ยูเนสโก ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ด้วยการสนับสนุนจากศูนย์ข้อมูลและเครือข่ายเพื่อการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (ICHCAP) ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ่านการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในประเทศไทย โดยเป็นโครงการระยะ 2 ปี (พ.ศ. 2564-65) ที่มุ่งให้ครู กศน. นำมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมมาใช้เป็นเครื่องมือสอนวิชาต่าง ๆ เพิ่มพูนทักษะในการพัฒนารายวิชาที่สอดคล้องกับทักษะการใช้ชีวิตในแต่ละท้องถิ่นและการมีความรู้หลากหลายและรอบด้าน และรู้จักการเชื่อมโยงวัฒนธรรมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในปี พ.ศ. 2564 ยูเนสโกได้จัดการอบรมครูจากสถานศึกษาในสังกัด กศน. เรื่อง การบูรณาการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และได้ประกาศรับแผนการเรียนรู้ที่บูรณาการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในการเรียนการสอน เพื่อคัดเลือกมอบทุนสนับสนุนให้จัดการสอนนำร่องในปี พ.ศ. 2565 โดยศูนย์ กศน. ที่ส่งแผนการเรียนรู้ที่ได้รับคัดเลือก จะได้นำเสนอผลงานการจัดการเรียนการสอนนำร่องในเวทีระดับชาติ ที่งานวันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ ประจำปี พ.ศ. 2565
การจัดการเรียนการสอนนำร่องใน พ.ศ. 2565 นี้ จะเป็นโอกาสอันดีที่ครู กศน. จะได้ร่วมวิเคราะห์และทบทวนรายวิชาของ กศน. และสร้างรายวิชาใหม่ ๆ ที่สะท้อนวิสัยทัศน์ท้องถิ่นเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านต่าง ๆ ทั้งสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ และนำไปสู่ความอยู่ดีมีสุขของคนในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ นอกจากทุนสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนนำร่อง ทุนละ 30,000 บาทแล้ว คณะกรรมการได้ตัดสินให้มอบรางวัลพิเศษด้านการออกแบบแผนการเรียนรู้ที่มีความโดดเด่นในด้านต่าง ๆ ที่สะท้อนวัตถุประสงค์หลักของอนุสัญญาของยูเนสโกและพันธกิจของ กศน. รางวัลละ 20,000 บาทอีกด้วย โดยศูนย์ กศน. และรายวิชาที่ได้รับเลือกให้ดำเนินการนำร่อง ได้แก่
อ่านต้นฉบับจาก ยูเนสโก