเกินกว่าที่จะพูดถึง ด้วยค่านิยมเดิม ๆ ที่ทำให้เรื่องเพศเป็นเรื่องต้องห้าม และคนที่ส่งเสียงถึงเรื่องนี้มักถูกตีตราตัดสินจากคนรอบข้าง
ปัน-ฑิตยา บุณยรัตพันธุ์ คือนักเรียนแพทย์ชาวไทยที่เคยเป็นผู้ช่วยระดับภูมิภาคของ SCORA Asia Pacific ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของนักศึกษาแพทย์ผู้สนใจประเด็นทางเพศและมุ่งมั่นที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น โดย SCORA เป็นหน่วยย่อยของ IFMSA (International Federation of Medical Students' Associations) องค์กรนักศึกษาแพทย์ที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุด และมีส่วนผลักดันการแก้ปัญหาสาธรณสุขในโครงการต่าง ๆ จากพลังเยาวชนทั่วโลก
การเป็นนักศึกษาแพทย์ ทำให้ปันได้เรียนรู้ว่าปัญหาสุขภาพของผู้คนไม่ได้มีสาเหตุมาจากร่างกายอย่างเดียว แต่ปัจจัยทางสังคมก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะประเด็นสุขภาพทางเพศ ที่พ่วงมากับมิติทางสังคมเสมอ เช่น การตีตราบาปในเรื่องของการให้บริการทางเพศ เมื่อพูดถึง คนจำนวนมากในสังคมจะมีความรู้สึกลบเป็นอัตโนมัติต่อผู้ให้บริการทางเพศไปแล้ว ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ปัญหายังค้างคาอยู่โดยไม่มีใครพูดถึงและพยายามแก้ไข
นอกจากทำงานกับเครือข่ายเยาวชนทั้งในประเทศและระดับภูมิภาค ทุกวันนี้ปันทำงานกับหลากหลายองค์กรที่นำโดยผู้ใหญ่เพื่อขับเคลื่อนประเด็นทางเพศ เธอร่วมทำวิจัยกับมูลนิธิช่วยเหลือเด็ก ในประเด็นการดูแลสุขภาพของคนข้ามเพศ รวมถึงสุขภาพใจของเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ นอกจากนี้เธอยังเป็นหนึ่งในทีมเยาวชนที่ปรึกษาของสหประชาชาติประเทศไทย (Youth Panel for Sustainable Development Goals : SDGs Youth Panel) เพื่อส่งเสียงไปถึงผู้ใหญ่ในสังคมที่มีอำนาจตัดสินใจและเป็นผู้สร้างนโยบายพัฒนาประเทศ
โดยในเดือนมีนาคมนี้ ปันจะเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยสภาพสตรี (Commission on the Statues of Women) สมัยที่ 67 ที่นครนิวยอร์ก การประชุมนี้เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับการส่งเสริมความความเสมอภาค ในฐานะตัวแทน IFMSA นักศึกษาแพทย์ชาวไทย
นักศึกษาแพทย์วันนี้ คือกำลังสำคัญของการระบบสาธารณสุขในอนาคต และการรักษาอาการป่วยไข้แล้วจบไป ไม่อาจแก้ปัญหาสุขภาพทางเพศได้อย่างยั่งยืน ปันได้ชวนพูดคุยถึงความซับซ้อนและการผลักดันประเด็นทางเพศ ที่เป็นหนึ่งในหัวใจของการสร้างสุขภาพที่ดีให้ผู้คน ตลอดจนพัฒนาระบบสุขภาพที่แข็งแรง
รักษาในทุกด้านความเป็นมนุษย์
เพราะเป็นวัยรุ่นที่สนใจอะไรหลายอย่าง ทั้งชอบวิทยาศาสตร์และรักในงานสร้างสรรค์ ชีวิตวัยมัธยมของปันจึงผ่านการทำกิจกรรมมาหลายรูปแบบ ตั้งแต่วาดรูป เขียนเรื่องสั้น ทำธุรกิจจำลอง ไปจนถึงสร้างงานประดิษฐ์วิศวกรรมการแพทย์ แม้ว่าปันจะมีความสนใจหลากหลาย แต่สุดท้ายแล้วเธอก็เลือกเรียนต่อคณะแพทย์ศาสตร์ เพราะวิชาชีพนี้ ทำให้เธอได้ใช้ศักยภาพและความสนใจทั้งหมดร่วมกันได้อย่างดี
“เราไม่ได้เรียนแค่วิธีรักษาคนไข้อย่างเดียว แต่ยังได้เรียนรู้การปฏิสัมพันธ์กับคนไข้ในมิติต่าง ๆ ด้วย อย่างการรักษาแบบองค์รวม (Holistic Care) ซึ่งแพทย์ต้องเยียวยาคนไข้ผ่านมุมมองในทุกด้านความเป็นมนุษย์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ไม่ได้พิจารณาเฉพาะโรคที่เป็นหรือแค่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย”
“ตั้งแต่ปีหนึ่ง เราได้ลงพื้นที่จริงสำรวจงานด้านสาธารณสุข และประสบการณ์เหล่านั้นก็ทำเข้าใจมากขึ้นว่าการป่วยไข้ของผู้คนมีสาเหตุมาจากปัจจัยทางสังคมไม่มากก็น้อย ปัญหาสุขภาพบางอย่างเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่แก้แค่ตัวคนไข้ไม่ได้ แต่ต้องมองในภาพรวมถึงระดับสังคม”
อย่างที่สถานสงเคราะห์เด็กชุมชนคลองเตย ซึ่งปันและเพื่อนนักศึกษาแพทย์เคยไปลงพื้นที่ เยาวชนบางคนไม่ได้เรียนหนังสือ บางคนมาจากครอบครัวที่ใช้ความรุนแรง ซึ่งปัญหาทางสังคมเหล่านี้นำไปสู่ปัญหาด้านสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นการท้องไม่พร้อม หรือการติดโรคทางเพศสัมพันธ์
ปันเล่าอย่างกระตือรือร้นว่าชีวิตมหาวิทยาลัยเป็นเหมือนโรลเลอร์โคสเตอร์ ที่แม้จะเหนื่อยแต่ก็คุ้มค่า เพราะมีบทเรียนมากมายให้เก็บเกี่ยวทั้งในและนอกห้องเรียน เธอจึงไม่ลังเลที่จะทำกิจกรรมอย่างเต็มที โดยเฉพาะกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เธอได้ทำความเข้าใจประเด็นสุขภาพในมิติทางสังคมมากขึ้น
เรื่องเพศที่ซับซ้อนและอ่อนไหว
สมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์นานาชาติ หรือ IFMSA (International Federation of Medical Students' Associations) คือแหล่งรวมตัวอนาคตคุณหมอที่สนใจการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคม โดยมีเครือข่ายมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก นับเป็นองค์กรของนักศึกษาแพทย์ที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในโลก อย่างในไทย IFMSA Thailand ก็มีสมาชิกนักศึกษาแพทย์จาก 19 สถาบันทั่วประเทศ และแน่นอนปันก็เป็นหนึ่งในนั้น
“IFMSA แบ่งการทำงานออกเป็นหลายส่วน แต่ละประเทศจะผลักดันโครงการต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ประเด็นสาธารณสุข สิทธิมนุษยชน จนถึงสุขภาพทางเพศ ขึ้นอยู่กับความสนใจของนักศึกษาแพทย์แต่ละคน และแม้จะเป็นองค์กรเยาวชน แต่ทุกประเทศก็มีการตั้งเป้าหมายและติดตามความคืบหน้า ทำให้เราได้ศึกษาปัญหาแต่ละประเด็นอย่างจริงจัง”
ปันเล่าว่าเธอสนใจมิติทางสังคมและความเป็นมนุษย์ การลงพื้นที่หลายต่อหลายครั้งทำให้เธอได้เห็นความซับซ้อนของปัญหาสุขภาพทางเพศ อย่างการตีตราบาป (Stigma) ที่พ่วงมากับประเด็นทางเพศเสมอ ลองคิดตามง่าย ๆ เมื่อพูดถึงการให้บริการทางเพศ หรือการทำแท้ง คนจำนวนไม่น้อยในสังคมยังมีความรู้สึกทางลบ และตีตราผู้ให้บริการทางเพศหรือคนทำแท้งอยู่ดี
เธอจึงย้ายมาทำงานให้หน่วยย่อยของ IFMSA ที่ผลักดันเรื่องสุขภาพและสิทธิทางเพศ อนามัยการเจริญพันธุ์ เอชไอวีและเอดส์ อย่าง SCORA (Standing Committee on Sexual & Reproductive Health and Rights Including HIV & AIDS) ซึ่งขอบข่ายการทำงานของหน่วยย่อยนี้ครอบคลุมไปถึงการสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศ การส่งเสริมอนามัยแม่และเด็ก ตลอดจนการยุติความรุนแรงทางเพศด้วยเช่นกัน
นอกจากปันแล้ว ผู้นำเยาวชนในเครือข่าย SDG Youth Panel อีกคนอย่าง เมจิ-ณัฐณิชา มานะบริบูรณ์ ก็เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรนักศึกษาแพทย์แห่งนี้เช่นกัน โดยเนื้องานที่เมจิกำลังผลักดันมุ่งเน้นไปที่การกำหนดนโยบายสาธารณสุขของประเทศไทยในภาพกว้าง ต่างจากปันที่สนใจลงลึกมาที่เรื่องสุขภาพทางเพศ
วิชาชีพที่เป็นมากกว่าแค่อาชีพ
ภัยใกล้ตัวที่หลายคนมองข้าม คือปัญหาความรุนแรงในครอบครัว (Domestic Violence) ที่มีความรุนแรงหลายระดับ ตั้งแต่การด่าว่า ทำร้ายร่างกาย ไปจนถึงการล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งเหยื่อส่วนใหญ่มักปิดปากเงียบไม่กล้าไปแจ้งความ หรือแม้แต่จะเล่าให้ใครฟัง
“SCORA Thailand จึงจัดเสวนาออนไลน์ขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักถึงประเด็นนี้แก่นักศึกษาแทพย์ โดยหนึ่งในวิทยากรคือพี่เบส-บุษยาภา ศรีสมพงษ์ นักกฎหมายที่ก่อตั้ง SHero พื้นที่ให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือทางกฎหมายกับเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว งานเสวนาไม่เพียงแค่มอบแรงบันดาลใจ แต่เรายังได้เห็นตัวอย่างนักขับเคลื่อนสังคมที่ใช้วิชาชีพของตัวเองสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น
“หนึ่งในเคสที่พี่เบสเคยเจอ คือผู้หญิงพม่าที่ย้ายมาอยู่ไทยและโดนสามีต่อยจนฟันหัก แต่ตำรวจที่รับเรื่องกลับหัวเราะที่เธอฟันหลอ กลายเป็นว่าเหยื่อความรุนแรงถูกล้อเลียน แทนที่จะได้รับการช่วยเหลือ ยังไม่นับพฤติกรรมโทษเหยื่อ (Victim Blaming) ของคนในสังคม ที่มักปรักปรำว่าเรื่องเลวร้ายนั้นต้นเหตุมาจากผู้ถูกกระทำเอง ผู้เสียหายจำนวนมากจึงไม่สามารถออกจากวงจรความรุนแรงไปได้”
อย่างไรก็ตาม แม้เหยื่อบางคนจะหลุดพ้นวังวนความรุนแรงมาได้แล้ว แต่การที่พวกเขายังต้องเล่าความบอบช้ำของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ตลอดกระบวนการยุติธรรม คือสิ่งที่จะสร้างบาดแผลทางใจ (Trauma) ระยะยาว ที่อาจต้องใช้เวลานับปีหรือชั่วชีวิตในการเยียวยา “ประเด็นทางเพศเป็นเรื่องที่กระทบใจเรา เพราะมันไม่ใช่แค่สุขภาพทางร่างกาย แต่มีอารมณ์และความเป็นมนุษย์ซ่อนอยู่เสมอ”
ปันเล่าว่าหลังงานเสวนาเรื่องความรุนแรงในครอบครัว SCORA จัดเสวนาออนไลน์อีกหลายครั้ง หนึ่งในนั้นเป็นประเด็นเกี่ยวกับพนักงานบริการทางเพศ ซึ่งหลังจากสถานการณ์โควิดดีขึ้น SCORA ก็ได้พาน้อง ๆ นักศึกษาแพทย์ไปลงพื้นที่ย่านพัฒน์พงศ์ด้วย เมื่อได้ไปสัมผัสชีวิต ได้พูดคุยกับพี่ ๆ พนักงานบริการ เราก็ได้เห็นความเสี่ยงและความยากลำบากในการทำงานของเขา
“ทั้งหมดนี้เพื่อย้อนกลับมาที่คำถามว่า เราสามารถใช้วิชาชีพของเราในฐานะแพทย์ สร้างความเปลี่ยนแปลงให้สังคมดีขึ้นได้ยังไงบ้าง โดยเฉพาะประเด็นทางเพศที่ซับซ้อนและอ่อนไหวกว่าที่หลายคนคิด”
สุขภาพคนรุ่นใหม่ที่ต้องถูกดูแล
ความเจ๋งของ IFMSA คือการมีสมาชิกเป็นนักศึกษาแพทย์จากทั่วโลก โดยทุกคนมีจุดร่วมเดียวกัน นั่นคือแพชชั่นในการแก้ไขปัญหาสังคม “ตอนปีสาม เราได้ไปช่วยจัดงานประชุมระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การได้ไปพูดคุยกับเพื่อน ๆ ประเทศอื่น มันยิ่งสร้างพลังให้เราอยากกลับมาสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ประเทศตัวเอง เพราะเมื่อระบบสุขภาพระดับท้องถิ่นแข็งแรง มันก็จะสร้างความแข็งแกร่งให้สุขภาพระดับภูมิภาคและระดับโลกไปด้วย”
ปันจึงสมัครเข้าเป็นผู้ช่วยระดับภูมิภาคของ SCORA Asia Pacific ตลอดทั้งปีเธอจึงได้ทำหน้าที่ดูแลและติดตามการขับเคลื่อนโครงการต่างๆ ของ SCORA กว่า 20 ประเทศในเอเชียแปซิฟิกรวมถึงไทยด้วย โดยวาระการทำงานของปันเพิ่งจบไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมา
“หลักการของเราคือ Think Globally, Act Locally และมันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ การได้ทำงานในสเกลที่ใหญ่ขึ้นกับนักศึกษาแพทย์หลากหลายเชื้อชาติ ทำให้เราเรียนรู้ว่าแม้จะเป็นปัญหาสุขภาพเดียวกัน แต่ทุกประเทศก็มีบริบทที่ห่อหุ้มปัญหานั้นๆ ไม่เหมือนกัน ซึ่งนำไปสู่การแก้ไขในรูปแบบที่แตกต่างกันไปด้วย”
การทำงานในระดับสากล ทำให้ปันได้พบเพื่อนเครือข่ายอื่นอีกมากมายนอกจากกลุ่มนักศึกษาแพทย์ อย่าง Youth Voices Count เครือข่ายเยาวชนที่สนับสนุนอัตลักษณ์และการแสดงออกทางเพศที่หลากหลาย ซึ่งเธอได้ไปแจมในแคมเปญ QueerXBodies ซีรีย์สัมภาษณ์นักเคลื่อนไหวเยาวชนจากหลายประเทศในเอเชียแปซิฟิก ที่กำลังผลักดันประเด็นทางเพศในมิติ LGBTQIA+
“เราได้ไปทำวิจัยเรื่องการดูแลสุขภาพของคนข้ามเพศ ร่วมกับให้มูลนิธิช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) ซึ่ง เกี่ยวเนื่องมาถึงเรื่องสุขภาพใจของเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย แม้เราจะกันพูดว่าทุกวันนี้สังคมเปิดกว้างต่อความหลากหลายแล้ว แต่เยาวชน LGTQIA+ จำนวนมากมีอาการซึมเศร้าและวิตกกังวล จากการที่ไม่สามารถแสดงออกถึงตัวตนได้อย่างเต็มที่ บางคนถูกบังคับให้เปลี่ยนตัวตนทางเพศ รวมถึงถูกกระทำความรุนแรงจากคนใกล้ตัวและคนแปลกหน้าในสังคม”
การมีส่วนร่วมของเยาวชนที่มีความหมาย
“เพศศึกษาในโรงเรียนเป็นพื้นฐานสำคัญของสุขภาวะทางเพศ เราเคยไปทำงานอาสาสมัครที่สถานสงเคราะห์เด็กกำพร้า ซึ่งสอนเรื่องนี้ให้น้อง ๆ ตั้งแต่ชั้นอนุบาล ส่วนไหนในร่างกายที่เราไปแตะต้องคนอื่นไม่ได้ และคนอื่นก็ไม่ควรมาแตะของเรา อาจฟังเหมือนเรื่องเล็กน้อย แต่จริง ๆ แล้วเป็นพื้นฐานที่ทำให้เยาวชนหนักแน่นในสิทธิเหนือเรือนร่างและการตัดสินใจของตัวเอง ซึ่งถือเป็นสิทธิมนุษยชน หรือความตระหนักเรื่อง LGBTQIA+ ว่าเพศสภาพในโลกใบนี้นั้นมีหลากหลาย ก็ควรปลูกฝังกันตั้งแต่ในโรงเรียนเหมือนกันกัน”
ในอุดมคติ ทุกคนมีสิทธิใช้ชีวิตบนทางที่เลือกอย่างภาคภูมิใจ แต่ในความเป็นจริง สภาพแวดล้อมทางสังคมยังกดทับเด็กและเยาวชนทั่วโลกให้ต้องเดินบนค่านิยมดั้งเดิมของสังคม นำมาสู่ปัญหาต่างๆ อย่างที่คุยกับปันไปทั้งหมด
ในฐานะเยาวชน ปันมองว่าเธอต้องส่งเสียงถึงเรื่องนี้อย่างเต็มที่ เธอจึงเข้าร่วมเป็นคณะที่ปรึกษาเยาวชนให้องค์กรที่นำโดยผู้ใหญ่หลายแห่ง รวมถึงเข้าร่วมเครือข่ายผู้นำเยาวชน SDGs Youth Panel โดยองค์การสหประชาชาติ ประเทศไทย เพื่อแสดงความคิดเห็น ให้เสียงจากเยาวชนไปถึงผู้มีอำนาจตัดสินใจและสร้างนโยบายอย่างจริงจัง
“ช่วงปีที่ผ่านมา เรามีโอกาสได้บอกเล่าจากมุมมองของเยาวชนที่ทำงานเรื่องนี้ในหลายเวที แต่ครั้งที่ตื่นเต้นที่สุด คืองานวันสตรีสากลโดย UNAIDS Asia Pacific หน่วยงานที่ขับเคลื่อนการยุติการติดเชื้อเอชไอวี การเลือกปฏิบัติ และการเสียชีวิตจากโรคเอดส์ เป็นงานที่จุดประกายสุด ๆ เพราะได้พบพี่ ๆ หลายคนจากหลายประเทศที่ทำงานผลักดันเรื่องนี้มายาวนาน
ปันมองว่า หัวใจของการสร้างความเปลี่ยนแปลงคือการมีส่วนร่วมของเยาวชนที่มีความหมาย (Meaningful Youth Engagement) อย่างนักศึกษาแพทย์ที่ในอนาคตจะกลายเป็นกำลังสำคัญของระบบสาธารณสุข การมีส่วนร่วมของพวกเขาในวันนี้ จะนำไปสู่การสร้างระบบสุขภาพที่ดีและสังคมที่ยั่งยืน เพราะสุดท้ายแล้ว ความยั่งยืนในทุกมิติล้วนเชื่อมโยงถึงกัน เมื่อระบบสาธารณสุขแข็งแกร่งและยั่งยืน มันย่อมเชื่อมต่อให้ประเด็นทางสังคมอื่น ๆ พัฒนาไปสู่ความยั่งยืนได้ด้วยเช่นกัน
เรื่อง มิ่งขวัญ รัตนคช, เรียบเรียง รวีกานต์ อมรัชกุล, ภาพ นิรุตติ จารุไพศาลกิจ
Tags: #SDGsYouthPanel #GlobalGoals #Youth2030
1 of 5

เรื่อง
06 ธันวาคม 2022
เมื่อคนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาสร้างนโยบายสุขภาพ ณัฐณิชา มานะบริบูรณ์ นักเรียนแพทย์ผู้ฝันอยากเป็นนักขับเคลื่อน
SDGs Youth Panel
อะไรทำให้เด็กโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ที่กำลังจะเข้าเรียนคณะแพทย์ศาสตร์อย่าง เมจิ-ณัฐณิชา มานะบริบูรณ์ ลงแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิก ทั้งที่เพื่อนคนอื่น ๆ ในโรงเรียนต่างหมายมั่นที่จะเป็นผู้แทนประเทศ ไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการสาขาที่เราคุ้นหูกันอย่างคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา… คำตอบคือ “เพราะภูมิศาสตร์คือพื้นฐานของทุกอย่างบนโลกใบนี้”
ประสบการณ์ระดับนานาชาติครั้งนั้นเปิดประตูให้เธอค้นพบว่า ตัวเองไม่ได้อยากเป็น ‘หมอ’ ที่แค่เยียวยาอาการป่วยไข้ของผู้คน แต่เธออยากเป็น ‘นักขับเคลื่อน’ ที่ทำงานด้านสังคมระดับประเทศและนานาชาติด้วย ดังนั้นเมื่อถึงเวลาเปิดเทอมแรกในฐานะนักเรียนแพทย์ เมจิก็เข้าร่วมสมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์นานาชาติ หรือ IFMSA-Thailand ทันที
IFMSA คือองค์กรของนักศึกษาแพทย์ที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในโลกเพื่อผลักดันการแก้ไขปัญหาสังคมในมิติต่าง ๆ อย่างในประเทศไทย IFMSA-Thailand ก็ประกอบไปด้วยนักศึกษาแพทย์จากทั่วประเทศกว่า 23 สถาบัน ในปีที่ผ่านมาเมจิเป็นรองประธานฝ่ายกิจการนอก ที่พยายามผลักดันให้เยาวชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับการกำหนดนโยบายสาธารณะเกี่ยวกับสุขภาพของประเทศไทย
นอกจากนี้ เมจิยังเป็นนักศึกษาแพทย์ไทยคนแรกที่ได้เข้าร่วมประชุมสมัชชาอนามัยโลก หรือ World Health Assembly ในฐานะตัวแทนของ IFMSA ทำให้มุมมองของเธอที่มีต่อประเด็นสาธารณสุขกว้างขึ้น จากที่ขับเคลื่อนสุขภาพคนในประเทศมาสู่การผลักดันสุขภาพของผู้คนในบริบทโลก เพราะโรคภัยนั้นแพร่กระจายถึงกันได้หมดไม่จำกัดแค่ในประเทศใดประเทศหนึ่ง
ชีวิตของเมจิเป็นเหมือนชิ้นจิ๊กซอว์ที่ต้องนำมาต่อกัน จึงจะเห็นความเชื่อมโยงของความแพชชั่นด้านต่าง ๆ ที่หลอมรวมเป็นตัวเธอภาพใหญ่ โดยจิ๊กซอว์ชีวิตชิ้นล่าสุดของเมจิคือการเข้าร่วมในทีมเยาวชนที่ปรึกษาของสหประชาชาติประเทศไทย SDGs Youth Panel เพื่อผลักดันการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทยผ่านความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่
“ภูมิศาสตร์คือพื้นฐานของทุกอย่างบนโลก เช่นเดียวกับสุขภาพที่เป็นพื้นฐานของความเป็นอยู่ที่ดี และเป็นรากฐานของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 ข้อ” ถ้าคุณอยากรู้ว่าเมจิผสมผสานความสนใจด้านภูมิศาสตร์ในวัยมัธยม เข้ากับทักษะด้านสุขภาพในฐานะนักศึกษาแพทย์ ให้กลายเป็นแพชชั่นในการพัฒนาสังคมและระบบสาธารณสุขได้อย่างไร เราชวนคุณหาคำตอบผ่านเรื่องราวของเยาวชนนักขับเคลื่อนคนนี้ไปพร้อมกัน
เด็กวิทย์ผู้หลงรักภูมิศาสตร์
เมจิเล่าอย่างตื่นเต้นถึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้เด็กสายวิทย์อย่างเธอหลงใหลในภูมิศาสตร์ว่า “ภูมิศาสตร์คือพื้นฐานของทุกอย่างบนโลกใบนี้ ตั้งแต่วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง ไปจนถึงการใช้ชีวิตของผู้คน มันเป็นศาสตร์ที่ ว้าว มาก เราอยากให้เพื่อน ๆ ทุกคนได้รู้ว่ามันลึกซึ้งกว่าแค่ชื่อเทือกเขา เอาแค่การทอดไข่ ออมเล็ทแบบตะวันตกเป็นแบบหนึ่ง ในขณะที่บ้านเราก็มีไข่เจียวแบบไทย ๆ อาหารจานนี้บอกรายละเอียดเกี่ยวกับภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ลักษณะทางกายภาพของภูมิภาคเอาไว้ พื้นที่นี้ร้อนหนาวแค่ไหน เพาะปลูกอะไรได้บ้าง ทั้งหมดหลอมรวมเป็นสังคมที่กลายเป็นประเทศ ๆ หนึ่ง”
ในขณะที่เพื่อนรอบตัวทยอยเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกวิชาการสายวิทย์-คณิต เมจิไม่ลังเลที่จะสมัครเข้าเป็นผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิก ซึ่งเธอบอกเราว่าประสบการณ์แข่งขันระดับนานาชาติในครั้งนั้น เปิดประตูให้เธอเห็นโลกกว้างในมุมมองที่เปลี่ยนไป
“หลายคนเข้าใจว่าการแข่งขันจะฟาดฟันกันสุดฤทธิ์ แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่เลย สิ่งที่ผู้แทนแต่ละประเทศมีเหมือนกันคือความใคร่รู้และความขี้สงสัย ทุกคนเลยเดินเข้าหากันตลอดเวลา เพราะบางเรื่องอ่านในหนังสือมานาน เราอยากรู้ว่าวัฒนธรรมประเทศคุณเป็นแบบนี้จริงไหม ก็เข้าไปชวนคุยเลย ความรู้สึกตอนนั้นคือเหมือนได้ออกจากขวดน้ำไปสู่ท้องทะเลที่ใหญ่มาก ๆ เราค้นพบว่าตัวเองชอบความนานาชาติ อินกับความหลากหลายของสังคมและวัฒนธรรม”
การแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิกยังทำให้เมจิได้ทำความรู้จักสิ่งที่เรียกว่าสหประชาชาติจำลอง หรือ Model UN ซึ่งเยาวชนจะได้ฝึกการแสดงความคิดเห็นและเจรจาผ่านการสวมบทบาทเป็นผู้ร่วมประชุมสหประชาชาติ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำประเทศ นักการทูต หรือตัวแทนหน่วยงาน ที่สนุกคือใครได้รับบทบาทไหน ก็ต้องทำการรีเสิร์ชข้อมูลให้แน่นที่สุด เพื่อแสดงทัศนคติเกี่ยวกับประเด็นทางสังคมนั้น ๆ ได้อย่างสมจริงที่สุดนั่นเอง
“สมมติเราจำลองการหารือเรื่องสิทธิสตรี คนที่รับบทผู้นำแต่ละประเทศก็ต้องไปหาข้อมูลมาว่าประเทศนั้น ๆ มี การดำเนินการและนโยบายเกี่ยวกับประเด็นนี้อย่างไร ถ้าต้องพูดบนเวทีโลก จะต้องแสดงท่าทีไปในทิศทางไหน โอ้โฮ ประทับใจมาก พอกลับมาถึงเมืองไทย เราไม่รอช้าตั้งชมรม Model UN กับเพื่อนเลย ซึ่งก็น่าจะเป็นครั้งแรกที่มีสิ่งนี้เกิดขึ้นในโรงเรียนไทย ปกติจะมีแค่ในโรงเรียนนานาชาติ”
เมื่อแพทย์เป็นนักขับเคลื่อนสังคม
แม้เมจิจะสนใจภูมิศาสตร์ และมีโอกาสได้ทุนศึกษาต่อด้านนี้จากการเป็นผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ แต่ท้ายที่สุด หลังจบชั้นมัธยมปลาย เธอก็เลือกเข้าเรียนคณะแพทย์ศาสตร์ ตามความฝันและความตั้งใจเดิมที่อยากจะเป็นแพทย์
อย่างไรก็ตาม ความรู้ทางภูมิศาสตร์ที่เปิดประตูให้เมจิเข้าใจโลกมากขึ้น ทำให้เธอไม่ได้อยากเป็นแค่ ‘หมอ’ อีกต่อไป แต่อยากทำงานเชิงสังคมด้วย “เราไม่อยากเข้าคณะแพทย์มาเพื่อเรียนหมออย่างเดียว ดังนั้นเราจึงเริ่มหาช่องทางทำงานด้านสังคมทันทีที่เปิดภาคเรียน และสิ่งแรกที่เจอก็คือสมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์นานาชาติ ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของนักศึกษาแพทย์เพื่อผลักดันการแก้ไขปัญหาสังคมในมิติต่างๆ ตั้งแต่สาธารณสุขไปจนถึงสิทธิมนุษยชน”
สมาพันธ์นี้เรียกกันสั้น ๆ ว่า IFMSA (International Federation of Medical Students’ Associations) ถือเป็นองค์กรของนักศึกษาแพทย์ที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในโลก ซึ่งในปัจจุบันมีประเทศสมาชิกอยู่มากกว่า 100 ประเทศ และไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น เมจิอธิบายต่อว่า IFMSA-Thailand ประกอบไปด้วยเพื่อน ๆ นักศึกษาแพทย์จาก 23 สถาบันทั่วประเทศ
“การได้เจอเพื่อน ๆ จากหลายสถาบัน ทำให้ค้นพบว่าเราไม่ใช่อินเรื่องนี้อยู่คนเดียว ยังมีนักศึกษาแพทย์รุ่นใหม่อีกมากมายที่สนใจการพัฒนาสังคมเหมือนกัน เราได้เห็นพลังของความหลากหลาย เมื่อมีเครือข่ายคนจากทั่วประเทศ การขับเคลื่อนบางอย่างทำได้ง่ายและรวดเร็วกว่าเดิมมาก เพราะแต่ละสถาบันก็มีความเชี่ยวชาญและองค์ความรู้ที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถนำมาแลกเปลี่ยนกันได้”
เมจิอธิบายว่า IFMSA-Thailand เพิ่มโอกาสให้ได้ทำงานร่วมกับองค์กรขับเคลื่อนนโยบายด้านสุขภาพในไทย เช่นสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ องค์กรหลักที่ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะของไทยมาตลอด โดยโปรเจกต์ที่เธอภูมิใจเป็นพิเศษคือการผลักดันให้เกิด Thailand Youth Policy Initiativeการแข่งขัน Hackathon ระดมความคิดและสร้างนโยบายสาธารณะจากมุมมองเยาวชน เพื่อส่งเสียงและนวัตกรรมไอเดียของคนรุ่นใหม่ไปสู่ภาครัฐ
“จริง ๆ วัยรุ่นไทยมีไอเดียน่าสนใจเยอะมาก แต่ที่ผ่านมาเราขาดสะพานเชื่อมไอเดียเหล่านั้นไปยังผู้กำหนดนโยบายสำหรับใช้งานจริง Hackathon ปีแรกเป็นหัวข้อเกี่ยวกับการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ส่วนปีนี้เป็นหัวข้อสังคมผู้สูงวัย ซึ่งไอเดียของแต่ละทีมที่ส่งเข้ามาก็เจ๋ง ๆ ทั้งนั้น เราจึงหวังว่าภาครัฐรวมถึงผู้ใหญ่ในหน่วยงานต่าง ๆ จะเห็นความสามารถและความตั้งใจจริงของคนรุ่นใหม่ที่พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนประเทศ
เมจิอธิบายอย่างกระตือรือร้นถึงนโยบาย Med for All ของทีมชนะเลิศปีนี้ ที่เสนอให้มีการหมุนเวียนเครื่องมือแพทย์ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงอุปกรณ์รุ่นใหม่ทันสมัยได้ ไม่ถูกจำกัดอยู่แค่ในสถานพยาบาลใหญ่ในกรุงเทพฯ ในขณะที่ทีมรองชนะเลิศเสนอแอปพลิเคชัน ‘มีดี’ เพื่อส่งเสริมนโยบายสร้างคุณค่าให้ผู้สูงอายุ เพราะอุปสรรคของผู้สูงวัยไม่ใช่แค่ความแก่ชราด้านร่างกาย แต่ยังมีด้านจิตใจที่พวกท่านอาจรู้สึกหมดคุณค่าในตัวเองซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตเรื้อรังได้
เมจิบอกว่าหมุดหมายที่ทีม IFMSA-Thailand จะพยายามเดินหน้าต่อไป คือการติดตามความคืบหน้าของไอเดียนโยบายต่าง ๆ จากการแข่งขัน Thailand Youth Policy Initiative ที่หน่วยงานภาครัฐรับปากว่าจะนำไปพิจารณาต่อ เพื่อให้แน่ใจว่าแนวคิดดี ๆ เหล่านั้นจะถูกนำไปประยุกต์ใช้จริงไม่มากก็น้อย
ร่มคันใหญ่ที่ครอบคลุมโลกทั้งใบ
“อย่างที่เล่าถึง Model UN ซึ่งเป็นการจำลองการประชุมสหประชาชาติ พอเข้ามาร่วม IFMSA-Thailandเราก็ยังจัดกิจกรรมนี้อยู่ แต่จำลองให้เป็นการประชุมขององค์กรอนามัยโลก (WHO) แทน เพื่อเน้นน้ำหนักไปที่เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ อย่างครั้งหนึ่งเรายกประเด็นเรื่องความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ลี้ภัยขึ้นมาเป็นหัวข้อ”
ในฐานะกระบวนกรที่ชื่นชอบกิจกรรมนี้ถึงขั้นตั้งชมรมสมัยมัธยมปลาย เมจิคิดเสมอว่าอยากไปเห็นการหารือของจริงที่มีตัวแทนจากหลากหลายประเทศมาเข้าร่วม ดังนั้น 2 ปีที่ผ่านมา เธอจึงสมัครเข้าเป็นเครือข่ายของ IFMSA ระดับนานาชาติ และเป็นนักศึกษาแพทย์ไทยคนแรกที่ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้แทนไปเข้าร่วมการประชุมสมัชชาอนามัยโลก หรือ World Health Assembly หนึ่งในวาระแห่งปีที่สำคัญที่สุดของคนในแวดวงสาธารณสุข
“การได้เป็นส่วนเล็ก ๆ ของประชุมสมัชชาอนามัยโลกเปิดมุมมองของเราที่มีต่อสุขภาพโลกหรือ Global Health ซึ่งหมายถึงสุขภาพของผู้คนในบริบทโลก เพราะปัญหาสุขภาพทุกวันนี้เชื่อมโยงข้ามพรมแดนกันอย่างซับซ้อน เราจึงต้องมองปัญหานั้น ๆ ในมุมมองที่กว้างขึ้น ไม่จำกัดอยู่แค่ในประเทศใดประเทศหนึ่ง”
โดยปีแรกเมจิเป็นหนึ่งใน 50 ผู้แทนเยาวชนจากทั่วโลก และปีต่อมาได้รับเลือกให้เป็นที่ปรึกษาของคณะผู้แทนจากทวีปเอเชีย ซึ่งกว่าจะฝ่าด่านการสัมภาษณ์สุดโหดไปเป็น 1 ใน 7 ตัวจริงได้ ก็นับว่าหินไม่น้อย เมจิเล่าต่อว่าตลอดงานสองสัปดาห์ที่เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เธอได้เจอกับฮีโร่ด้านสุภาพที่ชื่นชม ได้เห็นการขับเคลื่อนงานขององค์กรต่าง ๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ยิ่งตอกย้ำให้มั่นใจว่าเธอชอบการทำงานขับเคลื่อนสาธารณสุขในมิตินานาชาติที่มองสุขภาพข้ามเขตแดนระหว่างประเทศ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าประสบการณ์ต่างๆ ที่เธอเก็บเกี่ยว จะสามารถนำมาใช้พัฒนานโยบายต่าง ๆ ในประเทศไทยได้
เมื่อทุกนโยบาย ต้องห่วงใยสุขภาพ
ภูมิศาสตร์คือพื้นฐานของทุกอย่างบนโลก เช่นเดียวกับสุขภาพที่เป็นพื้นฐานของความเป็นอยู่ที่ดีหรือWell-Being ทุกวันนี้นักขับเคลื่อนสาธารณสุขจึงให้ความสำคัญกับแนวคิดทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ หรือ Health in All Policies ซึ่งเป็นกรอบการทำงานที่ส่งเสริมให้การพัฒนาสังคมทุกด้านวางเป้าหมายด้านสุขภาพเป็นหัวใจสำคัญ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจะเกิดขึ้นอย่างยั่งยืนไม่ได้เลย หากปัจจัยพื้นฐานอย่างสุขภาวะของผู้คนในประเทศยังไม่มั่นคง
“แนวคิดนี้อาจยังไม่คุ้นหูคนทั่วไปนัก แต่ในประเทศไทย พี่ ๆ กระทรวงสาธารณสุขกำลังผลักดันเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง อย่างการจัดสมัชชากรุงเทพฯ เวทีพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมที่พยายามบูรณาการให้ภาคส่วนต่าง ๆ ตั้งโจทย์ในการสร้างเมืองสุขภาวะไม่เฉพาะกับผู้อยู่อาศัยในเมืองเท่านั้น แต่รวมถึงนักท่องเที่ยวและทุกคนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดด้วย”
เมจิเคยเป็นอาสาสมัครจัดงาน TEDx ซึ่งประสบการณ์ครั้งนั้นทำให้เธอได้พบเจอและพูดคุยกับคนจากหลากหลายที่มาซึ่งสนใจปัญหาสังคมเหมือนกัน ส่งผลให้มุมมองของเธอต่อปัญหามิติอื่น ๆ ถูกขยายกว้างขึ้น นอกจากนี้มันยังช่วยต่อจิ๊กซอว์ความเข้าใจเรื่อง Health in All Policies ว่าทุกปัญหาล้วนโยงกลับมาสู่พื้นฐานด้านสุขภาพจริง ๆ
“ปัญหาบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อปลูกพืชเชิงเดี่ยวอย่างเช่นข้าวโพด เป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่คุกคามความหลากหลายทางชีวภาพ แต่ในขณะเดียวกันทุกปีหลังฤดูเก็บเกี่ยว ซากข้าวโพดมหาศาลจะถูกเผาทิ้ง และนั่นคือสาเหตุของ PM2.5 ซึ่งเป็นปัญหาด้านสุขภาพ หรือถ้าจะมองในด้านความเท่าเทียม (Equality) และความเสมอภาค (Equity) ของคนในสังคม จริงๆ PM2.5 อาจไม่ได้กระทบสุขภาพคนรวยเท่าคนจน เพราะคนรวยสามารถซื้อเครื่องกรองอากาศหรืออุปกรณ์ราคาแพงๆ ได้ แต่กับคนยากจน แค่จะซื้อหน้ากากมาใส่ก็นับว่ายากลำบากแล้ว”
ระบบดี เริ่มต้นที่การวางรากฐาน
เมจิกำลังจะขึ้นชั้นปีที่ 6 ปีสุดท้ายซึ่งนับเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของเหล่านักศึกษาแพทย์ “เราทำงานกับ IFMSA Thailand มาตั้งแต่เข้าปีหนึ่ง จนวันนี้เพื่อน ๆ รุ่นเดียวกันกำลังเตรียมส่งต่องานให้น้องรุ่นต่อไป แม้จะเป็นแค่องค์กรเยาวชน แต่พวกเราก็พยายามอย่างมากที่จะทำให้การเปลี่ยนผ่านเกิดขึ้นอย่างราบรื่น เพื่อให้โปรเจกต์ต่าง ๆ สามารถดำเนินต่อไปได้โดยไม่สะดุด
“ทำให้ย้อนกลับมาคิดว่า แล้วสังคมของเรามีการเตรียมความพร้อมให้เยาวชนหรือยังนะ เพราะในท้ายที่สุดเยาวชนวันนี้ก็จะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่บริหารและพัฒนาประเทศในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ระบบที่มีประสิทธิภาพไม่ได้เกิดขึ้นในปีสองปี แต่เราเชื่อว่ามันต้องใช้เวลาวางรากฐานกันเป็นเจเนอเรชั่น คนรุ่นเราได้รับโอกาสเพื่อเตรียมพร้อมแค่ไหนที่จะก้าวไปสู่จุดนั้นในอนาคต”
เมจิเล่าว่าการมีเพื่อนนักขับเคลื่อนจากทั่วโลก ทำให้เธอได้เห็นว่าบางประเทศนั้นรับฟังความคิดเห็นของเยาวชนอย่างเคารพและให้คุณค่าจริง ๆ ไม่เฉพาะแค่ในหน้าแถลงข่าว และเธอได้เห็นแล้วว่าความร่วมมือของคนรุ่นใหม่และผู้ใหญ่ในสังคมกำลังปรากฏชัดขึ้นทั้งในระดับชาติและท้องถิ่นของบ้านเรา อย่างการเกิดขึ้นของเครือข่าย SDGs Youth Panel ที่เมจิและทีมเยาวชนที่ปรึกษาสหประชาชาติประเทศไทยหลายคนได้มารวมตัวกันเพื่อส่งความคิดเห็นเกี่ยวกับระโยบายด้านความยั่งยืนไปให้ผู้นำประเทศใช้พิจารณาจริง ๆ
แม้ทุกวันนี้ เมจิจะต่อจิ๊กซอว์ชิ้นต่าง ๆ เข้าด้วยกันจนเห็นภาพชัดเจนแล้วว่าแพชชั่นของเธอคืออะไร แต่ภาพ ๆ นี้สามารถขยายออกไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เช่นเดียวกับการทำงานขับเคลื่อนให้เยาวชนยิ่งมีส่วนร่วมในการออกสิทธิ์ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ได้มากขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมพลังบวกและความเชื่อมั่นที่จะร่วมขับเคลื่อนประเทศไปพร้อมกับคนทุกรุ่นในสังคม
เรื่อง มิ่งขวัญ รัตนคช, เรียบเรียง รวีกานต์ อมรัชกุล, ภาพ นิรุตติ จารุไพศาลกิจ
Tags: #SDGsYouthPanel #GlobalGoals #Youth2030
1 of 5

เรื่อง
16 พฤศจิกายน 2022
วงล้อวีลแชร์ ธันย์-ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ ผู้ใช้พลังบวกเชื่อมโยง อาชีพและโอกาสไปยังผู้พิการ ให้ก้าวต่อไปให้ไกลกว่าเดิม
SDGs Youth Panel
ตลอดการสนทนากับ ธันย์-ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ เธอย้ำว่าตัวเองโชคดีหลายครั้ง แม้แต่อุบัติเหตุไม่คาดฝันเมื่อ 14 ปีก่อน ที่ทำให้เธอต้องสูญเสียขาทั้งสองข้างไปตลอดชีวิต ธันย์ก็มองว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่ตัวเองได้เรียนรู้อะไรมากมาย ซึ่งหล่อหลอมให้เธอเป็นเธออย่างทุกวันนี้
จากที่เดินได้อย่างคนทั่วไป ธันย์เรียนรู้การใช้ชีวิตกับวีลแชร์และขาเทียม อวัยวะใหม่ที่พาเธอเดินบนเส้นทางสายใหม่ การมองโลกผ่านเลนส์ Solution-Based ทำให้ธันย์เป็น ‘สาวน้อยคิดบวก’ อย่างที่ใครต่อใครเรียกกัน เธอไม่เพียงแบ่งปันเรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจให้คนมาแล้วมากมาย แต่ยังเป็นนักรณรงค์ที่ทำงานขับเคลื่อนเรื่องคนพิการอย่างแข็งขันตลอดหลายปีที่ผ่านมา
เธอเคยทำงานร่วมกับองค์กรนานาชาติอย่าง Leonard Cheshire เพื่อเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการจ้างงานเยาวชนพิการอย่างเป็นธรรม และการสร้างสรรค์พื้นที่ซึ่งโอบรับคนทุกรูปแบบให้ทำงานได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน นอกจากนี้ ธันย์ยังเป็นหนึ่งในเครือข่ายผู้นำเยาวชน SDGs Youth Panel ที่กำลังร่วมกันระดมความคิดเห็นว่า การพัฒนาประเทศไทยควรเดินหน้าไปทางไหนในมุมมองคนรุ่นใหม่ และส่งต่อความคิดเห็นเหล่านั้นไปยังผู้นำรุ่นใหญ่
ธันย์บอกว่าความโชคดีที่สุดในความโชคร้ายที่สุดของเธอ คือการสูญเสียขาไปในยุคที่การรณรงค์เรื่องคนพิการในไทยเริ่มผลิบานขึ้น จากการหว่านเมล็ดโดยรุ่นพี่คนพิการในอดีต
“เราโตมาในยุคที่ห้างสรรพสินค้ามีห้องน้ำและที่จอดรถสำหรับวีลแชร์ สถาปัตยกรรมใหม่ ๆ อยู่ในควบคุมของกฎหมายอาคารที่ระบุว่าต้องมีทางลาด ผู้คนเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของแนวคิดการออกแบบเพื่อมวลชน (Universal Design) เพื่อให้พื้นที่เป็นมิตรกับผู้ใช้บริการทุกรูปแบบ ทั้งหมดนี้คือดอกผลจากการผลักดันอย่างเข้มข้นโดยพี่ ๆ รุ่นก่อน”
อ่านถึงตรงนี้ อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่าธันย์เป็นสายเนิร์ดวิชาการ เพราะจริง ๆ แล้ว เธอใช้ชีวิตเต็มที่กับทุกด้าน บินรอบโลก ดำน้ำ วิ่งมาราธอน และนี่คือเรื่องของธันย์ กับการเดินทางเพื่อความเท่าเทียม เพราะเชื่อว่าชีวิตเราเป็นโอกาสมากกว่าอุปสรรค
ชีวิตบทใหม่กับอวัยวะคู่ใหม่
ธันย์เริ่มเล่าถึงตัวเองในวัยเด็ก ว่าเธอเติบโตอย่างเรียบง่ายและอยู่ในเซฟโซนมาตลอดชีวิต จุดเปลี่ยนที่ใหญ่ที่สุดของเด็กหญิงวัย 14 จากจังหวัดตรังคนนี้ คือการตัดสินใจไปเรียนพิเศษช่วงปิดเทอมใหญ่ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งถ้าทุกอย่างไปได้ดี ครอบครัวก็มีแผนจะส่งธันย์เรียนมัธยมปลายต่อที่นั่นไปเลยในอนาคต
"ตอนอยู่สิงคโปร์ เราได้เรียนรู้ที่จะดูแลตัวเอง ทั้งเรื่องการเรียนและการใช้ชีวิต ซึ่งก็ใช้เวลาสักพักกว่าเราจะรู้สึกคุ้นเคยกับสิ่งต่าง ๆ เรารู้ว่าจะเดินทางไปไหนมาไหนอย่างไร ใครมาสิงคโปร์ เราสามารถพาไปเที่ยวได้ ทุกอย่างราบรื่นมาก และอย่างที่รู้กันว่าสิงคโปร์ก็เป็นประเทศที่ปลอดภัย เราเลยไม่ได้คิดว่าวันหนึ่งจะเกิดอะไรขึ้น"
"จนกระทั่งสัปดาห์สุดท้ายก่อนกลับเมืองไทย ระหว่างที่เรากำลังรอรถไฟ ตอนนั้นคนเบียดเสียดกันในจังหวะที่รถกำลังแล่นเข้าสู่ชานชาลา ด้วยความที่เราตัวเล็ก จึงถูกเบียดตกลงไปบริเวณราง ด้วยความฉุกละหุก รถหยุดไม่ทันและคนก็ลงไปช่วยไม่ทันเช่นกัน สุดท้ายอุบัติเหตุครั้งนั้นทำให้เราสูญเสียขาทั้งสองข้างไป"
ธันย์พูดถึงเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่เกิดขึ้นว่า “ในความโชคร้าย ก็ยังมีความโชคดี เพราะตอนนั้นเราสะพายเป้ที่ทั้งหนาและใหญ่ ทำให้แม้จะตกลงไปหลังกระแทกกับรางเหล็ก แต่ก็ไม่ได้รับบาดเจ็บในส่วนที่กระทบต่อระบบประสาท อุบัติเหตุทำให้เราสูญเสียอวัยวะอย่างเดียว ไม่ได้มีผลแทรกซ้อนด้านสุขภาพที่ต้องทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง”
ธันย์เล่าว่าการพักฟื้นอยู่ในห้องปลอดเชื้อนานหลายเดือน ทำให้เธอได้ตกตะกอนความคิดเกี่ยวกับชีวิตที่จะเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาลนับจากนี้ แผนต่าง ๆ ที่เคยวาดฝันไว้ต้องพับเก็บไปก่อน สิ่งที่เร่งด่วนกว่าคือการเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตกับอวัยวะคู่ใหม่อย่างขาเทียมและวีลแชร์
“มันส่งผลกระทบกับทุกอย่างในชีวิต ตั้งแต่เรื่องเล็กใกล้ตัวอย่างการเข้าห้องน้ำ ก็ต้องมาหัดทำธุระต่าง ๆ ด้วยรูปแบบใหม่ทั้งหมด ไปจนถึงเรื่องใหญ่และแผนระยะยาวอย่างการเรียนหนังสือ ถ้าเดินไปเข้าชั้นเรียนอย่างเดิมไม่ได้แล้ว ต้องทำอย่างไรต่อ แม้แต่อาชีพในฝันที่เราอยากเป็น ด้วยข้อจำกัดใหม่ของชีวิต ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปโดยปริยาย”
เครือข่ายที่เติบโตเหมือนต้นไม้
ธันย์เล่าพร้อมรอยยิ้มว่าเธอมักมองสิ่งต่าง ๆ ผ่านเลนส์ Solution-Based อธิบายให้เห็นภาพก็คือ แทนที่จะจดจ่ออยู่กับปัญหา เธอเลือกเอาวิธีแก้ปัญหาเป็นที่ตั้งนั่นเอง “แทนที่จะจดจ่ออยู่กับการตอกย้ำตัวเองว่านับจากนี้ฉันคงไปไหนไม่ได้อีกแล้ว เราเลือกที่จะมองว่า สถานที่ไหนบ้างที่เราจะเข็นวีลแชร์ไปได้ เมื่อได้จุดหมายแล้ว ขั้นต่อไปก็ลุยเลย”
“คนจำนวนไม่น้อยมองว่าคนพิการนั้นไร้ศักยภาพ ทั้งที่จริงแล้วไม่ใช่อย่างสิ้นเชิง ความพิการแค่ทำให้ขาดโอกาสรวมถึงช่องทางที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ตามรูปแบบของคนทั่วไปเท่านั้น”
ช่วงที่ธันย์เพิ่งหัดใช้วีลแชร์และยังไม่คล่องแคล่ว เธอคิดอยู่ตลอดว่าถ้าเข็นรถไปเจอบันได ก็ต้องออกปากขอความช่วยเหลือให้คนมาช่วยกันยกรถลงบันได จนกระทั่งเจอเพื่อนคนพิการที่ชำนาญการใช้วีลแชร์คนหนึ่ง “ไม่ต้องให้ใครช่วย ลองทางอื่นก่อน” เขาบอกแบบนั้น ธันย์จึงเข้าใจว่าจริง ๆ แล้วยังมีเส้นทางอื่นอีกที่ชาววีลแชร์จะสามารถเข็นรถได้โดยไม่ต้องผ่านบันได อาจจะต้องอ้อมไกล หรือใช้เวลานานกว่าสักหน่อย แต่ก็ถึงจุดหมายเหมือนกัน
“ก่อนหน้านี้ เราไม่มีความรู้ความเข้าใจใด ๆ เกี่ยวกับคนพิการเลย เคยเป็นคนปกติที่รู้สึกเห็นใจและมองว่าพวกเขาน่าสงสาร ทำให้ตอนนี้ที่เราเป็นคนพิการเอง เราเข้าใจในมุมมองของคนทั่วไปนะ ว่าที่คิดแบบนั้นอาจเพราะไม่เคยได้ใกล้ชิดหรือคลุกคลีกับคนพิการมาก่อน การอยู่กับความพิการ ทำให้เราสนใจนวัตกรรมใหม่ ๆ เกี่ยวกับมนุษย์ ยิ่งศึกษามาก ก็ยิ่งเปิดโลกให้เราเห็นว่า ทุกวันนี้คนพิการสามารถทำอะไรได้มากมาย”
เมื่ออาการเริ่มทรงตัว ธันย์ก็เริ่มไปศูนย์ฝึกที่รวมคนพิการทุกรูปแบบเข้าไว้ด้วยกัน และที่นั่น เธอได้ทำความรู้จักโลกอีกใบของคนพิการ “เราไม่ได้พุ่งตัวเข้าหาองค์กรเพื่อคนพิการทันทีหลังเกิดอุบัติเหตุ เพราะเราไม่รู้จักใคร องค์กรเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์มากหรือผ่านความพิการมายาวนานกว่าสิบปี และที่สำคัญคือเราไม่รู้ช่องทาง เนื่องจากเครือข่ายมักเป็นลักษณะที่บอกกันปากต่อปาก การเข้าร่วมผลักดันเรื่องคนพิการในมิติต่าง ๆ ของเราจึงเหมือนการปลูกต้นไม้ที่ค่อย ๆ เติบโตตามกาลเวลา”
แม้ในชีวิตประจำวัน ธันย์จะเรียนหนังสือในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยร่วมกับคนทั่วไป แต่เธอก็เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยองค์กรเพื่อคนพิการเป็นประจำทุกปีไม่เคยขาด จากที่รู้จักพี่ ๆ น้อง ๆ คนพิการแค่กลุ่มเดียว ก็ขยายกลายเป็นเครือข่าย และต่อมา จากที่รู้จักเฉพาะเครือข่ายคนพิการชาวไทย ธันย์ก็เริ่มอยากรู้จักคนพิการชาติอื่น ๆ ด้วย เพราะสงสัยว่าชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนสิทธิของคนพิการในประเทศอื่น ๆ เป็นอย่างไร
แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
ช่วงเข้ามหาวิทยาลัย ธันย์เห็นประกาศรับสมัครเยาวชนไปดูงานเกี่ยวกับคนพิการที่ประเทศเกาหลี เธอไม่รอช้ารีบสมัครเข้าร่วมทันที โดยความท้าทายของการไปต่างแดนครั้งนี้ไม่ได้อยู่ที่การเดินทางด้วยขาเทียมหรือวีลแชร์ แต่อยู่ที่การสื่อสารมากกว่า เพราะเยาวชนจากทั้ง 10 ประเทศ ต่างก็มาจากทวีปเอเชียที่มีภาษาท้องถิ่นของตัวเอง และพูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง แต่ถึงอย่างนั้นทุกคนก็พยายามสื่อสารกันอย่างสนุกสนานเต็มที่
ธันย์เล่าอย่างตื่นเต้นว่า “เป็นเวลาสองอาทิตย์ที่ล้ำค่าและเปิดโลกเกี่ยวกับคนพิการให้เรามาก เพราะได้เห็นสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายทั้งแต่ลิฟต์ ทางลาด ไปจนถึงห้องพักที่ออกแบบมาเพื่อคนพิการโดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังได้ฟังประวัติการต่อสู้เพื่อสิทธิต่าง ๆ ของคนพิการเกาหลี ทำให้เราเห็นที่มาที่ไปว่ากว่าเขาจะมีสิ่งที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตขนาดนี้ ก็ผ่านกระบวนการต่าง ๆ มาไม่น้อยเหมือนกัน”
ยิ่งโตขึ้น การเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิของธันย์ก็ยิ่งจริงจังขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเธอเข้าร่วมกับองค์กรสนับสนุนการใช้ชีวิตของคนพิการที่ก่อตั้งในสหราชอาณาจักรและปัจจุบันดำเนินการอยู่ทั่วโลกอย่างเลียวนาร์ด เชสเชียร์ (Leonard Cheshire) โดยประเด็นที่ได้รับการผลักดันมากในไทยคือเรื่องการจ้างงาน ธันย์เป็นหนึ่งในตัวแทนที่ร่วมนำเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพเยาวชนพิการ รวมถึงข้อปรับปรุงที่บริษัทต่าง ๆ ในไทยควรนำไปพิจารณาปรับเปลี่ยน เพื่อให้เยาวชนพิการเข้าถึงการจ้างงานได้อย่างเป็นธรรม (Access to Decent Work) รวมถึงสามารถทำงานในสถานประกอบการนั้น ๆ ได้อย่างมีความสุข
“แนวคิดเกี่ยวกับคนพิการของเราเริ่มชัดเจนขึ้นช่วงที่ได้ทำงานกับองค์กรนานาชาติ ได้แลกเปลี่ยนมุมมองกับคนหลากหลาย ได้เห็นตัวอย่างการผลักดันที่ประเทศก็มีส่วนที่มุ่งเน้นแตกต่างกันไป ตั้งแต่เกาหลีที่ใส่ใจทุกรายละเอียดของการออกแบบพื้นที่เมือง จนถึงสหราชอาณาจักรที่ผลักดันเรื่องนี้มายาวนานจนไม่ต้องพูดถึงเรื่องทางกายภาพแล้ว แต่เน้นที่การจ้างงาน การพัฒนาต่อยอดให้คนพิการไปได้ไกลยิ่งขึ้น”
นี่คือหนึ่งในเหตุผลที่ธันย์เลือกเรียนต่อด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร รวมถึงเลือกทำงานวิจัยเกี่ยวกับการจ้างงานคนพิการในไทยเป็นวิทยานิพนธ์
“จากประสบการณ์ของเรา ปัญหาไม่ใช่เรื่องของการขาดโอกาส องค์กรมากมายมีนโยบายรับคนพิการเข้าเป็นพนักงาน มีเงินเดือนและสวัสดิการที่ดี แต่ทำไมคนพิการจึงทำงานอยู่ได้ไม่นานเสมอ นี่คือสิ่งที่เราสงสัยมาตลอดจนได้ทำวิจัยและค้นพบว่า จริง ๆ แล้ว เงินไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่จะทำให้คนพิการหรือใครก็ตาม ทำงานได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน”
“ทั้งสภาพแวดล้อม การเดินทาง ไปจนถึงความเอื้ออำนวยของงานต่อบุคลิกภาพและกายภาพของเรา อย่างคนพิการที่นั่งวีลแชร์มักมีปัญหานั่งนานไม่ได้ แต่ทั้งบริษัทกลับเปิดรับคนพิการแค่ตำแหน่งเดียว และยังเป็นตำแหน่งงานที่ต้องนั่งอยู่กับที่ทั้งวันอีกด้วย ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจหากสถิติการย้ายงานของคนพิการจะสูงกว่าปกติ”
ท่องโลกด้วยขาเทียมและวีลแชร์
ธันย์อธิบายต่อว่า อีกปัญหาที่พบคือเรื่องเส้นทางอาชีพ (Career Path) “เพื่อนผู้พิการทางสายตาของเราคนหนึ่งเรียนจบคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมาก อย่างไรก็ตาม มีกฏระบุไว้ว่าอัยการหรือผู้พิพากษาต้องมีสภาพร่างกายที่สมบูรณ์ นั่นหมายความว่าถ้าคุณเดินขากะเผลก หูไม่ค่อยได้ยิน หรือมีความบกพร่องอะไรบางอย่าง แม้จะเรียนจบนิติศาสตร์มาแล้ว ทำงานเก่งกาจแค่ไหน เส้นทางแห่งวิชาชีพอนุญาตให้คุณมาได้ไกลเท่านี้ ซึ่งนี่เป็นแค่หนึ่งในอีกหลาย ๆ อาชีพที่ยังมีข้อจำกัดบางอย่างปิดกั้นคนพิการอยู่”
วิทยานิพนธ์ของธันย์จึงรวบรวมประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของคนพิการ นำมาวิเคราะห์และพัฒนาเป็นโมเดลแก้ปัญหา ซึ่งเธอหมายมั่นว่าในอนาคตจะต่อยอดมันออกไป เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมในวงกว้าง
เรื่องราวของธันย์ที่ปรากฏตามสื่อต่าง ๆ รวมถึงที่เขียนบอกเล่าในเพจเฟซบุ๊ก ‘น้องธันย์ สาวน้อยคิดบวก’ ไม่เพียงเป็นแรงบันดาลใจให้เยาวชนพิการมากมายเห็นคุณค่าในตัวเอง แต่ยังเพิ่มความรู้ให้คนทั่วไปเรื่องความสามารถของคนพิการ รวมถึงสิทธิที่สมาชิกทุกคนในสังคมพึงได้รับอย่างเท่าเทียมกัน
นอกจากนี้ ธันย์ยังเป็นหนึ่งในสมาชิกเครือข่าย SDGs Youth Panel ที่ประกอบไปด้วยเยาวชนนักขับเคลื่อนที่รวมตัวกันระดมความคิดเห็นส่งไปยังผู้นำประเทศ ว่าคนรุ่นใหม่อยากเห็นเมืองไทยเดินหน้าสู่ความยั่งยืนอย่างไร
โดยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ธันย์ตั้งใจผลักดันเป็นพิเศษคือข้อ 4 การศึกษาที่มีคุณภาพ และข้อ 10 ลดความเหลื่อมล้ำ เพราะทั้งสองมิติคือรากฐานที่จะทำให้เยาวชนพิการสามารถใช้ชีวิตอย่างภาคภูมิใจ มีโอกาสได้เรียนในสิ่งที่ชอบ และทำงานในด้านที่ตัวเองรัก
“คนพิการในเมืองไทยส่วนใหญ่เลือกเรียนจบแค่ชั้นมัธยมต้น เพราะถึงแม้ภาครัฐจะให้เรียนฟรีถึงปริญญาตรี แต่ปัญหาคือสนับสนุนเฉพาะค่าเรียน ไม่มีค่าหอพักหรือค่าเดินทางให้ คนที่ครอบครัวไม่มีกำลังทรัพย์เพียงพอ จึงไม่สามารถเรียนต่อชั้นสูง ๆ ได้ พอการศึกษาจำกัด มันก็เหมือนตัดโอกาสต่าง ๆ ในชีวิตคนพิการคนนั้นไปเลยทันที ทั้งเรื่องการหางานไปจนถึงการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในสังคม ยังไม่นับว่ามีความย้อนแย้งเรื่องเส้นทางอาชีพของคนพิการที่อธิบายไปข้างต้นอีก”
ธันย์ย้ำทิ้งท้ายว่า “จะให้คนพิการมีความยั่งยืนในชีวิต ต้องเริ่มที่การศึกษา เมื่อคนพิการสามารถต่อยอดความรู้ความสามารถของตัวเองได้ ก็จะมีงานทำ ซึ่งไม่เพียงสร้างรายได้ แต่ยังบ่มเพาะความภาคภูมิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ทุกคนมีเท่าเทียมกัน ไม่ว่าคน ๆ นั้นจะมีอวัยวะครบถ้วนหรือไม่ก็ตาม”
นับตั้งแต่วันที่สูญเสียขาทั้งสองข้าง สิบกว่าปีที่ผ่านมา ด้วยขาเทียมและวีลแชร์ ธันย์บอกว่ายังไม่เหนื่อยกับการเดินทางเลย ความฝันของเธอคือการได้ไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์ทั่วโลก คนพิการประเทศอื่น ๆ มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร องค์กรใดกำลังผลักดันเรื่องอะไรอยู่ และทุกวันนี้มีนวัตกรรมใหม่ ๆ อะไรเกิดขึ้นอีกบ้าง และในท้ายที่สุดเธออยากนำสิ่งที่พบเห็นเหล่านั้นกลับมาสู่เมืองไทยของเรา
เรื่อง มิ่งขวัญ รัตนคช, เรียบเรียง รวีกานต์ อมรัชกุล, ภาพ นิรุตติ จารุไพศาลกิจ
Tags: #SDGsYouthPanel #GlobalGoals #Youth2030
1 of 5

ข่าวประชาสัมพันธ์
30 พฤศจิกายน 2022
บทสรุปงาน Sustainable Thailand 2022 จากความมุ่งมั่นสู่การลงมือทำ ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคตลาดเงิน-ตลาดทุนไทย ร่วมอภิปรายคับคั่ง ผลักดันระบบการเงินยั่งยืน
งาน ‘Sustainable Thailand 2022’ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความสำเร็จ ความท้าทาย รวมถึงบทเรียนที่หลายหน่วยงานและองค์กรได้เรียนรู้ระหว่างการดำเนินงาน ตลอดจนหาแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้เพื่อขยับขยายและเพิ่มขีดความสามารถของระบบการเงิน การธนาคารและการลงทุนเพื่อความยั่งยืนในประเทศ และเพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของธนาคารและนักลงทุนตามที่ได้ร่วมลงนามเมื่อปีก่อน ในคำแถลงความมุ่งมั่นต่อการลงทุนอย่างรับผิดชอบ การดำเนินธุรกิจตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และข้อตกลงด้านสภาพอากาศปารีส (Paris Agreement on Climate Change) ของ 43 สถาบันการเงิน และบริษัทบริหารสินทรัพย์ตลอดจนธนาคารต่าง ๆ ภายใต้การนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่งาน Sustainable Thailand 2021
คุณกีต้า ซับบระวาล (Gita Sabharwal) ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย กล่าวต้อนรับผู้ร่วมงานทั้งในศูนย์ประชุมฯ และช่องทางออนไลน์พร้อมมุมมองว่าช่วงปีที่ผ่านมาการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นวาระสำคัญในการหารือระหว่างสถาบันการเงิน ภาคการธนาคาร นักลงทุน และผู้บริหารสินทรัพย์ ซึ่งทุกภาคส่วนกำลังเตรียมพร้อมรองรับ โดยข้อมูลการวิเคราะห์ชี้ว่า โครงสร้างพื้นฐานสีเขียวของประเทศไทยจะต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 3.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้หากเกณฑ์สำหรับการให้กู้ยืมและการลงทุนสีเขียวกำหนดไว้เพียงแค่ที่ 6.3%
“โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ที่ยากลำบาก ภาครัฐใช้จ่ายอย่างจำกัด การจัดหาเงินทุนเพิ่มเติมผ่านตลาดการเงินในประเทศจึงจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อเร่งการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”
จากนั้น คุณรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้กล่าวขอบคุณภาคส่วนต่าง ๆ ในตลาดเงินและตลาดทุนที่ร่วมขับเคลื่อนประเด็นด้านความยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับ ก.ล.ต. ได้ออกหลักเกณฑ์การรายงานข้อมูลประจำปีของบริษัทจดทะเบียน หรือแบบ 56-1 One Report โดยมีผลใช้บังคับเมื่อต้นปี 2565 ซึ่งให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน (ESG) รวมถึงข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการเคารพสิทธิมนุษยชน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุนให้แก่ผู้ลงทุน
“ก.ล.ต. กำหนดให้ประเด็นด้านความยั่งยืนเป็นหนึ่งในเรือธงยุทธศาสตร์ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาตลาดทุนฉบับที่ 4 (ปี 2566-2570) และที่สำคัญคือสอดรับกับนโยบายเศรษฐกิจใหม่ (BCG Economy) ซึ่งเชื่อมโยงกับธีมของการประชุม APEC ในปีนี้ ในส่วนของการสร้างสมดุลในการเติบโตของธุรกิจที่ไม่ได้มุ่งเฉพาะเรื่องของผลกำไร ด้วยการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ก.ล.ต. ยังทำงานร่วมกับสหประชาชาติ เช่น โครงการ SDGs Investor Map Thailand หรือ แผนที่การลงทุนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยซึ่งเป็นแพลตฟอร์มบนเว็บไซต์ที่นำเสนอข้อมูลให้แก่ผู้ลงทุนที่สนใจลงทุนในธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืน นับตั้งแต่ข้อมูลโอกาสทางการตลาด ความเสี่ยง ผลตอบแทนจากการลงทุน ไปจนถึงผลประโยชน์ด้านความยั่งยืนที่อาจเกิดขึ้น”
คุณรื่นวดีได้เน้นย้ำว่า การจัดหาเงินทุนเพื่อความยั่งยืนเป็นการดำเนินการร่วมกันของทุกฝ่าย ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันขับเคลื่อนวาระนี้ไปข้างหน้า ซึ่งการจัดงาน Sustainable Thailand 2022 ในวันนี้นับเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญของการผลักดันความร่วมมือไปสู่ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศโดยรวม
ด้าน ดร.ศรีกัญญา ยาทิพย์ เลขาธิการ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ได้แสดงความตระหนักของกบข. ต่อภารกิจของหน่วยงานว่า “เราไม่เพียงบริหารเงินออมเพื่อการเกษียณให้กับสมาชิกที่เป็นข้าราชการเท่านั้น แต่เรามองว่าการดำเนินการลงทุนของสำนักงานเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันความยั่งยืนให้เกิดขึ้น เราจึงประกาศเจตนารมณ์ในการเป็น Leader in ESG Investment & Initiatives หรือผู้นำการลงทุนในบริบทที่สอดคล้องกับหลักการ ESG และเป็นผู้ริเริ่มนวัตกรรม ESG ในประเทศไทย”
กบข. เป็นหน่วยงานแรกของประเทศไทยที่ไปลงนามใน Principles for Responsible Investment (PRI) เครือข่ายได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติของนักลงทุนสถาบันทั่วโลก ที่เห็นความสำคัญและนำปัจจัยด้าน ESG มาใช้ประกอบการตัดสินใจในการลงทุน นอกจากนี้ กบข. ดำเนินการความร่วมมือด้านการลงทุนอย่างรับผิดชอบ หรือ ESG Collaborative Engagement เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าการลงทุนให้เกิดความยั่งยืนนั้น เราไม่สามารถทำได้ตามลำพังได้ แต่ต้องอาศัยการขับเคลื่อนร่วมกัน” ดร. ศรีกัญญากล่าว
ในช่วงเปิดงานมีการกล่าวปาฐกถาพิเศษโดย คุณอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่เน้นย้ำว่า แม้ประเทศไทยจะได้ขับเคลื่อนเรื่องระบบการเงินเพื่อความยั่งยืนมาแล้วระยะเวลาหนึ่ง แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะยังเป็นความท้าทายของมนุษชาติต่อไปอีกยาวนาน ดังนั้นการระดมทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนจะยังเป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องผลักดันกันต่อไป “มันเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมถึงกระทรวงการคลังด้วยเช่นกัน ที่จะทำให้อุปสงค์และอุปทานของการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนได้มาเจอกัน
“ผมยินดีที่ปัจจุบันสถาบันการเงินของรัฐหลายแห่งได้ออกตราสารหนี้เพื่อสังคมและตราสารหนี้เพื่อสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ที่มีการจัดพอร์ตส่วนหนึ่งไว้ลงทุนในธุรกิจสีเขียวโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม ในอนาคตผมคิดว่าเราต้องคุยและดำเนินการกันมากขึ้นอีกเกี่ยวกับการพัฒนาตัวโครงการเพื่อความยั่งยืน”
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังระบุถึงการสร้างระบบนิเวศของการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศว่า “กระทรวงการคลังให้ความสำคัญกับการใช้สิ่งจูงใจทางด้านภาษี เช่น การลดอัตราอากรให้โครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อย่างนโยบายส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยเพื่อทดแทนยานยนต์เชื้อเพลิงฟอสซิส เครื่องมือทางภาษีเหล่านี้เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยต่อเติมให้เกิดระบบนิเวศดังกล่าวขึ้น”
ส่วนช่วงการเสวนามีผู้แทนระดับสูงจากภาครัฐและเอกชนร่วมแบ่งปันความรู้และข้อมูลเชิงลึกในหลายประเด็น ในการอภิปรายหัวข้อ ‘การเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ทางการเงินใหม่ของไทย’ โดยคุณรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้อธิบายว่า “หลักการสำคัญที่ผมอยากตอกย้ำในวันนี้คือ การคำนึงถึงจังหวะเวลา ความเร็ว ที่เหมาะสมที่สุดกับบริบทของประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย เราต้องสร้างสมดุลระหว่างการเดินไปสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืน และสิ่งที่อาจเกิดขึ้นกับภาคส่วนต่าง ๆ ระหว่างนี้ ดังนั้นการดำเนินการจะต้องไม่ช้าเกินไป แต่ก็ไม่ควรจะเร็วเกินกว่าที่ระบบเศรษฐกิจของเราจะปรับตัวได้ทัน และต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”
ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยและกลต. ได้ร่วมกันจัดตั้ง Thailand Taxonomy มาตรฐานกลางที่ช่วยกำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และสอดคล้องกับบริบทของไทย โดยเฉพาะการปรับตัวในช่วงเปลี่ยนผ่านภายในกรอบเวลาที่เหมาะสม
ต่อมาในการอภิปรายหัวข้อ “จุดประสงค์และแนวทางปฏิบัติ: บริการทางการเงินสามารถทำให้เกิดการระดมทุนเพื่อนำประเทศไทยไปสู่ Net Zero ได้อย่างไร” คุณจอร์โจ กัมบา (Giorgio Gamba) ผู้บริหารสูงสุด ธนาคาร HSBC ประเทศไทย ได้เผยว่า “ความท้าทายของการหาแหล่งทุนสีเขียวในปัจจุบัน คือการที่นักลงทุนเข้าใจถึงปัญหาการฟองเขียวหรือ Green Washing ดังนั้นเราต้องมีการวัดผลอย่างชัดเจนว่าโครงการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ท้ายที่สุดแล้วสร้างผลลัพธ์เชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยแค่ไหน เพื่อให้ทุกการสร้างเป้าหมายเกิดผลลัพธ์เป็นรูปธรรมจริง ๆ
“สำหรับ HSBC ประเทศไทย หลายครั้งที่เราประจักษ์ว่าลูกค้าของเราไม่ได้ทำตามมาตรฐานนานาชาติที่เหมาะสม เราจึงโน้มน้าวและจูงใจให้เขาเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงาน ให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง ในฐานะธนาคาร เราต้องทำความเข้าใจอย่างลึกซึ่งถึงห่วงโซ่อุปทานของลูกค้า และเรียนรู้ว่าธุรกิจของพวกเขาต้องทำงานอย่างไร จึงจะสามารถสร้างผลกำไรไปพร้อมกับสร้างอนาคตที่ยั่งยืนได้”
ด้าน คุณนิกร นิกรพันธุ์ สมาชิกคณะทำงานการธนาคารเพื่อความยั่งยืน สมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า “ปัจจุบัน เราทุกคนเห็นภาพกันแล้วว่าบริษัทขนาดใหญ่ล้วนมีวิธีการและแนวทางดำเนินการเพื่อความยั่งยืนของตัวเอง ดังนั้นโจทย์ต่อมาคือธุรกิจขนาดกลางและเล็ก ต้องทำอย่างไร SMEs จะเข้ามามีส่วนร่วมในการผลักดันเรื่องนี้มากขึ้น สมาคมฯ มองว่า กุญแจคือสิ่งที่ส่งผลต่อยอดขายของผู้ประกอบการรายย่อย อย่างอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่นโยบายเข้มข้นเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทำให้ทุกส่วนในห่วงโซ่อุปทานนี้ขยับตัวกันอย่างรวดเร็ว”
ขณะที่การอภิปรายหัวข้อ ‘จุดประสงค์และแนวทางปฏิบัติ: ธุรกิจการเงินและนักลงทุนในสถาบันสามารถขับเคลื่อนวาระ ESG ในประเทศไทยได้อย่างไร’ ดร.ศรีกัญญา ยาทิพย์ เลขาธิการ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ได้ถ่ายทอดมุมมองว่า ESG เปรียบเสมือนน้ำขึ้น กล่าวคือหากเกิดความร่วมมือกันของทุกภาคส่วน น้ำหนุนนี้ก็จะยกระดับเรือทุกลำขึ้นมา แต่หากทุกคนนิ่งเฉย มันก็สามารถล่มเรือทุกลำได้ด้วยเช่นกัน “กบข. กำลังเดินหน้าศึกษาและทำความเข้าใจว่า สถาบันควรลงทุนกับธุรกิจแบบใดจึงจะเหมาะสมที่สุดต่อการขับเคลื่อนการเยียวยาปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก โดยเฉพาะเมื่อต้องคำนึงถึงการจัดอันดับองค์กรเพื่อสะท้อนเป้าหมายความยั่งยืนหรือ ESG Rating ซึ่งปัจจุบันการวัดผลยังมีหลากหลายเกณฑ์ด้วยกัน”
ส่วน ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานสภาธุรกิจองค์กรตลาดทุนไทย ได้เล่าถึงการดำเนินการล่าสุดอย่าง Collective Action for Collective Impact “ที่ผ่านมา โครงการเพื่อสังคมหรือ CSR ของแต่ละบริษัทต่างก็มีเป้าหมายและการดำเนินการของตัวเอง ทำให้ผลลัพธ์ที่ออกมาไม่หลอมรวมกันเป็นภาพใหญ่ที่ต่อเนื่อง ตอนนี้หลายหน่วยงานจึงมาร่วมมือกันสร้างโครงการ CSR ที่มีเป้าหมายใหญ่ร่วมกัน และผมมั่นใจว่านี่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
“ร้อยละ 80 ของขยะมหาสมุทรมาจากแม่น้ำทั้งหมด ดังนั้นเราจึงเชิญชวนบริษัทต่าง ๆ มาจัดการปัญหาขยะที่ปากแม่น้ำ โดยแบ่งหน้าที่รับผิดชอบไปเลยว่าบริษัทใดดูแลแม่น้ำเจ้าพระยา บริษัทใดดูแลแม่น้ำบ่างปะกง ท่าจีน แม่กลอง ซึ่งต่อไปเราจะขยายไปสู่การดูแลลำคลองสายเล็กต่าง ๆ อย่างทั่วถึงด้วย”
การอภิปรายหัวข้อ “การเงินและการลงทุนของภาคเอกชนสามารถเร่งการเติบโตสีเขียวในประเทศไทยได้อย่างไร” คุณอนุจ เมห์ตา (Anouj Mehta) ผู้อำนวยการสำนักงานผู้แทนธนาคารพัฒนาเอเชียประจำประเทศไทย (Asian Development Bank : ADB) ได้ให้แนวคิดว่า “ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศมากที่สุดในโลก ดังนั้นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงนี้จึงมีความสำคัญอย่างมาก และการจะทำให้ภูมิภาคนี้มีโครงการสีเขียวมากขึ้น เราต้องการเงินทุนถึง 1.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี อย่างไรก็ตาม ความท้าทายคือปัจจุบันยังไม่มีเงินทุนจากภาคเอกชนไหลเวียนเข้ามามากพอ ดังนั้นรัฐบาลและหน่วยงานท้องถิ่นจำเป็นต้องผลักดันโครงการต่าง ๆ ที่น่าสนใจต่อภาคเอกชน เพื่อดึงดูดเงินทุนเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยี สาธารณูปโภค การเดินทางในเมือง การประปาไฟฟ้า”
ในขณะที่ตัวแทนจากภาคเอกชน คุณณัฐวุฒิ อินทรโรจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายการพัฒนาที่ยั่งยืน บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย ได้แบ่งปันแนวคิดว่าปัจจุบัน ESG ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป แต่มันคือทางรอดที่ทุกธุรกิจต้องทำ “เราได้พัฒนาฉลาก SCG Green Choice ขึ้น เพื่อให้ความมั่นใจกับผู้บริโภคว่าสินค้าชั้นนั้น ๆ มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงมีอายุการใช้งานที่ยืนยาว อย่างบ้านที่ก่อสร้างและใช้วัสดุของ SCG ตั้งแต่หลังคาจรดพื้นล้วนได้รับการรับรองฉลากนี้
“ในการประชุม COP27 ที่ผ่านมา เราได้ประกาศเป้าหมายในการพัฒนาปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำNet Zero Concrete and Cement Roadmap เป็นแห่งแรกของโลก โดยได้รับการรับรองจาก European Cement Research Academy ซึ่งความสำเร็จนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไม่มีความร่วมมือของสมาคมต่าง ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยในปีหน้า เราได้ตั้งเป้าหมายว่าจะลดปริมาณคาร์บอนหนึ่งล้านตันออกจากอุตสาหกรรมให้ได้ นอกจากนี้เรายังร่วมขับเคลื่อนสระบุรีแซนบ็อก ให้เป็นจังหวัดต้นแบบที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์อีกด้วย”
และช่วงสุดท้ายของงาน คือเวทีอภิปรายหัวข้อ 'ก้าวต่อไป – วิธีส่งเสริมการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ระหว่างภาคเอกชนและตลาดการเงินในประเทศไทย เพื่อขยายการดำเนินงานด้านการเงินเพื่อความยั่งยืน ให้ธุรกิจสามารถรับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม’
คุณวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน แสดงวิสัยทัศน์ว่า “ธนาคารออมสินวางบทบาทตัวเองเป็นธนาคารเพื่อสังคม ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การช่วยเหลือชุมชนและผู้คน รวมถึงแก้ไขความยากจนและความเหลื่อมล้ำซึ่งเป็นปัญหาทางโครงสร้าง โดยกลยุทธ์ของเราคือ การนำผลกำไรจากรกิจเชิงพาณิชย์ ไปอุดหนุนธุรกิจเชิงสังคม”
คุณวิทัยยกตัวอย่างโครงการที่ธนาคารออมสินได้ร่วมมือกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงและหน่วยงานพันธมิตรอื่น ๆ ลงทุนในโครงการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตให้ประชาชนในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน โดยส่งเสริมให้ประชาชนเปลี่ยนจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวอย่างข้าวโพดมาเป็นกาแฟ ซึ่งไม่เพียงเป็นพืชรักษาป่าแต่ยังมีราคาที่สูงกว่าด้วย
ด้าน คุณกฤษณ์ จิตต์แจ้ง กรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย กล่าวถ้อยแถลงว่า “วิสัยทัศน์ของกสิกรไทยคือการเป็นธนาคารแห่งความยั่งยืน ความท้าทายของเรื่องนี้คือเราจะแปลงวิสัยทัศน์ต่าง ๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่สัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรมอย่างไร นับจากวันนี้ไปจนถึงปี 2030 เราให้คำมั่นว่าจะลงทุนในสินเชื่อเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 1-2 แสนล้านบาท นอกจากนี้เราได้ตั้งเป้าหมายที่จะเป็น Net Zero ในปี 2030 และตัวอย่างการดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง สโคปที่ 1 และ 2 ของเรา คือการเปลี่ยนรถทำงานของธนาคารที่มีอยู่กว่า 2,000 คันทั่วประเทศเป็นยานยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด รวมถึงติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ บนหลังคาธนาคารกว่า 200 สาขา”
ขณะที่ คุณอุทัยวรรณ อนุชิตานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารความเป็นเลิศและการพัฒนาที่ยั่งยืน บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ได้บอกเล่าถึงการดำเนินงานว่า “ในแต่ละวันมีผู้มาใช้บริการพื้นที่ของมากกว่า 1 ล้านคน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน พักผ่อน หรือการใช้บริการอื่น ๆ การที่เราเป็นศูนย์รวมการใช้ชีวิตของผู้คนนับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืนมิติต่าง ๆ ไปสู่ผู้บริโภค ในการพัฒนาพื้นที่ เราเข้มงวดกับการตรวจสอบให้อสังหาริมทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ตอบโจทย์มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมด นอกจากนี้ หนึ่งในความท้าทายของการมีกิจกรรมต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายในพื้นที่ คือการบริหารจัดการของเสียและขยะ โดยเรามีเป้าหมายที่จะลดของเราไปยังหลุมฝังให้ได้ถึงร้อยละ 70”
คุณจอมขวัญ คงสกุล ผู้ช่วยเลขาธิการสายระดมทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ วิทยากรคนสุดท้ายของงานในวันนี้ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “ในการขับเคลื่อนระบบการเงินเพื่อความยั่งยืน สิ่งที่วิทยากรทุกท่านต่างพูดตรงกันคือเรื่องของความร่วมมือ เราไม่สามารถดำเนินการเรื่องนี้เพียงลำพังได้ อย่างไรก็ดีสิ่งที่ กลต. สามารถทำได้ในวันนี้คือการสร้างความเข้มแข็งให้คณะผู้ขับเคลื่อนหลักหรือ Key Driver ซึ่งก็คือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้ามางาน Sustainable Thailand ในวันนี้ เพื่อขยายขีดความสามารถและทำให้ระบบนิเวศการเงิน การธนาคารและการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทยเติบโตต่อไป”
1 of 5
ข่าวประชาสัมพันธ์
10 พฤศจิกายน 2022
งานเปิดโครงการ Partnership for Action on Green Economy ในประเทศไทย
สำหรับการจัดงานเปิดโครงการฯ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำโครงการ PAGE (ประเทศไทย) พร้อมทั้งเชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการวางนโยบาย การปฏิบัติและการลงทุนเพื่อเศรษฐกิจสีเขียวในภาคส่วนต่าง ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นพันธมิตรความร่วมมือด้านเศรษฐกิจสีเขียว อีกทั้งใช้งานเปิดตัวฯ ดังกล่าวเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ และมุมมองของแต่ละภาคส่วน ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานที่สนับสนุน ไม่ซ้ำซ้อน และแบ่งปันบทบาทหน้าที่และความร่วมมือในการปฏิบัติการให้เกิดเศรษฐกิจสีเขียวแบบบูรณาการ (Inclusive Green Economy; IGE) ได้อย่างชัดเจน ทั้งยังเป็นเวทีในการนำเสนอผลการดำเนินงานในของโครงการ PAGE (ประเทศไทย) ในระยะที่ผ่านมา ได้แก่ การศึกษา Stocktaking ด้านเศรษฐกิจสีเขียว การศึกษาประเมินความต้องการด้านการเสริมสร้างศักยภาพด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจสีเขียว (Green Recovery Learning Needs Assessment) และแผนงานการศึกษาประเมินการใช้งบประมาณโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจสีเขียว (Green Recovery Assessment) ภายใต้งบประมาณฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิดวงเงิน 4 แสนล้านบาท เป็นต้น
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวระหว่างการร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฯ ว่ารัฐบาลไทยยินดีเป็นอย่างยิ่งในการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Partnership for Action on Green Economy โดยรัฐบาลมีนโยบายให้ความสำคัญต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งด้ำนเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ที่มีความมุ่งหวังในการปรับเปลี่ยนไทยไปสู่โฉมหน้าใหม่ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 โดย 1 ใน 5 เป้าหมายที่สำคัญคือ การสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศ ซึ่งมุ่งเน้นเรื่องการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งสอดรับกับเศรษฐกิจสีเขียว นอกจากนั้นรัฐบาลไทยยังมีนโยบายการใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ควบคู่กับแผนพัฒนาฯ 13 โดยโมเดลฯ ดังกล่าว ทำหน้าที่บูรณาการการพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน จากระดับชุมชนไปถึงโครงการลงทุนขนาดใหญ่ สร้างความสมดุลเป็นธรรมและมุ่งสู่เป้าหมายสูงสุดคือการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) สำหรับการเปิดตัวโครงการ PAGE ในวันนี้ยังเป็นโอกาสอันดี ที่ผู้กำหนดนโยบายในภาคส่วนต่าง ๆ จะได้แลกเปลี่ยนข้อมูลความเห็นเพื่อร่วมกันผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวแบบบูรณาการในทุกมิติ รวมถึงการใช้เศรษฐกิจสีเขียวในกิจกรรมการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทยในเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
ดร. วิชญายุทธ บุญชิต ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ PAGE ในประเทศไทย และรองเลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวระหว่างช่วงการแถลงข่าวแก่สื่อมวลชน ว่า สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลัก ซึ่งจะทำงานโดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่แสดงความจำนงค์เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมวิชาการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัลกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการที่จะขับเคลื่อนการดำเนินการด้านเศรษฐกิจสีเขียวอย่างบูรณาการใน 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) การลดการปล่อยคาร์บอนและมลพิษ (2) การส่งเสริมการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (3) การป้องกันการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ (4) การเพิ่มงานที่มีคุณค่า (5) การกระจายรายได้และความมั่งคั่งอย่างเป็นธรรม เพื่อที่จะนำพาประเทศไปสู่การการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งตอบโจทย์ความท้าทาย 3 ข้อที่มนุษยชาติเผชิญอยู่ในปัจจุบัน คือ ด้านความยากจนถาวร ด้านการกระจายความมั่งคั่งที่ไม่เสมอภาค และการก้าวข้ามขีดจำกัดด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความเท่าเทียมและเสมอภาคทางสังคม
เพื่อเป็นการขับเคลื่อนโครงการ PAGE ในประเทศไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามเป้าหมาย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ PAGE ขึ้น โดยในการดำเนินงานในปี 2565 คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ได้ให้ความเห็นชอบกรอบการดำเนินงานซึ่งประกอบด้วย 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่ (1) กิจกรรมการศึกษาการจัดทำระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคบังคับ (ETS) เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย (2) กิจกรรมการพัฒนากลไกด้านการเงินสำหรับการจัดการขยะชุมชนอย่างยั่งยืน เพื่อสนับสนุนโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของประเทศ (3) กิจกรรมสร้างขีดความสามารถที่จำเป็นในด้านเศรษฐกิจสีเขียวผ่านการสร้างความรู้ พัฒนาและจัดการฝึกอบรมที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศ โดยเฉพาะในเรื่องกลไก ETS โมเดลเศรษฐกิจ BCG ในภาคเกษตรและการสร้างงานสีเขียว และ (4) กิจกรรมการให้ความรู้และการสื่อสารเพื่อสร้างการตระหนักรู้ระดับชาติและระดับภูมิภาค งานเปิดตัวแนะนำโครงการ PAGE ประเทศไทยอย่างเป็นทางการในวันนี้เป็นโอกาสอันดีที่จะสื่อสารให้แก่ประชาชนและสังคมได้รับทราบว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังดำเนินการขับเคลื่อนเข้าสู่การพัฒนาประเทศด้านเศรษฐกิจสีเขียวภายใต้โครงการความร่วมมือของ PAGE ซึ่งมีความสอดคล้องและเป็นส่วนหนึ่งของกรอบการพัฒนาภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบาย BCG
ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ PAGE ในประเทศไทย ใคร่ขอเชิญชวนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เข้ามีส่วนร่วมผลักดัน และขับเคลื่อนการดำเนินการด้านเศรษฐกิจสีเขียวอย่างบูรณาการด้วยกัน เพื่อให้ประเทศเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ ด้วยความเท่าเทียมเสมอภาค และมีทรัพยากรคงอยู่เหลือไว้สำหรับคนรุ่นถัดไป
นางศุกร์สิริ แจ่มสุข รองผู้แทนประจำภูมิภาค องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักดำเนินโครงการ PAGE ในประเทศไทย ร่วมกับหน่วยงานสหประชาชาติพันธมิตรในโครงการอีก 4 หน่วยงานได้แก่ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ และสถาบันการฝึกอบรมและการวิจัยแห่งสหประชาชาติ ร่วมสนับสนุนด้านเทคนิคจากความชำนาญและประสบการณ์ระหว่างประเทศ ทั้งด้านการพัฒนาสังคมคาร์บอนต่ำ การส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียว แรงงานสีเขียว การเงินและการพัฒนาสีเขียว รวมถึงการฝึกอบรมและวิจัยร่วมกับหน่วยงานระหว่างประเทศต่างๆ
ปัจจุบันโครงการมีสมาชิกทั้งสิ้น 22 ประเทศ ประเทศไทยเข้าร่วมโครงการ PAGE เป็นประเทศที่ 20 ในปี 2562 และเริ่มดำเนินการโครงการระยะเริ่มต้น (Inception phase) ในเดือนมีนาคม2563 ก่อนเกิดการระบาดของ COVID-19 โดยมีระยะเวลาดำเนินระยะปฏิบัติการทั้งสิ้น 3 ปี ด้วยงบประมาณสนับสนุนประมาณหนึ่งล้านเหรียญสหรัฐ การดำเนินการระยะในระยะเริ่มต้นของโครงการได้สนับสนุน ได้แก่ การศึกษารวบรวมข้อมูลประเมินสถานะความพร้อมด้านเศรษฐกิจสีเขียวของประเทศ (Green Economy Stocktaking) การประเมินการใช้งบฟื้นฟูเศรษฐกิจสีเขียวจากสถานการณ์โควิด (Green Recovery Assessment) และการประเมินความต้องการการเสริมสร้างศักยภาพด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจสีเขียว (Green Recovery Learning Needs Assessment)
พันธมิตรในโครงการสหประชาชาติทั้ง 5 หน่วยงาน มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมดำเนินงานกับประเทศไทย ด้วยความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่จะนำเศรษฐกิจสีเขียวมาสู่การปฏิบัติ สร้างสังคมคาร์บอนต่ำ วิเคราะห์และปรับปรุงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการผลิตด้วยเทคโนโลยีสะอาด จูงใจให้เกิดการบริโภคที่คำนึงถึงสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้การจัดงานเปิดโครงการฯ และแถลงข่าวในครั้งนี้ ถือเป็นการแสดงเจตนารมณ์ของคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ Partnership for Action on Green Economy (PAGE) ในประเทศไทยเพื่อร่วมมือกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียวอย่างบูรณาการ โดยในงานฯ มีผู้บริหารหน่วยงานราชการ หน่วยงานท้องถิ่น ผู้บริหารหน่วยงานเอกชน สถาบันการศึกษา ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการกำหนดนโยบาย สื่อมวลชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมงานในรูปแบบ onsite มากกว่า 120 คนและ online มากกว่า 200 คน
1 of 5
ข่าวประชาสัมพันธ์
09 พฤศจิกายน 2022
คำประกาศเจตนารมณ์ความร่วมมือของสมาชิก GCNT ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและ การปกป้องธรรมชาติ อย่างเป็นรูปธรรม วัดผล และขยายผลได้
สมาชิกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ และนิเวศบริการในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน จึงจะเร่งดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน ร่วม ปกป้องฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ลดและชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมการ แก้ปัญหาโดยใช้ธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based Solutions) เพื่อบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากวิกฤตการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ
ทั้งนี้สมาชิกฯ ขอประกาศเจตนารมณ์ว่า จะมุ่งมั่น บริหารจัดการ กำหนดนโยบายและใช้ประโยชน์จากความ หลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนและเป็นธรรมตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยมีระบบในการประเมินและติดตามตรวจสอบคุณค่า ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน และด้วยการ สนับสนุนกลไกทางการเงิน การบริหารจัดการอย่างเป็นวิทยาศาสตร์และความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนเป้าหมาย ของประเทศไทยในการปกป้องคุ้มครองพื้นที่บนบกและทะเลให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 30 ของพื้นที่ ภายในปี ค.ศ. 2030
1 of 5
ข่าวประชาสัมพันธ์
14 พฤศจิกายน 2022
เปิดตัวโครงการ WE RISE Together ในประเทศไทย และ ประกาศรายชื่อผู้ชนะรางวัล Thailand Women’s Empowerment Principles Awards
กรงเทพฯ — ผู้นำองค์กรและองค์กรธุรกิจ 6 บริษัทได้รับรางวัล Thailand Women's Empowerment Principles (WEPs) Awards ประจำปี พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นรางวัลเชิดชูเกียรติบริษัทที่มีแนวปฏิบัติและโครงการที่ดีตามหลักการเสริมสร้างศักยภาพผู้หญิง หรือ Women’s Empowerment Principles (WEPs) และส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศในภาคธุรกิจ
ผู้นำและบริษัทที่ชนะเลิศแต่ละสาขา ได้แก่
สาขาผู้นำองค์กรที่สนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศ: พลตรี พัชร รัตตกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บริษัท หาดทิพย์ จํากัด (มหาชน)
สาขาสถานที่ทำงานที่มีความเท่าเทียมทางเพศ: บริษัท สยามแม็คโคร จํากัด (มหาชน)
สาขาการตลาดที่คำนึงถึงมิติทางเพศ: ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จํากัด
สาขาการส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศผ่านกิจกรรมชุมชนและอุตสาหกรรม: บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จํากัด (มหาชน)
สาขาความโปร่งใสและการรายงาน: บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
สาขาองค์กรขนาดกลางและขนาดย่อม: บริษัท คอนเนคติ้ง เฟาน์เดอร์ จำกัด
งานประกาศผลรางวัลประจำปีนี้จัดขึ้น ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ ในวันที่ 4 พฤศจิกายน รางวัลตัดสินโดยคณะกรรมการอิสระ 7 คน จากองค์กรจากหลายภาคส่วนไม่ว่าจะเป็น ผู้นำองค์กรเครือข่ายผู้ประกอบการสตรี หน่วยงานด้านการพัฒนาสังคม องค์กรภาคธุรกิจ และสถาบันการศึกษา และบริษัททั้ง 6 องค์กรที่ได้รับรางวัลชนะเลิศนี้ จะได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล WEPs Awards ในระดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกที่จะประกาศผลรางวัลในวันที่ 23 พฤศจิกายนศกนี้อีกด้วย
รางวัล WEPs ริเริ่มขึ้นภายใต้โครงการ WeEmpowerAsia ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ถึงแม้ว่าโครงการนี้จะสิ้นสุดลงแล้วในปีนี้ คุณซาร่า เรโซอากลิ อุปทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยเน้นย้ำถึงความสำคัญของรางวัลนี้ และความจำเป็นในการพัฒนาวัฒนธรรมธุรกิจที่ครอบคลุมทุก ๆ เพศมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เศรษฐกิจของเอเชียแปซิฟิกเติบโตอย่างได้อย่างยั่งยืน
คุณซาร่าห์ นิบส์ รักษาการผู้อำนวยการ องค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ (UN Women) สำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก กล่าวว่า “บริษัทที่ส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศทั้งภายในและภายนอกองค์กรมีจำนวนเพิ่มขึ้นในประเทศไทย ณ ปัจจุบัน บริษัทที่ลงนามสนับสนุน WEPs มีจำนวนมากกว่าหนึ่งร้อยองค์กรแล้ว เราอาจจะไม่ก้าวมาได้ไกลเพียงนี้หากปราศจากแรงสนับสนุนและความร่วมมือของพันธมิตรในประเทศไทย องค์กรพันธมิตรทั้งจากภาครัฐและภาคธุรกิจได้ร่วมกันสร้างความตระหนักรู้ ปฏิบัติตามหลักการเสริมสร้างศักยภาพผู้หญิง (WEPs) และร่วมกันจัดงานรางวัล WEPs Awards ในช่วงปีที่ผ่านมา”
ทั้งนี้ หลักการเสริมสร้างศักยภาพผู้หญิง (WEPs) นี้ ประกอบด้วยหลักการ 7 ข้อที่เป็นแนวทางทางการพัฒนาธุรกิจ และส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศในระดับผู้นำ ในสถานที่ทำงาน ตลาด และชุมชน
ในช่วงเวลาที่ผ่านมาพบว่าจำนวนองค์กรธุรกิจไทยที่เริ่มปรับตัวและคำนึงถึงความเสมอภาคทางเพศและครอบคลุมมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น สำหรับในปีนี้ มีบริษัทส่งใบสมัครเข้าร่วมประกวดเพื่อชิงรางวัลมากว่า 60 ใบ โดยมาจากภาคธุรกิจที่หลากหลายทั้งภาคเทคโนโลยีและการลงทุน กิจการที่เน้นผลเชิงบวกต่อสังคมและกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม
ในปีนี้ UN Women จัดงานมอบรางวัลโดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลออสเตรเลีย สหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพสากล สภาธุรกิจตลาดทุนไทย สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็คแห่งประเทศไทย สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย
เพื่อแสดงความขอบคุณผู้นำหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศและศักยภาพของผู้หญิงในปีนี้ UN Women ได้มอบโล่เกียรติยศให้แก่คุณรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และดร.วิมลกานต์ โกสุมาศ รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ส.ส.ว.) เพื่อเชิดชูผู้นำองค์กรภาครัฐที่เป็นแบบอย่างในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ความยั่งยืน และส่งเสริมหลักการเสริมสร้างศักยภาพสตรี
ในงานนี้ ดร. แอนเจลา แมคโดนัลด์ เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทยได้ให้เกียรติเปิดตัวและแนะนำโครงการ WE RISE Together ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง UN Women และรัฐบาลออสเตรเลียเพื่อขยายโอกาสทางการตลาดที่เท่าเทียมให้แก่ผู้ประกอบการผู้หญิงผ่านการสร้างซัพพลายเออร์ที่หลากหลาย และส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างที่คำนึงถึงความเสมอภาคทางเพศในประเทศไทย
1 of 5
ข่าวประชาสัมพันธ์
31 ตุลาคม 2022
สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติยินดีที่ประเทศไทยประกาศใช้ พรบ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย
กรุงเทพมหานคร (31 ตุลาคม 2565) – สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ หรือ OHCHR ยินดีที่ประเทศไทยประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565
การประกาศใช้กฎหมายนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการปราบปรามการทรมาน การทารุณกรรม และการกระทำให้บุคคลสูญหายในประเทศไทย ซึ่งมีบทบัญญัติในการเอาผิดผู้กระทำความผิดตามกฎหมายอาญา และมีเนื้อหาครอบคลุมหลักการที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น สิทธิในการที่จะไม่ถูกทรมานเป็นสิทธิมนุษยชนที่ไม่อาจระงับชั่วคราวได้ (non-derogation) และหลักการไม่ส่งใครกลับไปเผชิญอันตราย (non-refoulement) ซึ่งป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่ขับไล่ เนรเทศ หรือส่งบุคคลใดไปยังอีกประเทศหนึ่งที่เขาอาจเผชิญความเสี่ยงต่อการกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (cruel, inhuman or degrading treatment) หรือการกระทำให้บุคคลสูญหาย
ทั้งนี้ พระราชบัญญัติดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 120 วันนับแต่การประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา
“การประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 นี้นับเป็นก้าวสำคัญในการปฏิบัติตามคำมั่นของประเทศไทยเพื่อขจัดการกระทำทรมาน และการกระทำให้บุคคลสูญหายให้หมดสิ้น และเป็นการให้ความยุติธรรมกับผู้เสียหายจากการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย” ซินเทีย เวลิโก้ ผู้แทนประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าว
พระราชบัญญัตินี้จะทำให้ผู้เสียหายจากการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายโดยบังคับหรือไม่สมัครใจและญาติ มีกรอบทางกฎหมายในการเรียกร้องการเยียวยาทางกฎหมาย รวมถึงการเอาผิดผู้กระทำผิดจากอาชญากรรมอันเลวร้ายนี้
ประเทศไทยมีกรณีการกระทำให้บุคคลสูญหายที่คณะกรรมการแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการกระทำให้บุคคลสูญหายโดยบังคับหรือไม่สมัครใจ (The United Nations Working Group on Enforced or Involuntary Disappearances) บันทึกว่ายังไม่ได้รับความกระจ่างชัดทั้งสิ้น 76 กรณี
ผู้แทนประจำภูมิภาคฯ เน้นย้ำว่า ยังมีบทบัญญัติในกฎหมายสามประการที่ควรได้รับการแก้ไขเพื่อให้พระราชบัญญัติฯ เป็นไปตามกฎหมายและหลักการระหว่างประเทศอย่างครบถ้วน ได้แก่ การอภัยโทษในฐานความผิดตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ การรับฟังพยานหลักฐานที่ได้จากการทรมานในกระบวนการดำเนินคดีทางอาญา และการกำหนดอายุความของคดีการกระทำให้บุคคลสูญหาย
“สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติขอชื่นชมประเทศไทยที่ปฏิบัติตามคำมั่นที่ให้ไว้ในการทบทวนสิทธิมนุษยชนครั้งล่าสุดตามกระบวนการ Universal Periodic Review หรือ UPR ทั้งนี้ หลังจากที่มีกรอบกฎหมายบังคับใช้ในประเทศแล้ว ประเทศไทยสามารถดำเนินการให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance) และ พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Optional Protocol to the Convention against Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment) ในลำดับถัดไป” ซินเทีย เวลิโก้ กล่าว “สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติประจำภูมิภาคฯ พร้อมที่จะให้การสนับสนุนทางเทคนิคแก่รัฐบาลตามที่มีความจำเป็น”
จบ
หากต้องการข้อมูลหรือสอบถามเพิ่มเติม โปรดติดต่อ: วรรณภร สมุทรอัษฎงค์ (065 986 0810 / wannaporn.samutassadong@un.org) ประจำสำนักงานฯ ที่กรุงเทพมหานคร
แท็กและแชร์ – Twitter: @OHCHRAsia, Facebook: @OHCHRAsia และ Instagram @ohchr_asia
1 of 5
ทรัพยากรล่าสุด
1 / 11
ข้อมูล
10 ธันวาคม 2021
1 / 11