แรงงานข้ามชาติได้ฉีดวัคซีนโควิด-19
![](/sites/default/files/styles/hero_header_2xl_1x/public/2022-01/13d3966b9-d354-4a0a-aa32-2e2ff215507f.jpg?itok=EaNf6yKe)
เมื่อเดือนพฤษภาคมปี พ.ศ. 22564 ตลาดสี่มุมเมืองมีรายงานพบผู้ป่วยโควิด19 กว่า 900 ราย ซึ่งตามรายงานของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี 70% ของผู้ติดเชื้อเป็นแรงงานข้ามชาติ
เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ตลาดต้องถูกปิดลงและสร้างผลกระทบต่อชุมชนรอบด้าน ซึ่งต้องล็อคดาวน์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด
ส่วนนี้ส่งผลกระทบรุนแรงต่อแรงงานข้ามชาติ ซึ่งหลายคนเป็นแรงงานนอกระบบ ทุกคนจำเป็นต้องกักตัวอยู่ในที่พักอาศัย
เจ้าของร้านขนาดเล็กและลูกจ้างรายวันประสบปัญหายากลำบากในทันที
เมื่อไม่มีงานทำก็หมายความว่าไม่มีรายได้และการขาดรายได้นำมาซึ่งปัญหาหลากหลายสำหรับทุกคนในชุมชนนั้น
แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ลังเลที่จะออกมารับความช่วยเหลือ แต่ก็จำเป็นที่พวกเขาจะต้องได้รับการดูแลสุขภาพ ดังนั้น สำนักอนามัยของกรุงเทพมหานคร สภากาชาดไทย สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ คริสตจักรไมเคิล (เขตสะพานใหม่) องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย และองค์กรอิสระอื่นๆ ได้รวมตัวกันเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มประชากรเปราะบาง เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
โดยรวมแล้วบุคลากรสาธารณสุขได้พบเจอผู้พลัดถิ่นเกือบ 100 คนจากกัมพูชา เมียนมาและเวียดนาม เพื่อช่วยสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอันตรายของโรคโควิด19 ตลอดจนให้ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการป้องกันส่วนบุคคลและให้บริการฉีดวัคซีน
เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 คณะทำงานได้จัดให้บริการฉีดวัคซีนแก่กลุ่มคนเปราะบางจำนวน 24 คนที่คริสตจักรไมเคิลในเขตสะพานใหม่ ตลอดจนให้คำแนะนำด้านมาตรการป้องกันส่วนบุคคลเพื่อป้องกันโรคโควิด19
![](/sites/default/files/styles/featured_image/public/2022-01/51744432550_c9b8590afb_c2ba604f4-c66d-4120-86ec-821f23b01ce1.jpg?itok=9ORsRX60)
สตรีชาวกัมพูชา เนียง ซ็อก วูน วัย 39 ปีเพิ่งมาอยู่ประเทศไทยกับสามีได้ไม่กี่เดือนเมื่อตลาดต้องปิดลง อยู่ๆ เธอก็พบว่าตัวเองต้องมาอยู่ในต่างแดน พูดภาษาไทยไม่ได้ ตกงานและไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าบ้าน
![](/sites/default/files/styles/featured_image/public/2022-01/51742719077_c5fda9a2b2_c1f995a45-67e3-4221-8f30-e99137302cfe.jpg?itok=BjThy3S_)
มอง มอง อู จากประเทศเมียนมา อยู่ประเทศไทยมา 30 ปีแล้ว ชายวัย 51 ปีซึ่งประกอบอาชีพขายไอศครีมขี่รถไปทั่วเพื่อเร่ขายขนมหวานนี้ เมื่อเกิดการระบาดของโควิด19 ในพื้นที่ เขาถูกจำกัดบริเวณอยู่ภายในบ้าน เขาอยากได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันตัวเองและจะได้กลับมาขายไอศกรีมอีกครั้ง
![](/sites/default/files/styles/featured_image/public/2022-01/51744186104_ceef032093_c.jpg?itok=fRKGh6Id)
รอม ไรซา เป็นสตรีชาวกัมพูชาวัย 22 ปีซึ่งตั้งครรภ์ห้าเดือนและอยากได้รับวัคซีนเพื่อปกป้องลูกน้อยในครรภ์
![](/sites/default/files/styles/featured_image/public/2022-01/51742719657_e0800a84c6_c_0.jpg?itok=wBpl93qH)
ธัช ริว วัย 33 ปีจากเวียดนามอาศัยอยู่กับภรรยาของเขาและชอบเกาะติดสถานการณ์จากสถานีโทรทัศน์ไทยและสื่อสังคมออนไลน์ เขากลัวว่าจะติดเชื้อโควิด19 และไม่ได้ทำงานมากนักตั้งแต่ตลาดปิดตัวลง แต่ก็เข้าใจว่าจะต้องทำตามมาตรการป้องกันต่างๆ และเข้าใจว่าการหยุดอยู่บ้านช่วยให้ตัวเขาและครอบครัวปลอดภัย
![](/sites/default/files/styles/featured_image/public/2022-01/51743782068_c5b6e67568_c.jpg?itok=T4H4DriB)
สตรีชาวกัมพูชา พรหม โสเพียบ วัย 36 ปีกลัวมากเมื่อเกิดการระบาดใหญ่ในตลาดและในชุมชนเพราะเธอทำงานในตลาดสี่มุมเมือง มันเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับครอบครัวของเธอเพราะเธอไม่กล้าออกจากบ้านและไม่สามารถทำงานได้
Original article published on WHO Thailand.
See full photo album here.