สาเหตุและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ㅤ
เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ ล้วนเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
ก๊าซเรือนกระจกที่ห่มคลุมโลกจะกักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์ไว้บนโลก ซึ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในปัจจุบันภาวะโลกร้อนกำลังเกิดขึ้นเร็วมากกว่าครั้งใดที่เคยมีการบันทึกในประวัติศาสตร์ ขณะที่อุณหภูมิที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทำให้สภาพภูมิอากาศแปรปรวนและส่งผลกระทบอย่างมากต่อความสมดุลของธรรมชาติ และจะก่อให้เกิดความเสี่ยงมากมายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ บนโลก |
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ—วิทยาศาสตร์กายภาพ ▼
|
|
1. กิจกรรมของมนุษย์ได้ทำให้ชั้นบรรยากาศ มหาสมุทร และพื้นโลกร้อนขึ้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเป็นวงในบริเวณกว้างทั้งในชั้นบรรยากาศ มหาสมุทร ภาคพื้นที่เป็นหิมะและน้ำแข็ง รวมถึงชีวมณฑล
2. ระบบภูมิอากาศของโลกระดับกำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลงในระดับที่ที่กำลังเกิดขึ้นกับระบบภูมิอากาศของโลกเช่นนี้ไม่เคยมีมาก่อนในช่วงหลายร้อยจนถึงหลายพันปี การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างต้องใช้เวลาจำนวนมากไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพปกตินานนับร้อยจนถึงพันปีกว่าที่จะกลับสู่สภาพเดิมได้ โดยเฉพาะกับมหาสมุทร พืดน้ำแข็ง และระดับน้ำทะเลทั่วโลก
3. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ส่งผลกระทบไปทั่วทุกภูมิภาคมีหลักฐานมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงกับคลื่นความร้อนที่รุนแรง ฝนตกหนักความแห้งแล้ง และพายุหมุนเขตร้อน
4. อุณหภูมิพื้นผิวโลกจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงช่วงกลางศตวรรษเป็นอย่างน้อย หากเราไม่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังไม่ลดลงจนถึงระดับที่เหมาะสมให้เหลือน้อยที่สุดในไม่กี่ศตวรรษข้างหน้า ภาวะโลกร้อนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นผลกระทบด้านสภาพภูมิอากาศจะยิ่งรุนแรงขึ้น
5. เมื่อยิ่งโลกร้อนขึ้น การเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิอากาศก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นความร้อนสุดขั้วที่เกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงขึ้น คลื่นความร้อนในมหาสมุทร ฝนตกหนัก ความแห้งแล้งทางการเกษตรและระบบนิเวศน์ในบางภูมิภาคประสบภัยแล้ง อัตราส่วนการเกิดพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรง ตลอดจนปริมาณการลดลงของน้ำแข็งในทะเล หิมะปกคลุม และชั้นดินเยือกแข็งคงตัวบริเวณขั้วโลกเหนือที่ลดลง
6. ภาวะโลกร้อนที่อย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้วัฏจักรของน้ำทั่วโลกเปลี่ยนแปลงทวีความรุนแรง ผลที่ตามมาคือวัฏจักรนี้และแปรปรวนมากขึ้น รวมถึงเปลี่ยนแปลงปริมาณฝนช่วงมรสุมและความรุนแรงของเหตุการณ์เกี่ยวกับน้ำและความแห้งแล้งก็จะทวีคูณขึ้น
7. เมื่อมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น ความสามารถของมหาสมุทรและผืนดินในการจะดูดซับและชะลอการสะสมของก๊าซนี้ในชั้นบรรยากาศจะลดได้น้อยลง
8. หากเมื่อภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงต่อไป ทุกภูมิภาคจะพบความเปลี่ยนแปลงของปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อด้านสภาพอากาศก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้นในทุกภูมิภาค เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลในวงกว้างขึ้นที่ 2 องศาเซลเซียส ปัจจัยเหล่านี้จะขยายตัวกว้างขึ้นเมื่อเทียบกับ 1.5 องศาเซลเซียส และผลกระทบจะยิ่งกว้างมากขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
9. แม้ว่าการพังทลายของพืดน้ำแข็ง การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของกระแสน้ำการไหลเวียนของน้ำในมหาสมุทร อย่างฉับพลัน และอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นเกินกว่าระดับที่คาดคะเน อาจจะไม่เกิดขึ้นแต่ก็ใช่ว่าผลกระทบเหล่านี้จะเป็นไปไม่ได้
10. เราสามารถแก้ไขการควบคุมภาวะโลกร้อนที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ด้วยการต้องทำโดยการจำกัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสม และลดให้ปริมาณสุทธิเหลือศูนย์เป็นอย่างน้อย นอกจากนี้ยังต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ เช่น ก๊าซมีเทน ให้เหลือน้อยที่สุดด้วย
11. หากสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือน้อยหรือน้อยมากได้ ภายในเวลาไม่กี่ปี เราจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงในผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับระดับความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกและละอองลอย รวมถึงคุณภาพอากาศภายในไม่กี่ปี และจะเห็นความเปลี่ยนแปลงแตกต่างของอุณหภูมิพื้นผิวโลกในระยะเวลาประมาณ 20 ปี
แหล่งที่มา: อ้างอิงจากผลการศึกษาและการคาดคะเนจากรายงาน Climate Change 2021: The Physical Science ของ IPCC (คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ)
ㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤ |
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ▼ |
|
การผลิตพลังงาน
การผลิตพลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนโดยการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกในปริมาณมาก พลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่ยังคงผลิตมาจากการเผาไหม้ถ่านหิน น้ำมันหรือก๊าซ ซึ่งจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซไนตรัสออกไซด์ออกมา ก๊าซทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีอานุภาพในการห่มคลุมโลกและดักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์ พลังงานไฟฟ้าที่ใช้กันทั่วโลกมีประมาณ 1 ใน 4 ส่วนเท่านั้นที่ผลิตจากพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และแหล่งพลังงานหมุนเวียนอื่น ๆ โดยพลังงานเหล่านี้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือมลพิษออกสู่อากาศเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย ซึ่งตรงกันข้ามกับเชื้อเพลิงฟอสซิล
การผลิตสินค้า
กิจกรรมในภาคการผลิตและอุตสาหกรรมก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ส่วนใหญ่มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อให้ได้พลังงานสำหรับการผลิตสินค้าต่าง ๆ เช่น ปูนซีเมนต์ เหล็ก โลหะ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พลาสติก เสื้อผ้า และอื่น ๆ การทำเหมืองแร่และอุตสาหกรรมอื่น ๆ รวมถึงอุตสาหกรรมก่อสร้างก็ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาเช่นกัน เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิตมักใช้พลังงานจากถ่านหิน น้ำมัน หรือก๊าซ วัสดุบางอย่าง เช่น พลาสติก ก็ทำมาจากสารเคมีที่ได้มาจากแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิล อุตสาหกรรมการผลิตเป็นหนึ่งในภาคส่วนที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดทั่วโลก
การตัดไม้ทำลายป่า
ในแต่ละปี พื้นที่ป่าประมาณ 75 ล้านไร่ถูกทำลาย การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำไร่หรือทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์หรือเพื่อจุดประสงค์อื่น ๆ ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพราะต้นไม้ที่ถูกตัดจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มันดูดซับเอาไว้ออกมา การตัดไม้ทำลายป่าจึงเป็นการลดขีดความสามารถของธรรมชาติในการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกไม่ให้ออกสู่ชั้นบรรยากาศ การตัดไม้ทำลายป่า การทำเกษตรและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ที่ดิน มีส่วนทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกถึง 1 ใน 4
การคมนาคมขนส่ง
รถยนต์ รถบรรทุก เรือ และเครื่องบินส่วนใหญ่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล การขนส่งจึงกลายเป็นสาเหตุหลักของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ยานพาหนะบนท้องถนนปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุดเพราะเครื่องยนต์แบบสันดาปภายในต้องอาศัยการเผาไหม้ของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปิโตรเลียม เช่น น้ำมันเบนซิน ตามมาด้วยเรือและเครื่องบิน ปริมาณการปล่อยมลพิษของภาคการขนส่งคิดเป็นเกือบ 1 ใน 4 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานทั่วโลก และการใช้เชื้อเพลิงของภาคการขนส่งก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
การผลิตอาหาร
การผลิตอาหารทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหารก็เช่นกัน เช่น การตัดไม้ทำลายป่าและแผ้วถางที่ดินเพื่อทำการเกษตรและทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ กระบวนการย่อยอาหารของวัวและแกะ การผลิตและการใช้ปุ๋ยและมูลสัตว์การใช้พลังงานสำหรับเครื่องมือทางการเกษตร และเรือประมงส่วนใหญ่ก็มักใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ทั้งหมดนี้ทำให้การผลิตอาหารเป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์อาหารและการกระจายสินค้าอาหารก็ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเช่นกัน
การใช้พลังงานในอาคารบ้านเรือน
อาคารพาณิชย์และอาคารที่พักอาศัยใช้พลังงานไฟฟ้ามากกว่าครึ่งหนึ่งของพลังงานที่ใช้ทั่วโลก ตราบใดที่เรายังคงใช้ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติในการทำความร้อนและความเย็น อาคารบ้านเรือนก็จะเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมหาศาลต่อไป ความต้องการใช้พลังงานในการทำความร้อนและความเย็นนั้นเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากการที่ผู้คนจำนวนมากขึ้นมีเครื่องปรับอากาศใช้ การใช้ไฟฟ้าที่มากขึ้นเพื่อแสงสว่าง เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างก็มีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานในอาคารบ้านเรือนที่สูงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
การบริโภคที่มากเกินไป
บ้านและการใช้พลังงานในบ้าน การเดินทาง สิ่งที่คุณรับประทาน และสิ่งที่คุณทิ้ง ทั้งหมดล้วนมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่นเดียวกับการบริโภคสินค้าต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ และพลาสติก การบริโภคภายในครัวเรือนคือแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกขนาดใหญ่ของโลก รูปแบบการใช้ชีวิตของเราก็มีผลกระทบอย่างมหาศาลต่อโลก และประชากรที่ร่ำรวยที่สุดต้องรับผิดชอบมากที่สุด กล่าวคือ ประชากรโลกที่ร่ำรวยที่สุดซึ่งมีอยู่เพียงร้อยละ 1 ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าร้อยละ 50 ของประชากรโลกที่ยากจนที่สุด |
ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ▼ |
|
อุณหภูมิสูงขึ้น
เมื่อความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกเพิ่มสูงขึ้น อุณหภูมิพื้นผิวของโลกก็จะเพิ่มสูงตามไปด้วยเช่นกัน เกือบทุกภูมิภาคบนโลกต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนมากขึ้นในขณะที่วันซึ่งอากาศร้อนก็มีจำนวนเพิ่มขึ้น ปี 2020 เป็นปีที่อากาศร้อนที่สุดในประวัติการณ์ อุณภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้เกิดโรคและความเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากความร้อน และทำให้การทำงานหรือการเดินทางลำบากขึ้น ไฟป่าก็จะเกิดง่ายขึ้นและลุกลามเร็วกว่าเดิม อุณหภูมิในบริเวณขั้วโลกเหนือสูงขึ้นด้วยความเร็วอย่างน้อย 2 เท่าของค่าเฉลี่ยทั่วโลก
พายุรุนแรงขึ้น
การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิส่งผลต่อปริมาณฝน โดยทำให้เกิดพายุที่รุนแรงขึ้นและถี่ขึ้น เกิดน้ำท่วม ดินถล่ม สร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนและชุมชน คิดเป็นมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ภัยแล้งสาหัสขึ้น
หลายภูมิภาคเริ่มขาดแคลนน้ำ ความแห้งแล้งจะยิ่งทำให้พายุฝุ่นและพายุทรายรุนแรงมากขึ้นจนอาจพัดพาทรายปริมาณหลายพันตันข้ามทวีปได้เลย ทะเลทรายที่ขยายตัวทำให้พื้นที่ในการเพาะปลูกลดลง ผู้คนมากมายไม่มีน้ำดื่มน้ำใช้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต
น้ำทะเลร้อนและสูงขึ้น
มหาสมุทรต้องดูดซับความร้อนส่วนใหญ่อันเกิดจากภาวะโลกร้อน ส่งผลให้น้ำแข็งละลายและระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ซึ่งถือเป็นภัยต่อชุมชนริมชายฝั่งและบนเกาะต่างๆ นอกจากความร้อน มหาสมุทรยังต้องดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ให้ขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศ จนทำให้น้ำทะเลเป็นกรดและเป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเล
สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นภัยต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ทั้งบนบกและในน้ำ ยิ่งอุณหภูมิสูงขึ้น ภัยธรรมชาติก็ยิ่งรุนแรงขึ้น ไม่ว่าจะไฟป่า สภาพภูมิอากาศที่สุดขั้ว หรือการแพร่กระจายของแมลงศัตรูพืชและโรคระบาด สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจย้ายถิ่นอาศัยเพื่อความอยู่รอด ในขณะที่บางชนิดก็ไม่สามารถทำได้ ขณะนี้ โลกกำลังสูญเสียสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่าง ๆในอัตราที่เร็วกว่าช่วงเวลาใด ๆ ที่เคยบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ถึง 1,000 เท่า สิ่งมีชีวิตกว่า 1 ล้านชนิดเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ภายในไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า
อาหารขาดแคลน
สภาพอากาศที่แปรปรวนและรุนแรงซ้ำเติมปัญหาความอดอยากและภาวะทุพโภชนาการ ตลอดจนสร้างความเสียหายต่อการประมง การเพาะปลูก และปศุสัตว์ เพราะความร้อนทำให้แหล่งน้ำแห้งและพื้นที่ทุ่งหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์ลดลง มหาสมุทรที่เป็นกรดมากขึ้นสร้างความเสียหายต่อทรัพยากรทางทะเลที่ใช้หล่อเลี้ยงผู้คนหลายพันล้านคน การเปลี่ยนแปลงของหิมะและน้ำแข็งในบริเวณขั้วโลกเหนือส่งผลกระทบอย่างหนักต่อปริมาณอาหารที่มาจากการเลี้ยงปศุสัตว์ การล่าสัตว์ และการประมง ความร้อนที่สูงยังทำให้ปริมาณน้ำและทุ่งหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์หดหาย กระทบต่อปริมาณพืชผลและปศุสัตว์
ปัญหาสุขภาพ
การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บมากขึ้น เช่น โรคมาลาเรีย ส่งผลให้ผู้คนเจ็บป่วยเสียชีวิตจำนวนมากจนระบบสุขภาพไม่อาจรองรับได้ ส่วนในพื้นที่ที่ไม่สามารถเพาะปลูกหรือหาอาหารได้เพียงพอ ผู้คนก็ต้องเผชิญผลเสียต่อสุขภาพในด้านอื่นด้วย เช่น ความอดอยากและภาวะทุพโภชนาการ
ความยากจนและการพลัดถิ่น
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นตัวกระตุ้นปัจจัยที่นำไปสู่ความยากจน เช่น อุทกภัยที่สร้างความเสียหายแก่ชุมชนแออัดในตัวเมือง บ้านเรือน ตลอดจนชีวิตของผู้คน และความร้อนที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานกลางแจ้ง ภัยพิบัติที่เกิดจากความร้อนทำให้ในแต่ละปีมีผู้คนต้องพลัดถิ่นถึง 23 ล้านคน และอีกนับไม่ถ้วนต้องเผชิญความยากจน |