ผู้จัดงาน
UNESCOเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ข้อมูลติดต่อ
rco-th@un.orgงานเสวนา Journalism Under Digital Siege
เสรีภาพสื่อยุคดิจิทัล ความท้าทายและภัยคุกคาม
สถานที่ตั้ง
เกี่ยวกับอีเวนต์
#วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก #WorldPressFreedomDay
ทุก ๆ 4 วัน จะมีนักข่าวถูกฆาตกรรม 1 คน ข้อมูลจาก องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational,. Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ช่วงปี 2021-ปัจจุบัน มีนักข่าวถูกสังหารขณะปฏิบัติหน้าที่แล้วจำนวน 84 คน ทั่วโลก และมากถึง 1,519 คนหากย้อนดูสถิติทั้งหมดตั้งแต่ปี 1993 จากการเข้าไปทำข่าวในพื้นที่อันตราย เช่น พื้นที่ที่มีการสู้รบ หรือจากภัยคุกคาม การข่มขู่ การเซ็นเซอร์ การกักขัง และการใช้ความรุนแรง รวมทั้งการถูกทรมาน เพราะไปรายงานข่าวการละเมิดสิทธิมนุษยชนให้สังคมได้รับรู้
คอลัมน์ Conversation สัปดาห์นี้ แนะนำให้เข้ามาฟังงาน Journalism Under Digital Siege เวทีเจาะลึกแสดงทัศนะเรื่องเสรีภาพสื่อยุคดิจิทัล ภายใต้ความท้าทาย การถูกคุกคาม ความอยู่รอด และความปลอดภัย รวมทั้งอิทธิพลและผลกระทบจาก AI ต่อวงการสื่อมวลชน โดยวิทยากรชื่อดังจากสื่อมวลชน นักสิทธิมนุษยชน ภาคประชาสังคม สมาคมนักข่าวและหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ร่วมฟังพร้อมกัน (ฟรี!) ใน #วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก 3 พ.ค. นี้ เวลา 14.00 น. ออนไลน์ผ่านระบบ Zoom (การเสวนาเป็นภาษาอังกฤษและไทยพร้อมล่ามแปลภาษา)
ㅤㅤ |
วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก
องค์การ UNESCO เสนอต่อสมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ (UN) ให้ประกาศให้วันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก เพื่อย้ำเจตนารมณ์และหลักการที่เป็นพื้นฐานของเสรีภาพสื่อมวลชนทั่วโลก คือเสรีภาพในการคิดและการแสดงออก เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้เสนอข้อเท็จจริงต่อสิ่งที่เกิดขึ้นรอบโลกอย่างเสรีและปลอดภัย ซึ่งได้รับการคุ้มครองตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ 19 และเป็นเครื่องหมายวันครบรอบปฏิญญาวินด์ฮุกอีกด้วย >> อ่านคำกล่าวของ นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ เนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก
ข้อมูลและแนวปฏิบัติต่อสื่อมวลชนที่ถูกต้องและเหมาะสม
เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่นักข่าวต้องสามารถสื่อข้อมูลข่าวสารไปยังประชาชน และสามารถตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เพื่อสนับสนุนให้คนทำงานด้านสื่อมีสภาพแวดล้อมทำงานที่อิสระและปลอดภัย องค์การ UNESCO กับสมาคมอัยการระหว่างประเทศ (International Association of Prosecutors) จึงได้ร่วมเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับบทบาทของพนักงานอัยการในการต่อสู้กับการลอยนวลพ้นผิดจากการก่ออาชญกรรมละการทำร้ายนักข่าว >> อ่านแนวทางสำหรับพนักงานอัยการในการดำเนินคดีอาญาที่กระทำต่อนักข่าว (Guidelines for prosecutors on cases of crimes against journalists) จาก UNESCO
When threats of violence and attacks against journalists are not properly investigated, this leads to more severe aggressions and murders, which is an extreme form of media censorship. This cycle of violence against journalists is often an indicator of the weakening of the rule of law and of the judicial system globally. Independent public prosecutors thus have a crucial role to play in protecting journalists and in ensuring that the rule of law and democracy are respected.
— Shigeru Aoyagi, Director of the Asia-Pacific Regional Bureau for Education of UNESCO Bangkok
คู่มือความปลอดภัยทางดิจิทัลและการปกป้องเยาวชนบนโลกออนไลน์
องค์การสหประชาชาติ ทำงานร่วมกับ ทวิตเตอร์ เพื่อเตรียมพร้อมเยาวชนให้รู้ทันข้อมูลข่าวสารและการใช้สื่อออนไลน์ (media and information literacy) เช่น การเสริมทักษะในเรื่องโซเชียลมีเดียควบคู่ไปกับการสอนเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานบนโลกออนไลน์ สำนักงานผู้แทนพิเศษเลขาธิการสหประชาชาติด้านเยาวชนจึงร่วมกับ Twitter จัดทำ 'คู่มือความปลอดภัยทางดิจิทัลและการปกป้องเยาวชนบนโลกออนไลน์' (Youth Activist Checklist: Guidance on Digital Safety and Online Protection of Young People) ความยาวเพียง 5 หน้า แต่เป็น ‘ชุดเครื่องมือ’ ที่จะช่วยให้ใช้สื่อออนไลน์ได้อย่างมั่นใจมากขึ้น >> ดาวน์โหลด Youth Activist Checklist
จัดโดย องค์การ UNESCO ร่วมกับคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Tags: #worldpressfreedomdom #freedomofexpression #peace #วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก #เสรีภาพสื่อ