กลุ่มยุวศิลปินในประเทศไทยร่วมส่งผลงานเข้าประกวดเพื่อความเท่าเทียมทางเพศโดยใช้ความหลากหลายของสื่ออย่างสร้างสรรค์
กลุ่มยุวศิลปินได้ส่งผลงานเพื่อเรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศ การแข่งขันและนิทรรศการล่าสุดของกลุ่มศิลปินรุ่นเยาว์ในประเทศไทยได้แสดงให้เห็นถึงความสร้างสรรค์พร้อมด้วยความปรารถนาให้โลกใบนี้เป็นที่ปราศจากทัศนคติเหมารวมด้านเพศ การเลือกปฏิบัติ และความรุนแรงทางเพศ ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นการประชุมสุดยอดความร่วมมือระหว่างองค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสและเม็กซิโกประจำประเทศไทย ภายใต้บริบทของ การประชุมยุคสมัยแห่งความเท่าเทียม ซึ่งเป็นการประชุมสุดยอด ณ กรุงปารีส ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม
กรุงเทพ ประเทศไทย – ผลงานที่น่าประทับใจต่างๆ แสดงออกถึงทัศนคติของเยาวชนที่มีต่อปัญหาเรื่องเพศได้นำมาแสดงในรูปแบบออนไลน์ภายใต้หัวข้อ เสียงของเยาวชนเพื่อยุคสมัยแห่งความเท่าเทียม โครงการที่จัดขึ้นโดยองค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก พร้อมด้วยความร่วมมือจากสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสและเม็กซิโก ประจำประเทศไทย
ผลงานต่างๆ โดยเยาวชนไทยและนานาชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทย ได้แสดงออกถึงการเรียกร้องของศิลปินต่อเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ พลังสตรีและเด็กผู้หญิงผ่านสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นศิลปะการแสดง การเต้นรำ บทกวี ภาพวาด หรืองานคอลลาจ หัวข้อเฉพาะสำหรับกิจกรรมนี้มีตั้งแต่สุขภาวะทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ ตลอดจนความรุนแรงทางเพศ การเคลื่อนไหวสิทธิสตรีเพื่อความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ กระแสสตรีนิยม และภาวะความเป็นผู้นำ
ผลงานที่ชนะการแข่งขันในครั้งนี้ ได้นำเสนอประเด็นเกี่ยวกับ ประเพณี บรรทัดฐานสังคม ศาสนา การศึกษา การละเลยเพิกเฉย การกล่าวโทษเหยื่อ และภาวะสุขภาพทางจิตที่อาจทำให้ผลกระทบอันเนื่องมาจากความไม่เท่าเทียมทางเพศรุนแรงขึ้น ในขณะที่มีการเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ผลงานการแสดงรำไทยในรูปแบบมุมมองร่วมสมัย (modern twists) และการวิพากษ์วิจารณ์ต่อขนบธรรมเนียมที่กำลังเปลี่ยนไป (changing convention) บทกวีบรรยายที่เรียกร้องให้สังคมและพยานแวดล้อม (Bystander) ตระหนักถึงปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ และงานคอลลาจซึ่งพรรณนาเกี่ยวกับผู้หญิงที่พยายามก้าวเข้ามาในกรอบท่ามกลางกลุ่มผู้นำระดับรัฐบาลและในระดับโลกที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย
การจัดการแสดงครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 6 และเป็นครั้งสุดท้ายในกิจกรรมที่จัดร่วมกันภายใต้บริบทของการประชุมยุคสมัยแห่งความเท่าเทียม (Generation Equality forum) กลุ่มสังคมพลเมือง (a civil society-centred) และการรวมตัวระดับโลกที่จัดประชุมโดยองค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ โดยจัดร่วมกับรัฐบาลฝรั่งเศสและเม็กซิโกระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม ณ กรุงปารีส โดยในประเทศไทยได้มีการจัดกิจกรรมเพียง 1 กิจกรรมต่อเดือนตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา เพื่อปลุกจิตสำนึกเกี่ยวกับความสำคัญของการแสดงออกในเรื่องของความเท่าเทียมทางเพศ
การประกาศรับผลงานเข้าประกวด คลอบคลุมผลงานศิลปะหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็นศิลปะการแสดง ทัศนศิลป์และการแสดงออกทางวาทศิลป์ของเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี และเป็นผู้ที่มีถิ่นพำนักในประเทศไทย โดยในกิจกรรมนี้มีผลงานที่เข้าร่วมการแข่งขันกว่า 40 ชิ้น ตั้งแต่วันที่3 - 16 มิถุนายน และมี 9 ผลงานที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการการตรวจสอบภายในและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในเรื่องนี้ และมีผู้ชนะเพียง 3 ท่านเท่านั้นในแต่ละประเภทของศิลปะที่ได้กล่าวมาข้างต้น
คุณโมฮัมหมัด นาซิรี ผู้อำนวยการองค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาพระหว่างเพศแห่งสหประชาชาติ ประจำภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิกกล่าวว่า “เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าศิลปะมีอิทธิพลอย่างมากต่อการรับรู้ในเรื่องของสตรีและเด็กผู้หญิง เป็นเหตุผลที่องค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติมีความภาคภูมิใจกับแรงสนับสนุนเรื่องนี้” “ถึงกระนั้น เราจะต้องทำสิ่งที่ว่านี้ด้วยความตระหนักที่ว่าสตรีนั้นยังคงถูกปิดกั้นจากผลงานด้านศิลปะ อันที่จริงแล้ว รายงานจากองค์การยูเนสโกในสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ระบุว่า แม้จะมีพัฒนาการในเรื่องความเสมอทางเพศ แต่ทว่ายังคงมีความเหลื่อมล้ำทางเพศในอุตสาหกรรมด้านความคิดสร้างสรรค์และวัฒนธรรม ดังนั้นรูปแบบในการแสดงออกผ่านกิจกรรมเหล่านี้ที่มุ่งเน้นถึงประเด็นเรื่องความไม่เท่าเทียม จะสามารถสะท้อนถึงทักษะและการมีส่วนร่วมของเยาวชนหนุ่มสาวไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตามในผลงานศิลปะเพื่อสร้างพลังและแรงบันดาลใจให้แก่ผู้อื่น”
ท่านอลิซาเบธ โมเรโน รัฐมนตรีผู้แทนด้านความเท่าเทียมทางเพศ ความหลากหลายและโอกาสที่เท่าเทียมกัน ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า “ในศตวรรษที่ 21 การต่อสู้เพื่อความเสมอภาคยังคงเป็นประเด็นสำคัญในบริบทของการเกิดโรคระบาด ณ ปัจจุบัน และได้ส่งผลกระทบต่อประชากรกลุ่มเปราะบาง ซึ่งอันดับแรกคือผู้หญิงในหลายๆประเทศ” คุณโมเรโนยังพูดเพิ่มเติมถึงเยาวชนที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมนี้ว่า “ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ชนะในวันนี้ แต่การต่อสู้เพื่อความเสมอภาคระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายจะยังก้าวหน้าต่อไปก็เพราะคุณ ขอขอบคุณในความมุ่งมั่นของพวกคุณค่ะ”
“เพื่อการบรรลุความเสมอภาคทางเพศอย่างเต็มที่นั้น เราต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องด้วยวิถีสตรีนิยมจนกระทั่งเกิดความตระหนักและความยุติธรรมในทุกๆ สังคมทุกมุมของโลก” ท่านเบร์นาโด กอร์โดบา เอกอัครราชทูตเม็กซิโก ประจำประเทศไทยได้กล่าวไว้ กิจกรรมที่จัดขึ้นนี้ยังเปิดโอกาสให้เหล่าศิลปิน ดารา และอินฟลูอินเซอร์ได้ออกมาแสดงจุดยืนในการมีส่วนร่วมเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ และผลักดันความมุ่งมั่นเพื่อความก้าวหน้าของแนวคิดนี้ (this cause) แพท วงเคลียร์ นักร้องสาวชาวไทยได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์เรื่องราวของเธอกับวิถีสตรีนิยมและยังพูดถึงความสำคัญของพลังสตรีและความเชื่อมั่นในศักยภาพของตัวเองเพื่อสร้างสรรค์บทสนทนาที่ปลอดภัยและมั่นคง (healthy conversation) ระหว่างผู้ชายและผู้หญิง
“ดิฉันเป็นหนึ่งในผู้หญิงที่ทำงานในธุรกิจที่ผู้ชายมีโอกาสที่ดีกว่า ดิฉันทราบถึงความท้าทายนี้ค่ะ ตัวดิฉันเองเคยต้องสู้อย่างแรงกล้ากับเรื่องนี้ [..] มันยากสำหรับดิฉันที่จะทำได้สำเร็จเมื่อเทียบกับเพื่อนผู้ชายที่อยู่ในธุรกิจเดียวกัน [..] เราทุกคนไม่ควรหยุดที่จะมีส่วนร่วมในการสร้างจิตสำนึกต่อความเท่าเทียมทางเพศ เนื่องจากเป็นประเด็นที่ทีความหมายอย่างมากต่อพวกเราทุกคน และเพื่อสนับสนุนคนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบเพียงเพราะเพศสภาพของพวกเขา”
สามารถรับชมผลงานต่าง ๆ ภายใต้หัวข้อ “เสียงของเยาวชนเพื่อยุคสมัยแห่งความเท่าเทียม” ในรูปแบบออนไลน์ได้ที่: Facebook.com/UNWomenAsia และ Instagram.com/unwomenasia
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้ชนะและผลงานต่างๆ: ได้ที่นี่
Original article published on UNWomen Asia and the Pacific.