รายงานสถานการณ์โดยองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทยฉบับที่ 213
แนวโน้มรายสัปดาห์
-
ยอดรวมผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ได้รับการยืนยันโดยห้องปฏิบัติการตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 (30,858 ราย) ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเฉลี่ยจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันที่พบจากการติดเชื้อในชุมชนยังคงลดลงขึ้นอีกร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้านี้ (จาก 5,049 เหลือ 4,189) ใน 4 วันที่ผ่านมาจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ที่พบจากการติดเชื้อในชุมชนต่ำกว่า 4,000 รายต่อวัน
-
ยอดรวมจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 (237 ราย) ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเฉลี่ยรายวันของจำนวนผู้เสียชีวิตในสัปดาห์ที่ผ่านมาลดลงร้อยละ 11 (34 ราย) เมื่อเทียบกับร้อยละ 19 ในสัปดาห์ก่อนหน้านี้ (38 ราย)
-
ค่าเฉลี่ยยอดผู้ป่วยหนักรายวันยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องด้วยอัตราคงที่ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1,254 ราย ซึ่งลดลงร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับร้อยละ 13 ในช่วงสัปดาห์ก่อน(1,378 ราย) และร้อยละ 11 ในสัปดาห์ก่อนหน้านั้น (1,586 ราย)
-
ค่าเฉลี่ยจำนวนผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจรายวันในสัปดาห์ที่ผ่านมาเท่ากับ 328 ราย ซึ่งลดลงร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับ 335 ราย (ร้อยละ 11) ในช่วงสัปดาห์ก่อน และ 377 รายในสัปดาห์ก่อนหน้านั้น (ร้อยละ 10)
วิเคราะห์สถานการณ์
-
จำนวนผู้ป่วยยืนยันและผู้ป่วยน่าจะเป็น (60,415 ราย) ยังคงลดลงต่อเนื่อง ซึ่งลดลงร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้านี้ จำนวนนี้เป็นจำนวนต่ำที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 และต่ำกว่าจำนวนผู้ป่วยที่ยังรักษาอยู่เมื่อจุดสูงสุดในวันที่ 8 สิงหาคม (214,786 ราย) กว่าร้อยละ 70 ในส่วนนี้ช่วยลดภาระงานโดยรวมของระบบสาธารณสุขได้อย่างมาก
-
จำนวนผู้ป่วยหนักในวันนี้ (1,254 ราย) ต่ำกว่าจำนวนสูงที่สุด (5,626 ราย) ซึ่งรายงานในวันที่ 16 สิงหาคมเกือบร้อยละ 80 ซึ่งสะท้อนถึงการลดลงด้วยอัตราคงที่
-
จำนวนผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ 328 ราย ต่ำกว่าจำนวนสูงที่สุด (1,172 ราย) ซึ่งรายงานในวันที่ 15 สิงหาคมถึงร้อยละ 73 อย่างไรก็ตามอัตราการลดลงของจำนวนผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจชะลอตัวลง โดยลดลงเพียงร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้านี้
-
โรคโควิด-19 ยังคงแพร่หลายในประเทศไทย โดยเกือบทุกจังหวัดยังมีรายงานผู้ป่วยใหม่ทุกวันซึ่งบ่งชี้ว่ามีการแพร่ระบาดในระดับชุมชน ผู้ป่วยรายวันที่รายงานในจังหวัดภาคใต้ยังลดลงต่อเนื่อง แต่เมื่อดูอัตราต่อจำนวนประชากรแล้ว การติดเชื้อและการพบผลตรวจเป็นบวกยังสูงกว่าส่วนอื่นของประเทศ
-
ความครอบคลุมของการฉีดวัคซีนยังคงเพิ่มต่อเนื่องจนถึงระดับที่คาดว่าลดการเจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตได้อย่างมาก อย่างไรก็ตาม ความครอบคลุมในบางจังหวัดยังต่ำอยู่ เช่นเดียวกับในกลุ่มเสี่ยงบางกลุ่ม
-
ความครอบคลุมต่ำของการฉีดวัคซีนในหญิงตั้งครรภ์ยังเป็นข้อกังวล หญิงตั้งครรภ์ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้รับคำแนะนำที่ดีที่สุด หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวและต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัดจนกว่าจะได้รับวัคซีน
อ่านรายงานฉบับเต็มด้านล่าง