ทีมงานของเราใน ประเทศไทย

กีต้า ซับบระวาล

กีต้า ซับบระวาล

ยูเอ็น
ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศ
กีต้า ซับระวาล ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนสหประชาชาติประจำประเทศไทยเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2563 และมีประสบการณ์กว่า 25 ปีในด้านการพัฒนา การสร้างสันติภาพ การปกครอง และนโยบายสังคมในหลายประเทศในเอเชีย ควบคู่ไปกับการสร้างและการวิเคราะห์ข้อมูลบิ๊กดาตาและข้อมูลเชิงประจักษ์เพื่อจัดการกับความท้าทายในการพัฒนาที่เกิดขึ้น กีต้าสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านการบริหารการพัฒนาจากมหาวิทยาลัยเวลส์ (University of Wales) สหราชอาณาจักร และเป็นผู้เขียนเอกสารเชิงนโยบายหลายฉบับเกี่ยวข้องกับเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คยองซัน คิม

คยองซัน คิม

UNICEF
ผู้แทนองค์การยูนิเซฟประเทศไทย
คยองซัน คิม ดำรงตำแหน่งผู้แทนยูนิเซฟประจำประเทศไทยตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 ก่อนหน้านี้ได้ดำรงตำแหน่งผู้แทนยูนิเซฟประจำประเทศปานามาระหว่างปี 2555 ถึง 2559 คิมยังเคยเป็นที่ปรึกษาอาวุโสของยูนิเซฟในนิวยอร์ก รับหน้าที่บริหารความร่วมมือภายนอกและพันธมิตร คุณคิมปฏิบัติหน้าที่ ณ กรุงคาร์ทูม ประเทศซูดานในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญโครงการอาวุโสของยูนิเซฟจนถึงปี 2555 นอกจากนี้ ก่อนที่จะร่วมงานกับยูนิเซฟในปี 2544 ในฐานะเจ้าหน้าที่ระดับแรกเข้า คิมได้ทำงานให้กับมูลนิธิเกาหลี (Korea Foundation) ที่สนับสนุนการวิจัยเพื่อสร้างสันติภาพระหว่างสองประเทศเกาหลี เธอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านนโยบายสาธารณะจากมหาวิทยาลัย Princeton University’s School of Public and International Affairs คิมเป็นพลเมืองของสาธารณรัฐเกาหลี สมรสแล้ว มีบุตรสาว 2 คนและบุตรชาย 1 คน
จงจิน คิม

จงจิน คิม

FAO
ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และผู้แทนประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
 
จงจิน คิม เป็นพลเมืองของสาธารณรัฐเกาหลี และมีอาชีพในแวดวงราชการที่โดดเด่นมายาวนาน เขาเข้าร่วม FAO ในปี 2013 ในตำแหน่งผู้อำนวยการแผนกความร่วมมือใต้ – ใต้และการระดมทรัพยากร และก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งปัจจุบันได้ไม่นาน เขาได้ดำรงตำแหน่งรองผู้แทนภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกของ FAO ในกรุงเทพฯ ประเทศไทย ก่อนที่จะเข้าร่วมงานกับ FAO จงจิน คิมเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการการค้า ภายใต้กระทรวงอาหาร การเกษตร ป่าไม้ และการประมง (MIFAFF) ในสาธารณรัฐเกาหลี (2010 – 2013) เขาสำเร็จปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอคลาโฮมา (Oklahoma State University) ในสหรัฐอเมริกา และสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเกาหลี (Korea University)
จูเซปเป เด วินเชนติส

จูเซปเป เด วินเชนติส

UNHCR
ผู้แทนสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ประจำประเทศไทย
 
จูเซปเป เด วินเชนติส ดำรงตำแหน่งผู้แทนสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ประจำประเทศไทย ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2018 ก่อนเข้ารับหน้าที่ในประเทศไทย เขาเป็นผู้แทน UNHCR ในประเทศเมียนมาร์ และมีประสบการณ์ทำงานกับ UNHCR ประมาณ 30 ปี เขาทำงานในบทบาทต่าง ๆ ในเจนีวา เวียดนาม กัมพูชา และอิหร่าน แต่เดิมประกอบอาชีพทนายความและสำเร็จการศึกษาคณะนิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเนเปิลส์ (University of Naples) จูเซปเปเป็นพลเมืองของประเทศอิตาลี สมรสแล้วและมีบุตรสองคน
Mr Julien Garsany

จูเลียง การ์ซานี

UNODC
รองผู้แทนระดับภูมิภาค
คุณจูเลียง การ์ซานี ดำรงตำแหน่งรองผู้แทนระดับภูมิภาคของ UNODC ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก เขาให้การสนับสนุนประเทศต่าง ๆ ในการตอบสนองต่อการก่ออาชญากรรม การก่อการร้าย การทุจริต อาชญากรรมทางการเงิน การค้ามนุษย์ อาวุธ และยาเสพติด และเสริมสร้างความยุติธรรมทางอาญาและการป้องกันและเยียวยาการใช้ยาเสพติด และเอชไอวี/เอดส์ โดยตั้งแต่ปี 2014-2018 เขาดำรงตำแหน่งรองผู้แทนภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือในประเทศอียิปต์ คุณจูเลียงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านการป้องกัน ความมั่นคงระหว่างประเทศ และข่าวกรองทางเศรษฐกิจจากมหาวิทยาลัย Nice - Sophia Antipolis University และปริญญาโทด้านการศึกษานานาชาติขั้นสูงจาก Diplomatic Academy of Vienna คุณจูเลียงเป็นพลเมืองฝรั่งเศส
Shalina Miah

ชาลินา มิอาห์

UNV
ผู้จัดการระดับภูมิภาค
คุณชาลินา มิอาห์ เป็นผู้จัดการของ UNV ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ก่อนหน้านี้เธอเป็นผู้นำให้กับหน่วยความร่วมมือของ UNV ที่บอนน์ คุณชาลินาร่วมงานกับ UNV หลังจากดำรงตำแหน่งผู้จัดการสำนักงานภูมิภาคของกองทุนพัฒนาเงินทุนแห่งสหประชาชาติ (UNCDF) ในกรุงเทพฯ ก่อนที่จะร่วมงานกับ UNCDF เธอดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านข้อตกลงการจัดหาเงินทุนร่วมให้กับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ในนิวยอร์ก และก่อนที่ร่วมงานกับสหประชาชาติ เธอดำรงตำแหน่งที่ปรึกษากฎหมายในกรุงมะนิลาให้กับธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย และให้กับธาคารโลกในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ชาลินามีประสบการณ์มากกว่า 20 ปีทั้งในภาคเอกชนและองค์กรพหุภาคี เธอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท 3 สาขา ได้แก่ กฎหมายการค้าระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัย King’s College กฎหมายธุรกิจยุโรปจาก La Sorbonne ในกรุงปารีส ฝรั่งเศส และกฎหมายองค์กรจาก University Catholique of Louvain ในเบลเยียม
Shigeru Aoyagi

ชิเงรุ อาโอยางิ

UNESCO
ผู้อำนวยการระดับประเทศ
คุณชิเงรุ อาโอยางิ ผู้อำนวยการสำนักงานยูเนสโกในกรุงเทพฯ และผู้แทนยูเนสโกประจำประเทศไทย เมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสิงคโปร์ ได้ร่วมงานกับยูเนสโกตั้งแต่ปี 1984ผ่านโครงการด้านการศึกษาและวัฒนธรรมของศูนย์วัฒนธรรมเอเชีย/แปซิฟิกสำหรับยูเนสโก (ACCU) ในกรุงโตเกียว คุณชิเงรุร่วมงานกับยูเนสโกในปี 2002 ในตำแหน่งหัวหน้าแผนกการรู้หนังสือและการศึกษานอกโรงเรียน ในฝ่ายการศึกษา ณ กรุงปารีส คุณชิเงรุยังเคยเป็นผู้อำนวยการสำนักงานยูเนสโกในกรุงคาบูล และเป็นผู้แทนยูเนสโกประจำประเทศอัฟกานิสถาน เขาริเริ่มโครงการการรู้หนังสือขนานใหญ่เพื่อเสิรมพลังด้านการรู้หนังสือในประเทศอัฟกานิสถาน ใน 2012 คุณชิเงรุได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานยูเนสโกในกรุงนิวเดลี และเป็นผู้แทนยูเนสโกประจำอินเดีย ภูฏาน มัลดีฟส์ และศรีลังกา นอกจากนี้เขายังเป็นผู้นำในการพัฒนากรอบการทำงาน SAARC Framework for Action for Education 2030
Ms Sarah Knibbs

ซาร่าห์ นิบส์

UN WOMEN
รักษาการผู้อำนวยการ สำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และผู้แทนประจำประเทศไทย
คุณซาราห์ นิบส์ ทำงานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมาตลอด 25 ปีที่ผ่านมาให้กับองค์กรต่าง ๆ มากมายรวมถึง UN Women, UNFPA, DFID China, Save the Children Fund, VSO และกลุ่มพันธมิตร NGO HIV/AIDS ของกัมพูชา งานของเธอมุ่งเน้นไปที่เพศ ความรุนแรงต่อผู้หญิง เอชไอวี ปัญหาเยาวชน และสุขภาพและสิทธิทางเพศและการเจริญพันธุ์ คุณซาราห์ร่วมงานกับ UN Women กัมพูชาในปี 2014 และดำรงตำแหน่งผู้แทนประเทศตั้งแต่เดือนมกราคม 2018 คุณซาราห์มาจากสหราชอาณาจักร และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านประวัติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ต่อมาได้รับปริญญาโทสาขาการจัดการการพัฒนา เอกประชากรและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่มหาวิทยาลัยเวลส์ สวอนซี (University of Wales Swansea)
Sylvie Betemps Cochin

ซิลวี เบต็อง โคชัง

ITC
เจ้าหน้าที่อาวุโสฝ่ายส่งเสริมการค้า
ซิลวี เบต็อง โคชัง ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าอาวุโสฝ่ายส่งเสริมการค้า ของ ITC สำนักงานเอเชียและแปซิฟิก ซิลวีมีประสบการณ์มากกว่า 19 ปีในการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ การออกแบบและบริหารโครงการ การระดมทุน การช่วยเหลือทางวิชาการด้านการค้า และการสร้างขีดความสามารถทางการค้าในเอเชียและแอฟริกา ก่อนหน้านี้ เธอเป็นที่ปรึกษาโครงการขนาดใหญ่เพื่อการบูรณาการทางเศรษฐกิจและการค้าในภูมิภาคแอฟริกา เธอยังเป็นผู้จัดการโครงการระดับภูมิภาค สนับสนุนการส่งเสริมการค้าทางใต้-ใต้ การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเอเชียและแอฟริกา ซิลวีสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจาก Institute of Political Economy ประเทศฝรั่งเศส
ผู้อำนวยการ UNFPA ประจำประเทศไทย

ดร. โอซา ทอคิลส์สัน

UNFPA
ผู้อำนวยการ UNFPA ประจำประเทศไทย
 
 
ดร. โอซา ทอคิลส์สัน ร่วมงานกับ UNFPA ในฐานะ ผู้แทน UNFPA ประจำประเทศมาเลเซียและผู้อำนวยการ UNFPA ประจำประเทศไทย เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 โดยก่อนหน้านี้นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2551 ดร. โอซาได้ดำรงตำแหน่งผู้แทน UNFPA ประจำบังกลาเทศ ซึ่งเป็นสำนักงานที่มีการดำเนินงานที่ใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของ UNFPA และมีการดำเนินงานที่สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญผ่านการดำเนินงานด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาสาธารณภัย การช่วยผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากวิกฤตโควิด-19

ดร.โอซา ผ่านการทำงานในประเทศต่าง ๆ มามากกว่า 20 ปี ในหน่วยงานต่าง ๆ ของสหประชาชาติ เช่น FAO, IFAD, UN Women และ World Bank รวมทั้งยังเคยทำงานในสถาบันการศึกษา สถานบันของรัฐ ภาคประชาสังคมหรือ NGO และภาคเอกชน โดยในงานทั้งหมดมุ่งเน้นให้เกิดความเท่าเทียมกันทางเพศ การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมุ่งขยายพื้นที่และที่ยืนให้กับผู้หญิง ดร.โอซาจบปริญญาเอกด้านสังคมศาสตร์จาก University of Stockholm ปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์เพื่อการพัฒนาจาก Gothenburg School of Business and Commercial Law จบปริญญาตรีด้านสังคมวิทยาจาก Vaxjo University โดยการศึกษาทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของการวิจัยเรื่องเพศและการพัฒนาในประเทศเอธิโอเปียและการวิเคราะห์แบบสหวิชาชีพ ดร.โอซายังเป็นผู้เขียนและผู้เขียนร่วมในงานพิมพ์หลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ การสร้างศักยภาพให้กับผู้หญิง และยังเป็นนักวิจัยของ Rockefeller Bellagio Centre อีกด้วย
จอส ฟอนเดลาร์

น.พ.จอส ฟอนเดลาร์

WHO
ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย
 
 
น.พ.จอส ฟอนเดลาร์ เป็นผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2564 ก่อนตำแหน่งปัจจุบัน ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการระดับภูมิภาคด้านภาวะฉุกเฉิน ประจำองค์การอนามัยโลกสำนักงานภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2563

น.พ.จอสได้เริ่มทำงานในปี พ.ศ.2529 กับองค์การแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) ซึ่งเป็นองค์การเพื่อสาธารณประโยชน์ และได้ทำงานในภาวะฉุกเฉินในประเทศเซียราลีโอน ซูดานใต้ ซูรินามและประเทศไทย หลังจากนั้น ได้ทำงานด้านการโยกย้ายถิ่นฐานและสุขภาพผู้ลี้ภัยให้แก่องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ในประเทศเวียดนาม โครเอเชีย บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา และสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติในประเทศเมียนมา ในปี พ.ศ.2539 ได้เข้าทำงานกับองค์การอนามัยโลกในตำแหน่งด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในประเทศฟิลิปปินส์ อินเดียและเมียนมา ในปี พ.ศ.2544 ได้เข้าทำงานกับองค์การยูนิเซฟที่กรุงเจนีวา และจากปีพ.ศ.2552 ถึง 2558 ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ขององค์การยูนิเซฟที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา จากปีพ.ศ.2558 ถึง 2563 ดำรงตำแหน่งผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศเนปาล โดยได้กำกับดูแลการสนับสนุนงานด้านสาธารณสุขให้แก่รัฐบาลเนปาล

น.พ.จอสเป็นชาวเบลเยียมและสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคาธอลิกแห่งเมืองเลอเวน ประเทศเบลเยียม ได้รับประกาศนียบัตรด้านเวชศาสตร์เขตร้อนจากสถาบันเวชศาสตร์เขตร้อน เมืองแอนต์เวิร์ป ประเทศเบลเยียม และสำเร็จการศึกษาระดับมหาบัณฑิต ด้านสาธารณสุข จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา
Ms. Patchara Benjarattanaporn

พัชรา เบญจรัตนาภรณ์

UNAIDS
ผู้อำนวยการประเทศ
 
คุณพัชรา เบญจรัตนาภรณ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ UNAIDS ประจำประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2017 ก่อนหน้านี้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาข้อมูลเชิงกลยุทธ์ให้กับสำนักงานของ UNAIDS ประจำประเทศไทย ก่อนเข้าร่วมงานกับสหประชาชาติคุณพัชราได้ทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศหลายแห่ง เช่น ภารกิจเพื่อการพัฒนาระดับภูมิภาคขององค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) สภาประชากร (Population Council)/สำนักงานภูมิภาค และสำนักงานอนามัยครอบครัวระหว่างประเทศ/สำนักงานภูมิภาค กิจกรรมการจัดการข้อมูลอย่างมีกลยุทธ์และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวีในภูมิภาค ประเทศเมียนมาร์ จีน ลาว ไทย และปาปัวนิวกินี คุณพัชราสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาประชากรศาสตร์ และปริญญาโทสาขาวิจัยประชากรและสังคม เธอเป็นชาวไทย
มาร์ลีน นิลส์สัน

มาร์ลีน นิลส์สัน

UN Environment
รองผู้อำนวยการระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
 
 
มาร์ลิน นิลส์สัน ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ UNEP ตั้งแต่เดือนเมษายน 2023 ด้วยประสบการณ์ในการสนับสนุนผู้บริหารขององค์การสหประชาชาติมากว่า 20 ปี ก่อนหน้านี้เธอเคยดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารโครงการอาวุโส/ผู้ช่วยพิเศษในสำนักงานผู้อำนวยการบริหาร UNEP เมื่อปี 2019 โดยตลอดช่วง 11 ปีของการปฏิบัติที่ UNEP เธอได้บริหารจัดการโครงการสำคัญต่าง ๆ เคยประจำอยู่ที่ Executive Office, Ecosystems Division และ Policy and Program Division

มาร์ลีนมีประสบการณ์ 13 ปี ในด้านการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ เช่นการจัดการวิกฤต การเจรจาสันติภาพ และกิจการทางการเมืองทั้งในภาคสนาม (เอริเทรีย เอธิโอเปีย และซูดาน) รวมทั้งที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก มาร์ลีนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านรัฐศาสตร์
มาร์โก ตัสกาโน-ริวัลตา

มาร์โก ตัสกาโน-ริวัลตา

UNDRR
หัวหน้าสำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
 
 
มาร์โก โตสกาโน-ริวัลตา เป็นหัวหน้าสำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ก่อนหน้านี้ เขาสนับสนุนการร่างและการเจรจากรอบเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (Sendai Framework for Disaster Risk Reduction 2015-2030) ในฐานะเลขานุการของสำนักการประชุมโลกครั้งที่ 3 ขององค์การสหประชาชาติ ว่าด้วยการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ นอกจากนี้ มาร์โกยังดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะทำงานสมัชชาใหญ่ด้านตัวชี้วัดและด้านการบัญญัติศัพท์เกี่ยวกับการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ เขาทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้รายงานพิเศษด้านการคุ้มครองบุคคลในกรณีภัยพิบัติ ของคณะกรรมการกฎหมายระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติในการพัฒนาร่างสนธิสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลในกรณีเกิดภัยพิบัติ รวมทั้งเป็นสมาชิกของคณะกรรมการที่ปรึกษาของประธานคนที่ 75 ของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเรื่องประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) ประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล (LLDCs) และกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาที่เป็นประเทศหมู่เกาะเล็ก ๆ (SIDS) มาร์โกมีประสบการณ์ระดับนานาชาติมากกว่า 20 ปี และทำงานให้กับองค์การสหประชาชาติและองค์กรระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่สำนักงานใหญ่และในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่น การบรรเทาทุกข์ด้านมนุษยธรรม การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การบริหารความยุติธรรม การพัฒนาที่ยั่งยืนและภัยพิบัติ การบริหารความเสี่ยง เขาสำเร็จการศึกษาด้านนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโบโลญญา ประเทศอิตาลี
ศรีนิวาสะ โปปุรี

ศรีนิวาสะ โปปุรี

UN HABITAT
เจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN-Habitat)
 
 
ศรีนิวาสะ ทำงานด้านการพัฒนามากว่า 28 ปี มุ่งเน้นเรื่องการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์เพื่อผลักดันวาระการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัย โดยประสบการณ์กว่า 22 ปี เป็นการร่วมงานกับสหประชาชาติในหลายประเทศของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ประสบการณ์ 5 ปีก่อนหน้านั้นเป็นการทำงานกับรัฐบาลอินเดียและองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ และในเดือนกันยายน 2012 เขาได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ ที่เมืองฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อกำกับดูแลโครงการของ UN-Habitat ในประเทศแถบเอเชียและแปซิฟิก เช่น อัฟกานิสถาน ศรีลังกา มัลดีฟส์ อินเดีย อิหร่าน และไทย
Ms Samina Kadwani

สมีนา กาดวานี

UNOPS
ผู้อำนวยการสำนักงานหลายประเทศ
 
คุณสมีนา กาดวานี เป็นหัวหน้าสำนักงาน UNOPS สำหรับหลายประเทศ ซึ่งตั้งอยู่นอกกรุงเทพฯ ทำหน้าที่ดูแลประเทศไทย อินโดนีเซีย และประเทศในแปซิฟิก ซึ่งกำลังทำงานอย่างใกล้ชิดกับสำนักงาน UNOPS ภูมิภาคเอเชีย ซึ่งปัจจุบันมีการดำเนินงานในประเทศไทย อินโดนีเซีย นิวแคลิโดเนีย ปาเลา ปาปัวนิวกินี สหพันธรัฐไมโครนีเซีย ซามัว และสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ คุณสมีนาทำงานร่วมกับ UNOPS มานานกว่า 20 ปีและดำรงตำแหน่งที่หลากหลายให้กับองค์กรทั้งในด้านการจัดการโครงการ การพัฒนาธุรกิจ และการจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทางภูมิศาสตร์หลายแห่ง ได้แก่ นิวยอร์ก โคเปนเฮเกน เจนีวา และกรุงเทพฯ คุณสมีนาเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรองด้านการจัดการโครงการ และมีประสบการณ์มากมายในการจัดการโครงการขนาดใหญ่ เธอสำเร็จการศึกษาในประเทศอินเดียและสหรัฐอเมริกา
อัตสึโกะ โอคุดะ

อัตสึโกะ โอคุดะ

ITU
ผู้อำนวยการระดับภูมิภาค
คุณอัตสึโกะ โอคุดะ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการระดับภูมิภาคในเดือนเมษายน 2020 ก่อนหน้าที่จะได้รับตำแหน่งใหม่นี้ เธอดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และการพัฒนาของเอสแคป (ESCAP) ในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี 2015 นอกจากนี้คุณอัตสึโกะยังดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายธรรมาภิบาลและการสร้างรัฐให้กับ ESCWA ในกรุงเบรุต และทำหน้าที่ในฐานะหัวหน้าทีมที่รับผิดชอบการจัดการความรู้ให้กับ ESCWA

คุณอัตสึโกะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเกียวโต (Kyoto University) และปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ (Helsinki University) และอยู่ในทำเนียบนักวิจัยด้าน e-Governance ที่มหาวิทยาลัยสหประชาชาติ วิทยาเขต Maastricht Economic and Social Research Institute on Innovation and Technology บทความวิชาการของเธอเกี่ยวกับบรอดแบนด์และ AI ได้รับการเผยแพร่โดย Lee Kwan Yew School of Public Policy
Géraldine Ansart

เจรัลดีน อ็องซาร์

IOM
หัวหน้าภารกิจ
เจรัลดีน อ็องซาร์ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภารกิจขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ประจำประเทศไทยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 เธอมีประสบการณ์มากกว่า 15 ปีในภารกิจด้านมนุษยธรรมและการทำโครงการ ก่อนหน้านี้เธอเป็นผู้ประสานงานในสภาวะวิกฤตของซีเรียให้กับ IOM เป็นหัวหน้าความร่วมมือ IOM ECHO ในกรุงบรัสเซลส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการโยกย้ายถิ่นและการพัฒนาสำหรับเขตเกรตเลกส์ของทวีปแอฟริกา เจรัลดีนสำเร็จการศึกษาด้านกฎหมายมหาชนและรัฐศาสตร์ และสำเร็จปริญญาโทการบริหารระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัย Sorbonne University
เรอโน เมแยร์

เรอโน เมแยร์

UNDP
ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย
เรอโน เมแยร์ เข้ารับตำแหน่งผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย เมื่อเดือนมีนาคม 2019 ก่อนหน้านั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการประจำประเทศ ที่ UNDP ประจำประเทศเนปาล ตั้งแต่เดือนมกราคม 2015 ก่อนที่จะเข้าร่วมงานกับสหประชาชาติ เรอโนด์ทำงานในประเทศตูนิเซียให้กับกระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศส คุณเรอโนด์เป็นชาวฝรั่งเศส จบการศึกษาระดับปริญญาโทด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการพัฒนาจากมหาวิทยาลัยสตราสบูร์ก (University of Strasbourg) และจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก Institut D’Etudes Politiques of Strasbourg นอกจากนี้เขายังสำเร็จการศึกษาหลักสูตร 1 ปีที่ School of Foreign Service ที่มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ (Georgetown University) ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา
แกรม บัคลีย์

แกรม บัคลีย์

ILO
ผู้อำนวยการสำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ประจำประเทศไทย กัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสำนักงานคณะทำงานว่าด้วยการทำงานที่มีคุณค่าสำหรับเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิก
 
แกรม บัคลีย์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ประจำประเทศไทย กัมพูชา และสปป. ลาว และสำนักงานคณะทำงานว่าด้วยการทำงานที่มีคุณค่าสำหรับเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิก ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2560 โดยได้ร่วมงานกับ ILO ครั้งแรกในฐานะผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านยุทธศาสตร์การลดความยากจนในปีพ.ศ. 2549 ก่อนที่จะเข้าร่วมกับ ILO เขาใช้เวลา 7 ปีในการทำงานเป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจที่สำนักงานกระทรวงการต่างประเทศและเครือจักรภพ แผนกการพัฒนาระหว่างประเทศของสหราชอาณาจักร แกรมสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา ปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจ และปริญญาตรีสาขาเศรษฐศาสตร์
Jaime Moll de Alba

ไฮเม่ โมล เดอ อัลบา

UNIDO
รักษาการผู้อำนวยการและผู้แทนระดับภูมิภาค
 
 
 
ดร. ไฮเม่ โมล เดอ อัลบา เป็นรักษาการผู้อำนวยการระดับภูมิภาคและผู้แทนของสำนักงานภูมิภาค และผู้อำนวยการสำนักงานระดับภูมิภาคและภาคสนามของยูนิโด เขาเป็นผู้นำในการกำหนดขอบเขตประเด็นที่ยูนิโดจะให้ความสำคัญ และตอบสนองต่อความต้องการของประเทศสมาชิกและพันธมิตรด้านการพัฒนาในระดับชาติไปจนถึงภูมิภาค รวมถึงยังเป็นผู้นำการพัฒนาและติดตามกลยุทธ์และโครงการต่าง ๆ ขององค์กร นอกจากนี้ ดร. ไฮเม่ทำหน้าที่บริหารสำนักงานภาคสนาม 48 แห่งของยูนิโด และสำนักงานระดับภูมิภาค 5 แห่งที่ครอบคลุมภูมิภาคแอฟริกา อาหรับ เอเชียและแปซิฟิก ยุโรปและเอเชียกลาง และลาตินอเมริกาและแคริบเบียน

ก่อนร่วมงานกับยูนิโด เขาทำงานกับคณะกรรมาธิการยุโรปในลักเซมเบิร์กเป็นเวลาหนึ่งทศวรรษเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค ความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยี ดร. ไฮเม่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาการพัฒนาเศรษฐกิจ ในฐานะวิศวกรอุตสาหการผู้มีความเชี่ยวชาญด้านองค์การอุตสาหกรรม และระดับอนุปริญญาสาขา Advanced Studies and Research Sufficiency