แรงงานข้ามชาติเมียนมาหวังพึ่งการได้รับวัคซีนเพื่อกลับมาทำงาน
ㅤ
แม่สอด เมืองติดชายแดนเมียนมาได้เปิดขึ้นอีกครั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 จึงทำให้แรงงานเมียนมาในประเทศไทยกลับบ้านได้ หลังจากนั้นเป็นต้นมา พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษนี้ได้กลายเป็นบ้านของชาวเมียนมาในทุกกลุ่มอายุตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงรุ่นปู่ย่าตายาย
ขณะที่ประเทศไทยเริ่มเปิดพรมแดนเพื่อต้อนรับชาวเมียนมานับหลายพันกลับมาทำงานในโรงงาน ในไร่และตามบ้าน องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทยและกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้ออกไปหาข้อมูลว่าแรงงานข้ามชาติที่กลับมาได้รับการปกป้องคุ้มครองจากโรคโควิด-19 อย่างไร และมีการดำเนินการอะไรบ้างเพื่อลดการติดเชื้อ
ในเดือนพฤศจิกายน 2021 มีการสำรวจในแรงงานข้ามชาติเมียนมาเพื่อศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ มุมมองต่อความเสี่ยงและพฤติกรรมทางสุขภาพเกี่ยวกับโรคโควิด-19 และเพื่อสอบถามว่าพวกเขาได้รับวัคซีน โควิด-19 หรือไม่ การสำรวจนี้ทำเพื่อให้ข้อมูลแก่ทางการไทย ในการพิจารณาว่า มาตรการป้องกันและควบคุมโรคต่างๆ ที่ควรมีในกลุ่มประชากรนี้คืออะไร และเพื่อพิจารณาว่า จำเป็นต้องมีการฉีดวัคซีนโควิด19 ในประชากรแรงงานข้ามชาติเมียนมาหรือไม่
กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการพัฒนาการสื่อสารความเสี่ยงและทำงานร่วมกับชุมชนในประชากรไทยและประชากรข้ามชาติ ในประเด็นการสื่อสารเรื่องวัคซีนโควิด-19” ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางวิชาการจากองค์การอนามัยโลก และการสนับสนุนทางการเงินจากกระทรวงการต่างประเทศและการค้า ประเทศออสเตรเลีย
การสำรวจครั้งนี้ได้มีการไปเก็บข้อมูลจากทั้งสิ้น 500 คนซึ่งมาจากหลากหลายกลุ่ม รวมถึงแรงงานข้ามชาติที่มีใบอนุญาตรายวันให้ข้ามจุดผ่านแดนที่แม่สอด คนในชุมชนท้องถิ่นและแรงงานเมียนมาในประเทศไทยจากภาคเกษตรกรรมและภาคการผลิต
ในช่วงการลงพื้นที่สองวัน แรงงานข้ามชาติกว่า 3 พัน คนได้รับการให้บริการวัคซีนโดยสำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่สอด โดยการช่วยเหลือของบุคลากรทางการแพทย์และองค์กรจิตอาสาต่างๆ
“กระทรวงสาธารณสุขตระหนักดี ว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะดูแลสุขภาพของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย ผลจากการสำรวจจะถูกนำไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายด้านการป้องกัน และการตอบสนองต่อสถานการณ์ โควิด-19 ในกลุ่มประชากรข้ามชาติ” แพทย์หญิงพาหุรัตน์ คงเมือง ทัยสุวรรณ ผู้อำนวยการโครงการและผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการโครงการพระราชดำริฯ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขกล่าว
คณะสำรวจข้อมูล ขณะลงพื้นที่สัมภาษณ์แรงงานข้ามชาติในเมียนมา ประเด็นการฉีดวัคซีนในแรงงานข้ามชาติที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
ขณะที่อายุเพียง 19 ปี ออง จอ พโย มีหน้าที่รับผิดชอบที่จะแบ่งปันข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด19 ในชุมชนของเขา ก่อนหน้านี้เขาเป็นครูสอนภาษาพม่าให้แก่เด็กในชุมชนข้ามชาติ และเขาก็ได้เรียนรู้เกี่ยวกับโรคนี้จากสื่อออนไลน์ และได้แบ่งปันข้อมูลข่าวสารและมาตรการป้องกันกับนักเรียนและสมาชิกชุมชน ในขณะที่แจกหน้ากากให้แก่คนที่ต้องการด้วย เขาใช้ความรู้ที่มีเพื่อให้แน่ใจว่าสมาชิกในครอบครัวทุกคนได้รับวัคซีนเพื่อปกป้องพวกเขาจากโรคโควิด-19
มะโป ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในประเทศไทยซึ่งเป็นเวลา 20 ปีแล้ว ขณะนี้เธออายุ 30 ปีและมีลูกเล็กสองคน ตอนนี้เธอกำลังหางานอยู่หลังจากตกงานเพราะสถานการณ์โรคระบาด เธอได้สร้างชื่อเสียงที่ดีตลอดปีที่ผ่านมาในฐานะผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง แต่ขณะนี้เธอต้องรอ มะโปหวังว่าสถานการณ์จะดีขึ้นในเร็ววันเพื่อที่เธอจะได้กลับมาทำงาน
แม้คนจะได้รับวัคซีนแล้วก็ไม่ได้แปลว่าพวกเขาระมัดระวัง แต่ทุกวัน ซัง ฟัง วิน ใส่หน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ และรักษาระยะที่ปลอดภัยจากลูกค้าเมื่อเธอขายผลไม้ถึงแม้เธอจะได้รับวัคซีนครบแล้ว เธออยู่ในประเทศไทยมา 14 ปี แต่เพิ่งย้ายจากกรุงเทพไปแม่สอดเมื่อยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 พุ่งสูงขึ้นรวดเร็ว
แรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาจำนวนมากใช้เวลาหลายปีอยู่ในประเทศไทย แต่ เซ ยะ อยู่ในประเทศไทยแค่เพียงเจ็ดเดือนเท่านั้น ในช่วงเวลานี้ เธอติดเชื้อโควิด-19 แต่เธอยังโชคดีที่นายจ้างอนุญาตให้ลาป่วยหนึ่งเดือนโดยได้รับเงินเดือนด้วย ซึ่งเธอไปแยกกักตัวอยู่ที่บ้านกับเพื่อนร่วมบ้านคนอื่น ๆ
มิน ช่างซ่อมรถยนต์วัย 19 ปี ทำงานในเขตพื้นที่เสรีแม่สอด เขาจริงจังกับมาตรการป้องกันส่วนตัว และสวมหน้ากาก ตลอดจนล้างมือบ่อยกว่าแต่ก่อนเพื่ออป้องกันการติดเชื้อโควิด-19
ลูมมะ เป็นคนขับรถที่ข้ามชายแดนไปมาบ่อยครั้ง แต่โรคโควิด-19 ได้ทำให้งานของเขาหยุดชะงักเมื่อจุด ผ่านแดนปิดและมีความต้องการน้อยลงสำหรับการขับรถ ขณะที่งานมีความไม่มั่นคง ลูมมะ วัย 26 ปี ยังไม่ได้รับวัคซีน แต่สามารถนัดหมายการรับวัคซีนสำหรับตัวเขาและครอบครัวได้แล้ว เมื่อได้รับวัคซีนแล้วเขาหวังว่าจะสามารถกลับมาขับรถได้บ่อยขึ้นเพื่อที่จะเลี้ยงดูครอบครัวได้
อะ มะ วิน วัย 46 ปีอาศัยอยู่ในประเทศเมียนมาและทำงานที่ชายแดนมากว่า 10 ปีแล้ว เขาทำหน้าที่ขนแทงก์ออกซิเจนไปมาและสามารถหลีกเลี่ยงการติดเชื้อโควิด-19 ได้ เขาได้รับวัคซีนครบแล้วและยังสวมหน้ากาก ตลอดจนล้างมือบ่อยครั้งเพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด-19
ซอ (สวมแจ็คเก็ตสีส้ม) วัย 51 ปี กำลังหาที่ฉีดวัคซีน เขาจากกรุงเทพมาพร้อมกับสมาชิกครอบครัวทั้งสิ้นห้าคนเมื่อโรคโควิด-19 ระบาดถึงจุดสูงสุด ขณะนี้ได้รับค่าจ้างรายวันด้วยการทำงานในไร่ที่แม่สอด ตอนอยู่กรุงเทพเขาทำอาชีพขับรถกระบะรับจ้าง
เกรียงศักดิ์ อามีนและภรรยาของเขา วาฮี ดาว ได้เริ่มต้นธุรกิจขายอาหารริมทางเมื่อห้าวันที่ผ่านมาหลังจากหยุดไปเป็นเวลานานเพราะภาวะโรคระบาด ทุกวันเขาเชิญชวนให้คนอื่นไปรับวัคซีนเพื่อป้องกันตัวเองและสมาชิกในชุมชน ในขณะที่พยายามนัดหมายรับวัคซีนเองด้วยเช่นกันที่แม่สอด
การปิดพรมแดนหมายถึงการที่เขาไม่สามารถทำงานเกือบหนึ่งปี ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบากสำหรับพ่อลูกสามอย่างเช่นเขา ภรรยาของเขา วาฮี ดาว ติดเชื้อโควิด-19 แต่มีอาการไม่รุนแรง ขณะนี้เธอกำลังรอรับวัคซีนเข็มที่สอง เกรียงศักดิ์คิดว่าการฉีดวัคซีนสามารถปกป้องตัวเขาและครอบครัวได้ และจะช่วยให้เขาได้กลับมาทำงานอย่างเต็มตัว
โก แสดงบัตรรับรองการฉีดวัคซีนซึ่งเป็นสองภาษา เขาอยู่ในเมืองไทยมากว่า 20 ปีแล้วโดยทำธุรกิจส่งออกผักด้วยการขนส่งผักสดไปยังเมียนมา ยอดการสั่งซื้อตกและเวลาที่ใช้ในการขนส่งเพิ่มขึ้น ซึ่งกระทบต่อธุรกิจของเขาอย่างรุนแรงในช่วงการระบาดสูงสุดของโรคโควิด-19 เขาต้องอยู่บ้านกับครอบครัวเพื่อป้องกันสมาชิกในครอบครัวจากการติดเชื้อและมีการตรวจเอทีเคทุก 15 วัน ขณะนี้สมาชิกในครอบครัวของเขาทุกคนได้รับวัคซีนในประเทศไทยแล้ว และเขาอยากเห็นทุกคนได้เข้าถึงวัคซีนเพื่อปกป้องชุมชนของพวกเขา
บิว วัย 45 ปี มาพร้อมเจ้าของไร่ข้าวโพดเพื่อฉีดวัคซีนที่ศูนย์ฉีดวัคซีนของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่สอด เธอดีใจที่ได้รับวัคซีน
อ่านต้นฉบับจากองค์การอนามัยโลก
Tags: #โรคโควิด19 #วัคซีน #ไทย