การขับเคลื่อนสังคมของ 10 เยาวชนนักสร้างความเปลี่ยนแปลงแห่งเครือข่ายผู้นำคนรุ่นใหม่ SDGs Youth Panel
ㅤ
SDGs Youth Panel
เพราะคนรุ่นใหม่กำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางของการขับเคลื่อนสังคม พวกเขาเต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง ความคิดสร้างสรรค์ และมุมมองที่กว้างไกลสู่อนาคตของโลกอันยั่งยืน เราจึงอยากชวนให้คุณติดตามเรื่องราวของ 10 คนรุ่นใหม่แห่งเครือข่าย SDGs Youth Panel ผู้นำเยาวชนชาวไทยที่มุ่งมั่นขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนในหลากหลายมิติ ผ่านซีรีส์บทความ 10 ตอน ตลอด 2 เดือนสุดท้ายของปีนี้
บทความแต่ละตอนจะพาไปทำความรู้จักเยาวชนแต่ละคน โดยทั้ง 10 คนเป็นผู้นำการขับเคลื่อนสังคมบนเส้นทางที่แตกต่างกัน แต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือจุดประกายให้ผู้คนมาร่วมมือกันสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น
"แม้จะผ่านประสบการณ์มาแล้วมากมาย แต่ทุกคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าการเดินทางเพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นของพวกเขา เพิ่งจะเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น"
ภารกิจของพวกเขานับจากนี้ คือการเป็นผู้ที่จะช่วยสะท้อนความคิดเห็นจากมุมมองของเยาวชน ตลอดจนเป็นแกนนำในการดึงดูดคนรุ่นใหม่มาร่วมกันต่อเติมการดำเนินงานด้านความยั่งยืนให้ยิ่งแข็งแกร่ง เพื่อเป็นการสนับสนุนกรอบความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน วาระปี พ.ศ. 2565-2569 (United Nations Sustainable Development Cooperation Framework - UNSDCF 2022-2026) ระหว่างสหประชาชาติและประเทศไทย
เครือข่าย SDGs Youth Panel เกิดขึ้นจากการริเริ่มของสำนักงานผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย ด้วยการสนับสนุนจากคณะทำงานกลุ่มย่อยด้านเยาวชนของทีมงานสหประชาชาติ นำโดยกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA Thailand) และกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF Thailand)
เมื่ออ่านบทความของผู้นำเยาวชนแต่ละคนจบ เราหวังว่าเรื่องราวของพวกเขาจะสร้างแรงบันดาลใจให้คุณได้เช่นกัน! (โปรเจ็คนี้คือความร่วมมือระหว่างเยาวชนของจริงทั้งทีมงาน ทั้งผู้เขียน-ให้สัมภาษณ์-ถ่ายภาพ)
ฮารีส จิมัน ผู้สร้าง “บอร์ดเกม” ที่สร้างพื้นที่ตรงกลางด้วยกฎกติกาเดียว คือการสนทนาอย่างปลอดภัยBelieve In Equality Card Game หรือ BIE Card Game สร้างสรรค์ขึ้นโดย ฮารีส-มูฮัมหมัดฮารีส จิมัน หนึ่งในคนรุ่นใหม่แห่งเครือข่าย SDGs Youth Panel ผู้อยากเห็นความเสมอภาคผลิบานขึ้นอย่างแข็งแรงในสังคมไทย โดยบอร์ดเกมส์นี้จะทำให้เพื่อน ๆ ทุกเพศ ทุกวัย ไม่ว่าจะนับถือศาสนาอะไร สามารถมานั่งล้อมวงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ ไปด้วยกันได้ อย่างเคารพและเปิดใจให้กัน อ่านบทสัมภาษณ์ >> |
||
เอม-อมินตา เพิ่มพูนวิวัฒน์ นักสื่อสารด้าน Climate Change ผู้สร้างโปรเจกต์การเรียนรู้ที่ใช้วิธีแบบพี่สอนน้องเมื่อพูดถึง “ภาวะโลกร้อน” หลายคนอาจรู้สึกว่านี่เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก เพราะเต็มไปด้วยศัพท์ทางวิทยาศาสตร์มากมาย ดังนั้นการอธิบายเรื่องยากให้ทุกคนเข้าใจได้ง่าย จึงเป็นทักษะที่สำคัญมากในการสื่อสารให้ทุกคนรับรู้ถึงวิกฤติสิ่งแวดล้อมที่โลกของเรากำลังเผชิญ ตอนที่ 2 ของซีรีส์บทความเครือข่ายผู้นำเยาวชน SDGs Youth Panel สหประชาชาติ ประเทศไทย พาทุกคนทำความรู้จักเอม-อมินตา เพิ่มพูนวิวัฒน์ ผู้เป็นทั้งนักพูดที่อภิปรายเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างเฉียบคม และนักสร้างการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ที่ตั้งใจพัฒนาเรื่องศึกษาไทยควบคู่ไปกับความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อ่านบทสัมภาษณ์>> |
||
อาหารรักษาโรคและโลกใบนี้ได้ นันทพร ตีระพงศ์ไพบูลย์ เชฟอาหารบำบัดและนักขับเคลื่อนการกินยั่งยืน“อาหารเป็นยาที่สามารถรักษาโรคและโลกใบนี้ได้” คำกล่าวของพลอย-นันทพร ตีระพงศ์ไพบูลย์ นักขับเคลื่อนเรื่องขยะอาหาร (Food Waste) และอาหารส่วนเกิน (Food Surplus) อะไรทำให้เธอเชื่ออย่างนั้น? ตอนที่ 3 ของซีรีส์บทความ SDGs Youth Panel สหประชาชาติ ประเทศไทย ชวนคุณอ่านเรื่องราวการเดินทางเพื่อผลักดันการกินยั่งยืนที่มีครบทุกรสชาติของผู้ที่เชื่อว่าเราทุกคนเป็นฮีโร่ช่วยโลกได้ในทุกมื้ออาหาร อ่านบทสัมภาษณ์>> |
||
วงล้อวีลแชร์ ธันย์-ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ ผู้ใช้พลังบวกเชื่อมโยง อาชีพและโอกาสไปยังผู้พิการ ให้ก้าวต่อไปให้ไกลกว่าเดิมเพราะเชื่อว่าชีวิตเป็นโอกาสมากกว่าอุปสรรค เธอจึงใช้ชีวิตเต็มที่กับทุกด้าน ทั้งบินรอบโลก ดำน้ำ วิ่งมาราธอน เหล่านี้แม้อุบัติเหตุไม่คาดฝัน 14 ปีก่อน จะทำให้ธันย์ ต้องสูญเสียขาทั้งสองข้างไปตลอดชีวิต ตอน 4 ซีรีส์บทความ SDGs Youth Panel สหประชาชาติ ประเทศไทย นำเสนอเรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้มีความพิการเห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้น และเพิ่มความรู้ให้คนทั่วไปเรื่องสิทธิที่คนทุกคนในสังคมพึงได้รับอย่างเท่าเทียมกัน อ่านบทสัมภาษณ์>> |
||
เมื่อคนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาสร้างนโยบายสุขภาพ ณัฐณิชา มานะบริบูรณ์ นักเรียนแพทย์ผู้ฝันอยากเป็นนักขับเคลื่อนจากเด็กสายวิทย์ที่ลงแข่งภูมิศาสตร์โอลิมปิก จนเป็นนักศึกษาแพทย์ไทยคนแรกที่ได้เข้าร่วมประชุม World Health Assembly กับองค์การอนามัยโลก สหประชาชาติ ณ เจนีวา... อะไร "ชาเล็นจ์" เมจิ-ณัฐณิชา มานะบริบูรณ์ ให้ต้องการเปลี่ยนแปลงนโยบายสุขภาพในสังคม หาคำตอบได้ในตอนที่ 5 ของซีรีส์บทความ SDGs Youth Panel พร้อม ๆ กัน อ่านบทสัมภาษณ์>> |
||
เรื่องเพศต้องคุยได้ สอง-ยศวดี ดิสสระ แห่งสภาเด็กและเยาวชนกับการพลิกโฉมสุขภาพทางเพศของวัยรุ่นไทยตอนที่ 6 ซีรีส์บทความ SDGs Youth Panel เราคุยกับ “สอง” ยศวดี ดิสสระ รองประธานสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย ผู้ผลักดันการพลิกโฉมสุขภาพทางเพศวัยรุ่นไทย รวมทั้งการสอนเรื่องเพศแบบครอบคลุมทุกมิติ ที่ไม่ได้จบแค่เรื่องการสวมถุงยางอนามัยหรือการกินยาคุมกำเนิดเท่านั้น แต่เริ่มตั้งแต่เรื่องสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของวัยรุ่น อ่านบทสัมภาษณ์>> |
||
|
ฑิตยา บุณยรัตพันธุ์ นักเรียนแพทย์ผู้สร้างสรรค์สุขภาวะทางเพศด้วยการสร้างค่านิยมใหม่ตอนที่ 7 ของซีรีส์บทความ SDGs Youth Panel นำเสนอเรื่องราวของ "ปัน" ฑิตยา บุณยรัตพันธุ์ นักเรียนแพทย์ชาวไทยที่เคยเป็นผู้ช่วยระดับภูมิภาคของ SCORA Asia Pacific ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของนักศึกษาแพทย์ผู้สนใจประเด็นทางเพศและมุ่งมั่นที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น โดยเธอเชื่อว่านักศึกษาแพทย์ในวันนี้ คือกำลังสำคัญของการระบบสาธารณสุขในอนาคต และการผลักดันประเด็นทางเพศ เป็นหนึ่งในหัวใจของการสร้างสุขภาพที่ดีให้ผู้คน ตลอดจนพัฒนาระบบสุขภาพที่แข็งแรง อ่านบทสัมภาษณ์>> |
|
|
เปรมศักดิ์ แสงจันทร์ ผู้ขับเคลื่อนสุขภาวะของเยาวชนกลุ่มเปราะบางผ่านการสร้างพื้นที่ปลอดภัยอะไรคืออคติและการตีตราตัดสินที่ขวางกั้นชีวิตและตัวตนของวัยรุ่นกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะเด็กที่เติบโตในมูลนิธิและสิ่งที่พวกเขาต้องการสื่อสารผ่านสังคมที่เปิดโอกาสมีอะไรบ้าง? สำหรับตอนที่ 8 ของซีรีส์บทความ SDGs Youth Panel สหประชาชาติประเทศไทยพาทุกคนไปทำความรู้จัก "เปรม" เปรมศักดิ์ แสงจันทร์ ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และแกนนำเยาวชนมูลนิธิเครือข่ายเยาวชนกับเป้าหมายการสร้างพื้นที่ปลอดภัยเพื่อเด็ก อ่านบทสัมภาษณ์>> |
|
|
นรวัฒน์ ตะเวที มองเห็นอะไรใน 'โลกสองใบ' ของคนพิการทางสายตาจะอยู่ยังไง ถ้าวันหนึ่งเรามองไม่เห็น กลายเป็นคนพิการ? "เบส" นรวัฒน์ ตะเวที เคยมองเห็นได้ปกติ แต่โรคทางพันธุกรรมทำให้เขาสูญเสียการมองเห็นและกลายเป็นคนพิการทางสายตาประเภทเลือนรางตอนอายุ 14 ตอนที่ 9 ของซีรีส์บทความ SDGs Youth Panel นำเสนอเรื่องราวของเบส และชวนทุกคนมาเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันว่าเขาใช้เทคโนโลยีเสียงเป็นดวงตา เปิดโอกาสสร้างอาชีพให้คนตาบอดได้อย่างไร อ่านบทสัมภาษณ์>> |
|
|
|
พัทธ์ธีญา ยงค์สงวนชัย เมื่อการสื่อสารเรื่อง Climate Change ที่ทรงพลัง เปลี่ยนความคิดคนและโลกได้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย น้ำท่วมโลก หมีขั้วโลกไม่มีที่อยู่ นี่คือภาพที่คนมักจะนึกถึงเวลาพูดถึงภาวะโลกร้อน แต่ "เกรซ" พัทธ์ธีญา ยงค์สงวนชัย มองไปไกลกว่านั้น ปัญหาโลกร้อนมันใกล้ตัวเรากว่าที่คิด ตอนสุดท้ายของซีรีส์บทความ SDGs Youth Panel ชวนคุณอ่านว่าตัวแทนเสียงของคนรุ่นใหม่ไทย ใช้การสื่อสารที่จุดประกาย ส่งต่อความคิดสู่ข้อเสนอนโยบายถึงผู้นำในเวทีระดับชาติและระดับโลกได้อย่างไร อ่านบทสัมภาษณ์>> |