โกลบอลคอมแพ็กประเทศไทยผนึกกำลังทุกภาคส่วน เดินหน้าขับเคลื่อน SDGs ประกาศเจตนารมณ์สมาชิกร่วมลงทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ผลักดัน 998 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 1.2 ล้านล้านบาท ภายในปี 2030
31 สิงหาคม 2020
- นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พร้อมผู้แทนสหประชาชาติ ประจําประเทศไทย ร่วมเป็นสักขีพยาน การประกาศเจตนารมณ์ขององค์กรสมาชิกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ให้คำมั่นในการดำเนิน ธุรกิจอย่างยั่งยืน และจะลงทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนรวม 998 โครงการ มูลค่ารวมอย่างน้อย 1.2 ล้านล้านบาท ภายในปี 2030 ในงาน “GCNT FORUM 2020: Thailand Business Leadership for SDGs”
- นายกรัฐมนตรี กล่าวย้ำความสำคัญของการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน หลังวิกฤตการณ์โควิด-19 สอดคล้องกับ “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ที่สร้างความเข้มแข็งจากภายในและรากฐาน โดยมุ่งเน้น “การพัฒนาคน” และ “ความมั่นคงของมนุษย์” เพื่อให้ทุกคนมีภูมิคุ้มกัน พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและ สิ่งแวดล้อม พร้อมย้ำว่าทุกภาคส่วนจะต้องรวมพลังกันเพื่อ “รวมไทยสร้างชาติ” และร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศ
- กีต้า ซับบระวาล ผู้ประสานงานสหประชาชาติ (United Nations Resident Coordinator - UNRC) ประจำประเทศไทย แสดงความเชื่อมั่นในศักยภาพของภาคธุรกิจ พร้อมร่วมสร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่งด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน สร้างโลก ให้กลับมาดีขึ้นกว่าเดิม ในวิถีปกติใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างความมั่นใจว่าจะไม่มีใครถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง
- นายศุภชัย เจียรวนนท์ นายกสมาคมโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย เชิญชวนทุกองค์กรใช้ศ้กยภาพขับเคลื่อนเศรษฐกิจดว้ยการลงทุนด้านความยั่งยืนในศตวรรษของการลงมือทำ แข่งขันกับความท้าทายของมนษุยชาติ และทำงาน ร่วมกับสหประชาชาติอย่างจริงจัง เพื่อเดินหน้าสเป้าหมาย SDGs ภายในปี 2030
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน “GCNT FORUM 2020: Thailand Business Leadership for SDGs” ในโอกาสการครบรอบ 20 ปี เครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact) และครบรอบ 75 ปีสหประชาชาติ (United Nations) จัดโดย สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สำนักงานผู้แทนสหประชาชาติประจำประเทศไทย สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ และผู้สนับสนุนของ สมาคมฯ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ โดยมีผู้บริหารระดับสูงจากองค์กรสมาชิกของสมาคมฯ ผนึกกำลังเพื่อร่วมฟื้นฟูเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด-19 พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน
ในโอกาสนี้ นายกรฐัมนตรี ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “วิถีคิดผู้นำในสถานการณ์วิกฤต ประสบการณ์จากสถานการณ์ COVID-19” โดยเน้นย้ำความสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน มีใจความว่า “ประเทศไทยเราโชคดีที่มี “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวทางการพัฒนาประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับ “การพัฒนาคน” และ “ความมั่นคงของมนุษย์” เพื่อให้ทุกคนในชาติมีภูมิคุ้มกัน พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม วันนี้ทุกภาคส่วนจะตอ้งรวมพลงักนัเพื่อ “รวมไทยสรา้งชาติ” เพราะเราและโลกมีเป้าหมาย ที่ชดัเจนรออย่ขูา้งหนา้ น่นัก็คือ เป้าหมายการพฒันาที่ย่งัยืนแห่งสหประชาชาติ หรือ SDGs ซึ่งเราจะต้องบรรลุใหไ้ด้ภายในปี 2573 แม้ว่าเราจะมีเวลาไม่มาก แต่ผมเชื่อมั่นว่าเราคนไทย หากร่วมมือร่วมใจกัน ความสำเร็จอยู่ไม่ไกล และขอชื่นชม บทบาทของภาคเอกชนในการสร้างความตระหนักรู้และร่วมมือกันบรรลุเป้าหมาย SDGs ต่างๆ โดยเฉพาะเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย สามารถมีบทบาทสำคัญได้อย่างแน่นอน ในการระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศ”
กีต้า ซับบระวาล ผู้ประสานงานสหประชาชาติ (United Nations Resident Coordinator - UNRC) ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “เราขอขอบคุณสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ในการผนึกกำลังของภาคธุรกิจและมุ่งมั่นที่จะบรรลุ SDGs โดยเราต้องร่วมมือกันใน 3 เรื่องสำคัญ ประการแรก คือ การสร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่งเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประการที่สอง การสร้างโลกให้กลับมาดีขึ้นกว่าเดิม ในวิถีปกติใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และประการที่สาม การสร้างความมั่นใจว่าจะไม่มีใครถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง โดยเฉพาะในปี 2020 นี้ เราเข้าสู่ทศวรรษแห่งการลงมือทำที่เรียกร้องให้การผนึกกำลังกันเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยยึดหลักการทำงานร่วมกันและรับผิดชอบร่วมกัน เราเชื่อมั่นว่าภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้ SDGs เป็นจริง และเชื่อในพลังของผู้นำภาคธุรกิจที่มีความสามารถในการสร้างงาน รวมทั้งค้นหา แนวทางที่จะเผชิญหน้ากับความท้าทายในปัจจุบัน เพื่อร่วมกันสร้างโลกที่ดีขึ้นกว่าเดิม”
นายศุภชัย เจียรวนนท์ นายกสมาคมเครือข่ายโกลบอล คอมแพ็กแห่งประเทศไทย ได้ใช้โอกาสนี้ขอบคุณแพทย์ พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนท่านนายกรฐัมนตรี ในการนำประเทศให้พ้นวิกฤตโควิดว่า “ขอขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรี ความเป็นผู้นำของท่านได้พาประเทศฝ่าวิกฤตโควิด มาได้ถึงจุดนี้ ทำให้มีการติดเชื้อและสูญเสียชีวิตน้อยมาก เมื่อเทียบกับนานาประเทศ” และได้กล่าวถึงสมาคมฯ ว่า “ปัจจุบัน สมาคมฯ มีสมาชิกเกือบ 60 องคก์ร และเพิ่มขึ้นเรื่อยมา หากมองในเชิงมูลค่าของบริษัทที่เป็นสมาชิกในปัจจุบันจะพบว่าสูงถึงประมาณ 4.2 ล้านล้านบาท ซึ่งแสดงถึงศักยภาพของสมาคมฯ ที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน” และเกี่ยวกับปัญหาที่โลกเผชิญอยู่นั้น ได้กล่าวว่า “แม้ว่าวิกฤตโควิด-19 ที่เราเผชิญอยู่จะเป็นเรื่องเร่งด่วน แต่เราก็ยังต้องเตือนตัวเองว่า ยังมีวิกฤตอื่นอีกที่ยังคุกคามมนุษยชาติ อาทิ ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม ปัญหาภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปัญหาทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งวิกฤตเหล่านี้ส่วน ใหญ่เกิดจากการกระทำที่ขาดความสมดุลของเราเอง และด้วยเหตุการณ์โควิด-19 ที่ทับถมและรุมเร้ามนุษยชาติอยู่ในขณะนี้ ปัญหาที่เราได้เผชิญมาก่อนโควิดเหล่านี้นับจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ” และได้กล่าวทิ้งท้ายด้วยการย้ำบทบาทของผู้นำในการแก้ปัญหาว่า “ผู้นำ คือ ผู้สร้างความเปลี่ยนแปลง ผู้นำที่ดี คือ ผู้นำที่สร้างความเปลี่ยนแปลง ซึ่งยังประโยชน์สุขต่อคนหมู่มาก ดังนั้น ความตระหนักรู้ถึงปัญหาของผู้นำในทุกภาคฝ่ายจึงเป็นภารกิจสำคัญของเรา และเมื่อผู้นำมีความตระหนักรู้แล้ว เราจะสามารถรับมือเเละผ่านพ้นวิกฤตที่กล่าวมานี้ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ด้วยความกล้าหาญ ความมุ่งมั่นไม่ย่อท้อ และที่สำคัญคือความรว่มมืออย่างเป็นปึกเเผ่นของทุกภาคฝ่าย”
พร้อมกันนี้ องค์กรสมาชิกทั้งหมดได้แสดงความพร้อมขับเคลื่อนไทยสู่ความยั่งยืน ด้วยการประกาศเจตนารมณ์ว่า จะนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง หลักการ UN Global Compact และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมาใช้เป็นหัวใจหลักของกลยุทธ์ทางธุรกิจ เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืนและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียให้เดินหน้าไปสู่หนทางที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น และจากสมาชิกสมาคมฯ ทั้งหมดนั้น สมาชิกจำนวน 21 องค์กรได้ประกาศการลงทุนด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อบรรลุ SDGs ภายในปี 2030 รวมจํานวน 998 โครงการ เป็นมูลค่ากว่า 1.2 ล้านล้านบาท อาทิ บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส, เครือเจริญโภคภัณฑ์, กลุ่ม ปตท., กลุ่มมิตรผล, แพรนด้ากรุ๊ป และบริษัทสมาชิกอื่นๆ อีกด้วย
นายอาลก โลเฮีย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท อินโดรามา เวนเจอรส์ ในฐานะสมาชิกองคก์รเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “แนวคิด SDGs และหลักการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืน เป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลักการดำเนินธุรกิจของไอวีแอล ซึ่งเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นในการทำธุรกิจ โดยให้ความสำคัญกับการสร้างมูลค่าในระยะยาวมากกว่าผลกำไรระยะสั้น โดยไอวีแอลได้เดินหน้าสร้างความยั่งยืนผ่านแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมถึงการรีไซเคิลขวดพลาสติก PET เพื่อลดปริมาณพลาสติกที่เป็นของเสีย และนำมารีไซเคิลสร้างคุณค่าได้อีก โดยตั้งเป้าหมายที่จะลงทุน 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อรีไซเคิล PET หลังการบริโภค จำนวน 750,000 ตัน ภายในปี 2025 นอกจากนี้ อินโดรามา เวนเจอรส์ยังได้ให้คำมั่นสัญญาว่า เราจะลงทุนด้านความยั่งยืนรวม 1 พันล้านบาทในโครงการต่างๆ ประมาณ 45 โครงการ เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ภายในปี 2030 เราเชื่อมั่นว่าความมุ่งมั่นและการทำงานร่วมกันของไอวีแอลในฐานะองค์กรสมาชิกของสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย จะทำให้ประเทศสามารถฟื้นตัวจากวิกฤตการณ์ และขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจไปสู่หนทางที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น ทั้งในปัจจุบัน และสำหรับคนรุ่นต่อไปในอนาคต”
งาน “GCNT FORUM 2020: Thailand Business Leadership for SDGs” จัดขึ้น ณ ศูนยป์ระชุมสหประชาชาติ ตามรูปแบบการประชุมอย่างยั่งยืน (Sustainable Event) โดยสอดคล้องกับแนวทางของสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องคก์ารมหาชน) หรือ สสปน. (Thailand Convention & Exhibition Bureau หรือ TCEB) และสหประชาชาติ DGs” เนื่องในโอกาสการครบรอบ 20 ปี เครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact) และครบรอบ 75 ปีสหประชาชาติ (United Nations) โดยมีผู้นำด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนจากหลากหลายองค์กรเข้าร่วมงาน อาทิ ผู้แทนองค์การระหว่างประเทศ ประจำประเทศไทย ผู้แทน UN Global Compact ผู้นำภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม ที่มาผนึกกําลังร่วมกับสมาคมโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย เป็นภาคีเครือข่ายที่ด้านความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย โดยได้ สร้างแรงบันดาลใจและผนึกกำลังการทำงานร่วมกัน ผ่านการเสวนาใน 4 หัวข้อ ได้แก่ สิทธิมนษุยชน แรงงาน สิ่งแวดลอ้ม และการต่อต้านการทุจริต ร่วมกันฟื้นฟูประเทศไทยให้ดีขึ้นกว่าเดิมตามหลักการสากล 10 ประการของ UN Global Compact และแสดงความมุ่งมั่นของทุกภาคส่วนที่จะบรรลุ SDGs ภายในปี 2030