25 พฤษภาคม 2021 | 12:00 AM - 25 มิถุนายน 2021 | 12:00 PM
เสียงของคุณมีความหมาย ช่วยสหประชาชาติวางแนวทางเพื่อประเทศไทยพิชิตเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
สหประชาชาติ ประเทศไทยอยากฟังความเห็นจากคุณเกี่ยวกับกลยุทธ์ของเราในอีก 5-6 ปีข้างหน้า เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์และความร่วมมือกับประเทศไทยในการพิชิตเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ความเห็นของคุณมีค่าและจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์ของเรา
องค์กรของสหประชาชาติที่มีส่วนร่วมในโครงการนี้
FAO, ILO, IOM, ITC, ITU, OHCHR, RCO, UN Women, UN-Habitat, UNAIDS, UNDP, UNDRR, UNEP, UNESCO, UNFPA, UNHCR, UNICEF, UNIDO, UNODC, UNOPS, UNV, WHOเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ข้อมูลติดต่อ
RCO-TH@un.orgเกี่ยวกับโครงการ
องค์การสหประชาชาติ ประเทศไทย กำลังวางกรอบยุทธศาสตร์ของเราสำหรับ 5-6 ปีข้างหน้า ซึ่งมีชื่อว่า “กรอบความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ” (UNSDCF) เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์และความร่วมมือกับประเทศไทยในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ยุทธศาสตร์ของเราจะสอดคล้องกับเนื้อหาหลักและหมุดหมายของร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ของประเทศไทย
กลยุทธ์นี้จะมุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์ 3 ประการ คุณสามารถอ่านเอกสารความเป็นมาและบทสรุปของกลยุทธ์ได้ด้านล่าง และร่วมแบ่งปันความคิดเห็นของคุณได้ที่แบบฟอร์มนี้
ผลลัพธ์ 1 | ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจที่เปิดกว้าง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความยืดหยุ่น คาร์บอนต่ำ และยั่งยืน
สอดคล้องกับเข็มมุ่งหรือจุดเน้นของแผนพัฒนาฯ ข้อที่ 1 และ 3 ว่าด้วยเศรษฐกิจมูลค่าสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตที่ยั่งยืน
เข็มมุ่งหรือจุดเน้นของสหประชาชาติ : สหประชาชาติจะทำงานร่วมกับรัฐบาลเพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อมกับการสร้างสุขภาวะและรักษาสมดุลทางธรรมชาติ
- ทำงานร่วมกับภาคเอกชนในการลดมลพิษทางอากาศ และสร้างงานที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
- สนับสนุนภาคเอกชนให้ดำเนินธุรกิจโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และใส่ใจสุขภาวะของพนักงาน
- ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
- พัฒนาแนวทางแก้ปัญหาสำหรับการเกษตร เช่น การใช้เทคโนโลยีเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ
- ส่งเสริมให้ภาคเอกชน รวมถึงธนาคาร ร่วมมือกันเพื่อลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
- ส่งเสริมการหาแหล่งทุนด้วยวิธีใหม่และน่าสนใจ
เข็มมุ่งหรือจุดเน้นของสหประชาชาติ : ลดมลพิษทางอากาศ สร้างความแข็งแกร่งเพื่อให้รับมือและฟื้นตัวจากภัยพิบัติได้ดีขึ้น
- ใช้พลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้นเพื่อไม่ให้สิ่งแวดล้อมได้รับความเสียหายจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
- ปกป้องและคุ้มครองที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
- ใช้ข้อมูลและร่วมมือกันเพื่อลดมลพิษทางอากาศ น้ำ และทางบก และปรับปรุงการจัดการขยะ
- สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนและดูแลชีวิตใต้น้ำโดยการปรับตัว หลีกเลี่ยง และลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ
ผลลัพธ์ 2 | ให้ความสำคัญกับการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ผ่านการสร้างความเข้มแข็งให้สถาบัน ความร่วมมือ และการเสริมพลังให้ผู้คน
สอดคล้องกับเข็มมุ่งหรือจุดเน้นของแผนพัฒนาฯ ข้อที่ 4 ว่าด้วยปัจจัยบวกสำหรับการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย
เข็มมุ่งหรือจุดเน้นของสหประชาชาติ : ปรับปรุงบริการสาธารณะเพื่อให้ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น
- ยกระดับการศึกษาและทักษะของคนทุกวัย
- เพิ่มการเข้าถึงและคุณภาพของการเรียนการสอนออนไลน์
- ร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาโรคที่เกิดจากรูปแบบการใช้ชีวิต ปัญหาสุขภาพ โภชนาการ และส่งเสริมเทคโนโลยีใหม่ในบริการด้านสุขภาพ
- ช่วยเหลือผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีให้ได้รับการดูแลด้านสุขภาพเช่นเดียวกับทุกคน
เข็มมุ่งหรือจุดเน้นของสหประชาชาติ : ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเพื่อยกระดับทักษะและผลิตภาพของคนในสังคม
- ส่งเสริมและผลักดันเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยี
- ส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีในภาครัฐ
- ร่วมมือกับคนทุกวัยเพื่อค้นหาวิธีที่น่าสนใจในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
- ส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อยกระดับความปลอดภัยของอาหารและโภชนาการ
- ช่วยเหลือทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติ
ผลลัพธ์ 3 | ให้ความสำคัญกับการช่วยให้ผู้ที่เสี่ยงต่อการถูกทิ้งไว้ข้างหลังมากที่สุดสามารถมีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากการพัฒนาโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ
สอดคล้องกับเข็มมุ่งหรือจุดเน้นของแผนพัฒนาฯ ข้อที่ 2 ว่าด้วยสังคมแห่งโอกาสเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย
เข็มมุ่งหรือจุดเน้นของสหประชาชาติ : ดูแลให้ทุกคนได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน มีโอกาสเสมอกัน และไม่ยากจน
- ขยายการคุ้มครองทางสังคมสู่ทุกคนในประเทศไทย
- ดูแลให้ทุกคนได้ทำงานที่มีคุณค่าและได้รับประโยชน์จากการประกันสังคม
- ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ทั้งในด้านการศึกษา สุขภาพ และการคุ้มครองทางสังคม
- ดูแลให้ผู้หญิงได้รับการปฏิบัติด้วยความเท่าเทียมทั้งที่บ้านและที่ทำงาน
- สนับสนุนชุมชนและองค์กรในท้องถิ่นให้เติบโต และให้ความสำคัญกับผู้ที่ถูกทิ้งไว้รั้งท้ายที่สุด
เข็มมุ่งหรือจุดเน้นของสหประชาชาติ : ธรรมาภิบาล นิติธรรม และสัญญาประชาคมเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
- ช่วยรัฐบาลในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
- ดูแลให้มีระบบที่เอื้อให้พนักงาน นายจ้าง ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน สามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ดีขึ้น
- ทำให้สถาบันนิติธรรมมีความโปร่งใสและรับผิดชอบ
- ปรับปรุงระบบข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจ