ข่าวประชาสัมพันธ์

ถึงเวลาให้ชุมชนนําทางมุ่งสู่การยุติเอดส์

24 พฤศจิกายน 2023

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10.00-12.00 น. เครือข่ายชุมชนที่ทํางานเกี่ยวกับเอชไอวี หลากหลายเครือข่ายจากทั่วประเทศ มารวมตัวกัน ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย เป็นการรวมพลังแสดงความมุ่งมั่นเพื่อให้สังคมตระหนักถึงความสําคัญของ – ชมุชนเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าต่อระบบสาธารณสุขและและสังคม สามารถแสดงให้เห็นจากข้อมูลเชิงประจักษ์ที่มีส่วนช่วยให้ประเทศไทยยุติปัญหาเอดส์ได้ เนื่องในวันเอดส์โลก 1 ธันวาคม 2566 ภายใต้คําขวัญ Let Communities Lead: ถึงเวลาให้ชุมชนนําทางมุ่งสู่การยุติเอดส์

เป็นเวลาเกือบ 40 ปีที่ประเทศไทยดําเนินการอย่างเข็มแข็งและต่อเนื่อง ด้วยความมุ่งมั่นเพื่อบรรลุเป้าหมายเพื่อยุติปัญหาเอดส์ ที่เป็นภัยคุกคามทางสาธารณสุข ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ภายในปี 2573

ประเทศไทยเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางและเป็นต้นแบบในระดับนานาชาติของการมีผู้ได้รับผลกระทบ คือผู้ที่อยู่ร่วมกับเอชไอวีลุกขึ้นมาช่วยเหลือดูแลกันแบบ “กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน” ตั้งแต่ปี 2538 และได้รวมกันเป็นเครือข่ายทั้งระดับจังหวัด ภูมิภาค เป็นเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย จากจุดเริ่มต้นแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ต่อมาในปี 2564 มีการพัฒนาสู่งาน “ศูนย์องค์รวม” ซึ่งเป็นรูปธรรมของการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการพัฒนาระบบบริการด้านเอชไอวีร่วมกับโรงพยาบาล กลุ่มผู้ติดเชื้อฯ ได้พลิกบทบาทจาก ผู้รับบริการ เป็นผู้ร่วมจัดบริการ เคียงบ่าเคียงไหล่กับบุคลากรทางการแพทย์ ติดตามดูแลเพื่อน ๆ ทั้งทางด้านสุขภาพ จิตใจ สังคม และร่วมขับเคลื่อนพัฒนาระบบสุขภาพและสิทธิด้า นอื่น ๆ ร่วมกับชุมชน ปัจจุบัน มีกลุ่มที่ทํางานศูนย์องค์รวมทั้งหมด 219 กลุ่ม

"ไม่เพียงแต่ในประเทศไทยแต่เป็นที่ยอมรับของโลกว่า ความเป็นผู้นําของชุมชน โดยชุมชนมีส่วนร่วม ร่วมคิดร่วมทํา เป็นหุ้นส่วนอย่างแท้จริงในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ การวางแผน การจัดบริการ การรณรงค์และการดําเนินการต่าง ๆ เป็นยุทธศาสตร์สําคัญมากและเป็นกุญแจสู่ความสําเร็จ อีกทั้งแนวคิดนี้ยังเป็นต้นแบบของการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขอื่น ๆ ด้วย เช่น โควิด เป็นต้น” กล่าวโดย ดร. พัชรา เบญจรัตนาภรณ์ ผู้อํานวยการโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS)

การมีส่วนร่วมของชุมชนในการยุติปัญหาเอดส์ มีความสําคัญเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณในประเทศไทย ด้วยตระหนักว่าการตั้งรับอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ การระบาดของเอชไอวีเปลี่ยนรูปแบบและเพิ่มขึ้นในผู้ที่มีความเปราะบาง ได้แก่ LGBTQI+, ผู้ใช้สารเสพติด พนักงานบริการ กลุ่มเยาวชน และประชากรข้ามชาติ ดังนั้นจุดแข็งของความเป็นชุมชนคือเข้าใจและเข้าถึงความต้องการ ปัญหาและอุปสรรคของประชากรกลุ่มนี้ที่เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากเอชไอวี ผู้ที่เข้าถึงยาก ผู้ที่ยังมีความกลัว กังวลการตีตราเลือกปฏิบัติ จึงยังไม่เข้าสู่ระบบสุขภาพทั่วไป

คุณสุรางค์ จันทร์แย้ม ประธานคณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ.) และผู้อํานวยการมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ (SWING) กล่าวว่า การดําเนินงานโดยชุมชนและเพื่อชุมชนนับว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สําคัญของการยอมรับในบทบาทและศักยภาพของชุมชนจาก “ผู้รับบริการ” มาเป็น “ผู้ร่วมจัดบริการ” – ในรูปแบบ Community-Led Health Services โดยประเทศได้เข้ามาร่วมสนับสนุนการดําเนินงานภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อสร้างให้เกิดความยั่งยืนในการดําเนินงานของชุมชน ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าของประเทศต่อการแก้ปัญหาเอดส์

เภสัชกรหญิง ดร. ยุพดี ศิริสินสุข รองเลขาธิการสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า การมีส่วนร่วมชองชุมชนเป็นหน่วยร่วมบริการ เป็นยุทธศาสตร์ที่จะทําให้ประเทศไทยยุติเอดส์ได้จริง เข้าถึงประชากรที่ต้องการมากที่สุด ในแต่ละปี สปสช.ได้สนับสนุนงบประมาณสําหรับการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มประชากรเป้าหมาย โดยในปีงบประมาณ 2566 งบประมาณด้านบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เป็นเงิน 575.70 ล้านบาท และจัดสรรให้องค์กรภาคประชาสังคม เพื่อร่วมจัดบริการประมาณ 182.25 ล้านบาทต่อปี เพื่อเข้าถึงการป้องกัน การตรวจเอชไอวี และการรักษาได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้เป็นที่น่ายินดีที่มีองค์กรภาคประชาสังคมเข้ารับการอบรมเพื่อร่วมจัดบริการ จากการพัฒนาหลักสูตรของสถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี หลักสูตรของกรมควบคุมโรค และหลักสูตรของวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีการกําหนดมาตรฐานการจัดบริการเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในชุมชนที่ดําเนินการโดยองค์กรประชาสังคม และการประเมินมาตรฐานของการให้บริการ ทั้งนี้เพื่อเป็นการประกันคุณภาพของอาสาสมัครและองค์กรภาคประชาสังคม ที่เป็นหน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านบริการเอชไอวีฯ กับ สปสช. โดยขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการแล้ว 39 องค์กร นายแพทย์นิติ เหตานุรักษ์ รองอธิบดี กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าปัจจุบันมีอาสาสมัครฯ ที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข 497 คน นอกจากนี้จากหลักสูตรวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล อีก 88 คน รวมจํานวน 585 คน

การเป็นผู้นําของชุมชนในด้านการสะท้อนข้อมูลจากผู้ที่รับบริการหรือจากผู้ได้ผลกระทบโดยตรงอย่างเป็นระบบ นับว่าเป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง เป็นข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ต่อการกําหนดนโยบายและการปรับปรุงการดําเนินงานในทุกระดับได้อย่างดีและตรงเป้า ได้แก่ ระบบติดตามโดยชุมชน (Community-Led Monitoring, CLM) และการสํารวจดัชนีการตีตราผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวี (Stigma Index Survey)

คุณศตายุ สิทธิกาน ผู้อํานวยการมูลนิธิแคร์แมท จังหวัดเชียงใหม่ มีประสบการณ์ตรงในการบริหารจัดการเครื่องมือทั้งสองระบบนี้โดยร่วมพัฒนาประเด็นการกํากับติดตาม และบริการที่มีคุณภาพ โดยยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง รวมถึงการติดตามการตีตราและเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อเอชไอวีในจังหวัด ผ่านระบบติดตามโดยชุมชน (CLM) ปัจจุบันจังหวัดเชียงใหม่มีโรงพยาบาลเข้าร่วมระบบติดตามโดยชุมชนจํานวน 13 แห่ง โดยนําข้อค้นพบจาก CLM มาพัฒนาคุณภาพการบริการ ดังนี้ (1) การอบรมประเด็นอ่อนไหวเรื่องเพศสําหรับผู้ให้บริการด้านสุขภาพ (2) การพัฒนาเครือข่ายผู้ให้บริการเพร็พ ยาต้านไวรัสก่อนการสัมผัสเขื้อในระดับจังหวัด และ (3) การรณรงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและลดการตีตราต่อผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี ภายใต้แคมเปญ Undetectable = Untransmittable (U=U)

คุณพงศ์ธร จันทร์เลื่อน ประธานคณะอํานวยการการสํารวจดัชนีการตีตราผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวี ประเทศไทย กล่าวถึงภาคีเครือข่ายภาคชุมชนในการทําการสํารวจ Stigma Index ที่เป็นส่วนหนึ่งของภาคีระดับโลกในระหว่างปี 2565-2566 เป็นการศึกษาที่ครอบคลุม 25 จังหวัดระดับประเทศ เป็นข้อมูลที่สะท้อนเรื่องราวของการตีตราและเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวีที่สําคัญมากชิ้นหนึ่งของประเทศไทย

คุณนิภากร นันตา ประธานมูลนิธิผู้หญิงที่อยู่ร่วมกับเอชไอวี ประเทศไทย เป็นผู้บริหารจัดการสํารวจนี้ มีความภาคภูมิใจที่ประเทศไทยเป็นไม่กี่แห่งของโลกที่องค์กรชุมชนผู้หญิงที่อยู่ร่วมกับเอชไอวีเป็นผู้ดําเนินการ ข้อมูล Stigma Index ซึ่งเป็นข้อมูลท่ีช่วยเปลี่ยนเสียงที่เคยเปล่งออกไปแต่ไม่ค่อยมีคนได้ฟังเป็นเสียงที่ดังขึ้น แสดงให้เห็นถึงผลกระทบจากการตีตราและการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงที่อยู่กับเชื้อเอชไอวีที่ตั้งครรภ์ ความซับซ้อนกับการใช้สารเสพติต และชีวิตทางเพศและอนามัยเจริญพันธ์ ในขณะที่คุณซูฮายนงค์ สมาเฮาะ ผู้จัดการศูนย์ Care team สงขลายังต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐทั้งการจัดบริการที่เป็นมิตรรอบด้าน และการสนับสนุนด้านกฎหมายในการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด

จากวันเอดส์โลกปีนี้ 2566 เหลือเพียงอีก 7 ปีที่จะถึงปี 2573 จากข้อมูลเชิงประจักษ์จากโครงการ EpiC ประเทศไทย ดําเนินการโดย Family Health International (FHI 360) ภายใต้การสนับสนุนจากแผนการฉุกเฉินของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ผ่านองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา พบว่าค่าเฉลี่ยของระดับเซลล์ CD4 ณ วันที่ตรวจพบการติดเชื้อเอชไอวี ณ ศูนยส์ุขภาพชุมชนทั้ง 11 แห่งอยู่ที่ระดับ 429 เซลล์/ลบ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยประเทศที่ 172 เซลล์/ลบ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพขององค์กรภาคประชาสังคมในการร่วมจัดบริการเอชไอวี ที่ยังผลให้ผู้รับบริการรู้สถานะการติดเชื้อของตน เข้ารับการรักษาได้อย่างรวดเร็ว มีสุขภาพดี และลดการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี

นายแพทย์ สุนทร สุนทรชาติ ผู้อํานวยการสํานักอนามัย กรุงเทพมหานคร กล่าวถึง กรุงเทพมหานคร (กทม.) เข้าร่วม Fast Track Cities ตั้งแต่ปี 2557 มุ่งสู่ยุติเอดส์ด้วยความร่วมมือและเป็นหุ้นส่วนกับองค์กรชุมชนทําให้กทม.ได้รับรางวัลทั้งในและต่างประเทศที่เป็นเมืองที่สามารถตรวจเร็วรักษาเร็วภายในวันเดียวได้ อย่างมีประสิทธิผล มีการขยายการให้ยาต้านไวรัสก่อนการสัมผัสเชื้อฯ ได้มากที่สุดของประเทศ และเริ่มเห็นการลดลงของการติดเชื้อรายใหม่ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค ที่ปรึกษาอาวุโสด้านการวิจัยและนโยบาย สถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี ผู้ตรวจพบผู้ป่วยเอดส์คนแรกของประเทศไทย มีความหวังว่า ประเทศไทยยังคงสามารถยุติปัญหาเอดส์ได้ตามเป้าหมายใน 7 ปีข้างหน้าได้อย่างแน่นอน ถ้าผู้กําหนดนโยบาย ผู้บริหาร เพิ่มการลงทุนให้แก่องค์กรชุมชนอย่างเต็มที่ในเวลาที่เหลืออยู่และทุกภาคส่วนช่วยกับสนับสนุน แก้ไขนโยบาย กฎระเบียบที่ไม่เอื้อต่อการทํางานองคก์รภาคชุมชน ที่มีพลังมากมายที่จะช่วยให้ประเทศไทยยุติเอดส์ได้จริง

องค์กรของสหประชาชาติที่มีส่วนร่วมในโครงการนี้

ILO
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ
UN WOMEN
องค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และเสริมพลังทางสังคมของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ
ยูเอ็น
สหประชาชาติ
UNAIDS
โครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ
UNDP
โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ
UNESCO
องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
UNFPA
กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ
UNHCR
สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ
UNICEF
กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ
UNODC
สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ
WFP
โครงการอาหารโลก
WHO
องค์การอนามัยโลก

เป้าหมายที่เราสนับสนุนผ่านโครงการริเริ่มนี้